ปีศาจ

ผู้เขียน: เสนีย์ เสาวพงศ์

สำนักพิมพ์: มติชน/matichon

หมวดหมู่: นิยาย , นิยายสืบสวนสอบสวน นิยายลี้ลับ

0 (0) เขียนรีวิว

357.00 บาท

420.00 บาท ประหยัด 63.00 บาท (15.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 14 คะแนน

คำกล่าวอันยกย่องนี้จะถูกต้องแท้จริงสักเพียงไหน ท่านในฐานะนักอ่านต้องหาคำตอบด้วยตัวเอง < แสดงน้อยลง คำกล่าวอันยกย่องนี้จะถูกต้องแท้จริงสักเพียงไหน ท่านในฐานะนักอ่านต้องหาคำตอบด้วยตัวเอง
  • ส่วนลด:
    ลด 15%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com เปิดคลังลด หนังสือนิยายลดเลย 15%

357.00 บาท

420.00 บาท
420.00 บาท
ประหยัด 63.00 บาท (15.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 14 คะแนน

จำนวน :

1

  • 1
  • 2
  • 3
  • 4
  • 5
  • 6
  • 7
  • 8
  • 9
  • 10
  • โปรโมชั่นพิเศษ:
    • Naiin.com เปิดคลังลด ช้อปหนังสือนิยายครบ 3 เล่ม ลดเพิ่ม 100 บาท
จำนวนหน้า
368 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
0 x 0 x 0 CM
น้ำหนัก
0.426 KG
บาร์โค้ด
9789740218548

รายละเอียด : ปีศาจ

   ผมเป็นปีศาจที่กาลเวลาได้สร้างขึ้นมาหลอกหลอนคนที่อยู่ในโลกเก่า ความคิดเก่า ทำให้เกิดความละเมอหวาดกลัว และไม่มีอะไรที่จะเป็นเครื่องปลอบใจท่านเหล่านี้ได้ เท่ากับไม่มีอะไรหยุดยั้งความรุดหน้าของกาลเวลาที่สร้างปีศาจเหล่านี้ให้มากขึ้นทุกที
ท่านคิดจะทำลายปีศาจตัวนี้ในคืนนี้วันนี้ ต่อหน้าสมาคมชั้นสูงเช่นนี้ แต่ไม่มีทางจะเป็นไปได้ เพราะเขาอยู่ยงคงกระพันยิ่งกว่าอาคิลลิส หรือซิกฟริด เพราะเขาอยู่ในเกราะกำบังแห่งกาลเวลา ท่านอาจจะเหนี่ยวรั้งอะไรไว้ได้บางสิ่งบางอย่างชั่วครั้งชั่วคราว แต่ท่านไม่สามารถจะรักษาทุกสิ่งทุกอย่างไว้ได้ตลอดไป โลกของเราเป็นคนละโลก…โลกของผมเป็นโลกของธรรมดาสามัญชน” — สาย สีมา : ปีศาจ
   คอวรรณกรรมหลายคนคงคุ้นเคยกับคำพูดของสาย สีมา จากฉากบนโต๊ะอาหารในนิยาย “ปีศาจ” ของเสนีย์ เสาวพงศ์ กันเป็นอย่างดี หรือต่อให้ไม่เคยอ่านนิยายเรื่องนี้มาก่อน แต่ถ้อยคำทรงพลังที่กล่าวถึง “ปีศาจแห่งกาลเวลา” ก็น่าจะเคยผ่านหูผ่านตาจากสื่อต่างๆ มาไม่มากก็น้อย
   เสนีย์ เสาวพงศ์ เป็นนามปากกาของศักดิชัย บำรุงพงศ์ นักเขียนลือนามผู้สร้างสรรค์นิยายอมตะอย่าง ปีศาจ, ความรักของวัลยา, คนดีศรีอยุธยา และงานเขียนอื่นๆ อีกหลายเล่มที่ครองใจนักอ่านมายาวนานกว่า 5 ทศวรรษ ผลงานของเขาปลุกมโนสำนึกนักอ่านให้มองเห็นความอยุติธรรมในสังคมโดยมิได้สนับสนุนให้เสียเลือดเสียเนื้อ หากแต่กระตุ้นให้ผู้อ่านตื่นตัวขึ้นได้เอง เพื่อยกระดับสังคมไปสู่การแสวงหาเสรีภาพและแสงสว่างทางปัญญา
 
