ตัวเลือกสินค้า

เสนีย์ เสาวพงศ์

เรียงตาม แนะนำ

  • เรียงตาม แนะนำ
  • เรียงตาม ราคาขาย
  • เรียงตาม วันที่ขาย
  • เรียงตาม ชื่อสินค้า
  • เรียงตาม ขายดี
  • เรียงตาม ให้คะแนน

แสดง 1 ถึง 11 จาก 11 รายการ

ประวัตินักเขียน ชื่อ : เสนีย์ เสาวพงศ์ 
ประวัติย่อ  
        เสนีย์ เสาวพงศ์เป็นนามแฝงของศักดิ์ชัย บำรุงพงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2461 ในตระกูลชาวนาแห่งอำเภอบางบ่อ สมุทรปราการ เป็นคนสุดท้องในจำนวนพี่น้องทั้ง 6 คน และได้เข้ามาเรียนที่กรุงเทพ จนจบชั้นมัธยมปลาย จากโรงเรียนบพิตรพิมุข ภาษาเยอรมัน ในวัยหนุ่มเสนีย์มีความสนใจในเรื่องชกมวย แต่ความสำเร็จในด้านนี้ที่สำคัญคือ การเจรจาติดต่อ ปาสคาลเปเรซ แชมเปี้ยโลกชาวอาเจนตินาให้มาชกป้องกันตำแหน่งกับโผน กิ่งเพชรที่กรุงเทพฯ ในปี 2503 ขณะที่ประจำอยู่ที่สถานเอกอัครราชทูตไทยในอาร์เจนตินา ซึ่งทำให้โผนได้ครองตำแหน่งแชมเปี้ยนโลกคนแรกของไทย
         เมื่อไม่สามารถฝึกด้านการชกมวยได้ เสนีย์ เสาวพงศ์ จึงหันไปสนใจด้านการวาดเขียน โดยฝากตัวเป็นศิษย์ของครูเหม เวชกร แต่ก็รู้ตัวว่าไม่มีพรสวรรค์ทางด้านนี้ ในช่วงที่เรียนวาดเขียนนี่เองได้มีโอกาสพบปะกับนักเขียนรุ่นใหญ่ในยุคนั้น อาทิ มนัส จรรยงค์ และ ส. บุญเสนอ ที่แวะเวียนมาพูดคุยกับครูเหม ประกอบกับเป็นคนที่รักการอ่านอยู่แล้วจึงเริ่มเขียนเรื่องสั้นส่งไปลงพิมพ์ทั้งในหนังสือของโรงเรียน และหนังสือวางจำหน่ายในท้องตลาด เช่น ศรีกรุงวันอาทิตย์กรุงเทพ
วารศัพท์  เป็นต้น
         เมื่อสำเร็จชั้นมัธยมแปด ในพ.ศ.2479 เสนีย์ได้สอบเข้าเรียนต่อในคณะสถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแต่เรียนได้เพียงเดือนเดียวบิดาก็ถึงแก่กรรมทำให้ประสบปัญหาด้านการเงินจึงลาออกไปทำงานหนังสือพิมพ์ควบคู่ไปกับการเรียนกฎหมาย ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง จนสำเร็จการศึกษาในปีพ.ศ.2484
          เสนีย์ เสาวพงศ์ เริ่มอาชีพนักหนังสือพิมพ์ที่ศรีกรุง ในแผนกข่าวต่างประเทศ ต่อจากนั้นได้ย้ายมาอยู่ที่หนังสือพิมพ์สยามราษฏร์ ซึ่งมีครูอบ ไชยวสุ เจ้าของนามปากกา “ฮิวเมอร์ริสต์” เป็นบรรณาธิการ แต่ในปีพ.ศ.2482 ครูอบเกิดความขัดแย้งกับ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ถูกทางการบีบบังคับให้ลาออก กองบรรณาธิการสยามราษฎร์ รวมทั้งเสนีย์ เสาวพงศ์จึงยกทีมลาออก
          หลังจากว่างงานอยู่ระยะหนึ่ง จึงหันไปรับราชการในแผนกพานิชนโยบายต่างประเทศ กระทรวงเศรษฐการ และได้รับทุนไปเรียนต่อที่เยอรมัน แต่โซเวียตไม่ยอมให้เดินทางผ่านไปเยอรมัน จึงต้องย้อนกลับมาเมืองไทย และหวนกลับไปทำงานที่สุวรรรภูมิ ร่วมกับอิศรา อมันตกุล และทองเติม เสมรสุต นักเขียนสุวรรณภูมิใช้นามสกุล “พรหมจรรยา” แล้วเปลี่ยนมาใช้ “เสนีย์ เสาวพงศ์” เมื่อเขียนเรื่องสั้นเดือนตกในทะเลจีน ซึ่งเป็นที่เปิดเผยในภายหลังว่า นามปากกานี้มีที่มาจากนามสกุลและชื่อของคนรักคนหนึ่งของเสนีย์ เสาวพงศ์  ในปีพ.ศ. 2484 เกิดสงครามโลกครั้งที่2 ข่าวต่างประเทศถูกตรวจสอบอย่างเข้มงวด เสนีย์ จึงลาออกจาก
 นามปากกา
- โบ้ บางบ่อ ,สุจริต พรหมจรรยา ,กรัสนัย โปรชาติ ,วัลยา ศิลปวัลลภ ,คมศานติ ,หนานสีมา ,เสนีย์ เสาวพงศ์
 เกียรติยศที่ได้รับ
            -    ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์เมื่อปี 2533
            -    ได้รับรางวัลศรีบูรพา    
ผลงานรวมเล่ม
-          ปีศาจมติชน
-          ความรักของวัลยา (๒๔๙๕)
-          คนดีศรีอยุธยา
-          ดิน น้ำ และดอกไม้ 
-          ใต้ดาวมฤตยู
-          ชัยชนะของคนแพ้ (๒๔๘๖)
-          ชีวิตบนความตาย (๒๔๘๙)
-          ไม่มีข่าวจากโตเกียว" (2488)
-          ไฟเย็น (๒๕๐๔)
-          บัวบานในอะมาซอน (๒๕๐๔)
 
loading