    ผลงานวรรณกรรมของเขาเกิดขึ้นบนโต๊ะข่าวโดยแท้ จากลูกชาวนาแห่งบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ที่ใส่ใจการศึกษา ได้ย้ายมาเรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดจักวรรดิ และชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนวัดบพิตรภิมุข กรุงเทพมหานคร จากนั้นศึกษาต่อที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เพียงเดือนเศษ บิดาก็ถึงแก่กรรม จนครอบครัวเกิดปัญหาทางการเงินเพราะขาดเสาหลักของบ้าน
 
   ศักดิชัย บำรุงพงศ์ จึงได้ลาออกมาทำงานเป็นผู้แปลข่าวต่างประเทศและเป็นคอลัมนิสต์ให้แก่หนังสือพิมพ์ศรีกรุงและสยามราษฎร์ เขียนคอลัมน์ “ศรีกรุงจาริก” ใช้นามปากกาว่า “โบ้ บางบ่อ” อันมาจากถิ่นเกิดที่จังหวัดสมุทรปราการ ภายใต้การกุมบังเหียนของครูอบ ไชยวสุ ควบคู่ไปกับการเรียนนิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง
.
ในช่วงเวลานั้น ขณะที่ทำหน้าที่นักหนังสือพิมพ์อยู่ ศักดิชัย บำรุงพงศ์ ได้เขียนบทความที่สร้างความกระทบกระเทือนต่อนายทหารผู้มีอำนาจผู้หนึ่งในสมัยนั้น จนเป็นเหตุให้ครูอบ ไชยวสุ ในฐานะบรรณาธิการถูกบีบบังคับให้ลาออก ศักดิชัย บำรุงพงศ์ จึงลาออกตามเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้น
.
จากนั้นเขาจึงเบนเข็มชีวิตด้วยการสอบเข้ารับราชการเป็นเสมียนแผนกพาณิชย์นโยบายต่างประเทศ กรมพาณิชย์ กระทรวงเศรษฐการ ทำหน้าที่แปลข่าวเศรษฐกิจและการค้า แต่ทำงานได้เพียงหนึ่งปีก็ต้องลาออกจากราชการ เพราะได้ทุนจากรัฐบาลเยอรมนีให้ไปศึกษาต่อที่ประเทศเยอรมนี
.
การเดินทางไปเยอรมนีในครั้งนี้กลับมีอุปสรรคจากภาวะสงคราม ศักดิชัย บำรุงพงศ์ จึงต้องเดินทางกลับประเทศไทยหลังจากที่นั่งรถไฟสายทรานส์ไซบีเรียไปจนถึงสหภาพโซเวียตแล้ว เมื่อกลับมาถึงประเทศไทย เขาจึงทำงานที่หนังสือพิมพ์สุวรรณภูมิ ในฐานะผู้แปลข่าวต่างประเทศ และเริ่มเขียนเรื่องสั้นโดยใช้นามปากกา “สุจริต พรหมจรรยา” และใช้นามปากกา “เสนีย์ เสาวพงศ์” เป็นครั้งแรกในการเขียนเรื่องสั้นชื่อ “เดือนตกในทะเลจีน” จนกระทั่ง “ญี่ปุ่นขึ้นฝั่งไทย” หนังสือพิมพ์จึงถูกจำกัดเสรีภาพในการนำเสนอข่าว โดยเฉพาะข่าวในประเทศ
.
นักหนังสือพิมพ์อย่างศักดิชัย บำรุงพงศ์ ที่อึดอัดกับสภาวะดังกล่าวจึงตัดสินใจเข้าทำงานในกระทรวงการต่างประเทศเมื่อปี พ.ศ.2485 จนกระทั่งเกษียณอายุราชการใน พ.ศ.2521 ในระหว่างที่อยู่ที่นี่ เขาได้รับแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งต่างๆ ประจำสถานเอกอัครราชทูตไทยในหลายประเทศ โดยสองตำแหน่งสุดท้ายในชีวิตราชการของเขาคือ เอกอัครราชทูตวิสามัญประจำประเทศสังคมนิยมเอธิโอเปีย และเอกอัครราชทูตวิสามัญประจำสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า
.
เพราะเริ่มต้นอาชีพจากนักหนังสือพิมพ์และนักเขียน เมื่อรับราชการอยู่ที่กระทรวงการต่างประเทศ ศักดิชัย บำรุงพงศ์ ก็ยังคงเขียนหนังสือเรื่อยมาตลอดระยะเวลาที่ทำงานที่นี่ เขาให้สัมภาษณ์ไว้ในชาวกรุง เมื่อ พ.ศ.2523 ไว้ว่า “เรื่องที่เขียนส่วนใหญ่มาจากประสบการณ์และมาจากจินตนาการบ้าง นักเขียนได้เขียนจากประสบการณ์อย่างเดียว เขียนไปจะหมด ไม่มีอะไรใหม่ จะเป็นศิลปินได้ต้องรู้จักสร้างสรรค์ ใช้จินตนาการ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตทั้งหลายที่เราได้ประสบและเห็นมา”
ประสบการณ์ของศักดิชัย บำรุงพงศ์ ดูจะเป็น “ต้นทุน” และ “แต้มต่อ” ที่ดีกว่านักเขียนรุ่นเดียวกัน เพราะการเดินทางไปต่างแดนในฐานะข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ ช่วยส่งเสริม “สายตา” และ “มุมมอง” ทางสังคมให้กับเขามากกว่านักเขียนร่วมรุ่น
   การสัมผัสวัฒนธรรมต่างชาติอย่างกว้างขวางผ่านสายตาแบบปฐมภูมิ ทำให้ผลงานของศักดิชัย บำรุงพงศ์ สามารถเจาะลึกลงไปถึงแก่นความคิดของสังคมต่างแดนได้อย่างถึงราก สิ่งที่โดดเด่นในงานเขียนของเขาคือการหยิบยกอุดมคติทางสังคมและการต่อสู้เพื่อเสรีภาพมาเป็นแนวคิดหลักในการสร้างผลงาน แต่ทว่า ผลงานของเขากลับไม่ได้มีน้ำเสียงในการเรียกร้องอุดมคติดังกล่าวอย่างแข็งกร้าวหรือปลุกระดม แต่กลับแสดงออกอย่างเป็นกลาง ผ่านความบันเทิง และกระตุ้นผู้อ่านให้ได้คิดต่อด้วยตนเองถึงสิ่งที่เขาต้องการจะสื่อผ่านนิยายของตน
 
   อาจเป็นเพราะการเป็นข้าราชการด้วยส่วนหนึ่งที่ทำให้ผลงานของศักดิชัย บำรุงพงศ์ ไม่มีท่าทีก้าวร้าว ปลูกฝัง ถ่ายทอดปัญญา และอุดมคติ มากกว่าการปลุกสำนึกความเป็นขบถทางการเมืองแก่ผู้อ่าน อีกทั้งยังเป็นนักเขียนที่มีผลงานต่อเนื่อง และสร้างสรรค์ผลงานคุณภาพสูงอย่างสม่ำเสมอตลอดระยะเวลา 5 ทศวรรษ จึงทำให้ผลงานและตัวตนของเขาเป็นเหมือนเสาหลักที่เหล่าปัญญาชนและนักคิดนักเขียนรุ่นใหม่ใส่ใจศึกษาอย่างจริงจัง หากจะพูดถึงหมุดหมายแห่งวรรณกรรมที่ว่าด้วยเสรีภาพในทศวรรษ 2510
 
   ผลงานของศักดิชัย บำรุงพงศ์ ไม่เคยเชย และไม่มีวันตาย ด้วยเพราะว่าสิ่งที่เขาบอกแก่เรานั้นคือสัจธรรม คือความเป็นไปของโลกที่ไม่มีใครฉุดรั้งได้
 
 อังคาร กัลยาณพงศ์ กล่าวถึงศักดิชัย บำรุงพงศ์ เจ้าของนามปากกาเสนีย์ เสาวพงศ์ ไว้ว่า “เทือกเขาของวรรณกรรมจะมียอดหลายยอด และเสนีย์ เสาวพงศ์ เป็นยอดที่สูงที่สุดยอดหนึ่ง”
 

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว