s

เสียดินแดนมลายู : ประวัติศาสตร์ชาติฉบับ Plot Twist

ผู้เขียน: ฐนพงศ์ ลือขจรชัย

สำนักพิมพ์: มติชน/matichon

หมวดหมู่: หนังสือบทความ สารคดี , ประวัติศาสตร์

0 รีวิว เขียนรีวิว

221.00 บาท

260.00 บาท ประหยัด 39.00 บาท (15.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 8 แต้ม

การเสียดินแดนมลายูในประวัติศาสตร์ชาติ ถูกอธิบายไว้ด้วยความเจ็บช้ำและสูญเสียของคนทั้งประเทศ แต่แท้ที่จริงแล้ว “เราเสียดินแดน” จริงหรือ? < แสดงน้อยลง การเสียดินแดนมลายูในประวัติศาสตร์ชาติ ถูกอธิบายไว้ด้วยความเจ็บช้ำและสูญเสียของคนทั้งประเทศ แต่แท้ที่จริงแล้ว “เราเสียดินแดน” จริงหรือ?
  • ส่วนลด:
    ลด 15%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com Top Up Mid-Month Sale! ลด 15%

221.00 บาท

260.00 บาท
260.00 บาท
ประหยัด 39.00 บาท (15.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 8 แต้ม

จำนวน :

1

จำนวนหน้า
288 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
14.2 x 21.3 x 1.5 CM
น้ำหนัก
0.305 KG
บาร์โค้ด
9789740216483

รายละเอียด : เสียดินแดนมลายู : ประวัติศาสตร์ชาติฉบับ Plot Twist

เสียดินแดนมลายู : ประวัติศาสตร์ชาติฉบับ Plot Twist

การเจรจาสนธิสัญญา ค.ศ. ๑๙๐๙ ระหว่างสยามและอังกฤษ คือการตกลงปักปันพรมแดนเหนือดินแดนมลายูของสยามและอังกฤษให้ชัดเจน ซึ่งถือเป็นหนึ่งในขั้นตอนการสร้าง “รัฐสมัยใหม่” ของสยาม กลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี และปะลิสแท้ที่จริงแล้วเป็นของสยามจริงหรือ? แม้จะมีงานประวัติศาสตร์หลายๆ ชิ้นในอดีตพยายามอธิบายว่า ดินแดนมลายูเป็นของสยามมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย แต่การเจรจาสนธิสัญญา ค.ศ. ๑๙๐๙ กับอังกฤษต่างหากที่เพิ่งเป็นหลักฐานยืนยันว่าสยามมีอํานาจเหนือดินแดนมลายูอย่างแท้จริง และเป็นสยามเองที่ยินยอมแบ่งดินแดนมลายูบางส่วนให้กับอังกฤษเพื่อแลกกับผลประโยชน์และความมั่นคงของรัฐบาล หนังสือเล่มนี้คืองานตอบโต้ประวัติศาสตร์ชาติกระแสหลักชิ้นสําคัญ ที่จะช่วยให้คนไทยตื่นรู้ทางประวัติศาสตร์ ไม่หลงใหลกับวาทกรรม “เสียดินแดน” ที่มอมเมาคนไทยมาหลายทศวรรษ


คำนำ : เสียดินแดนมลายู : ประวัติศาสตร์ชาติฉบับ Plot Twist

หนังสือเล่มนี้พัฒนาจากวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท ในหัวข้อ “ปัจจัยที่มีผลต่อการตกลงพรมแดนในดินแดนมลายูระหว่างสยามและอังกฤษในสนธิสัญญาปี ค.ศ. ๑๙๐๙” งานชิ้นนี้ไม่ได้สรุปอย่างชัดเจนว่าปัจจัยใดเป็นเหตุผลที่เหนือกว่าปัจจัยอื่นๆ ที่ทําให้มีการแบ่งสันปันส่วนดินแดนของชาวมลายู แต่เป็นการพยายามสํารวจปัจจัยที่มีส่วนเกื้อหนุนและพัวพันกันอย่างสลับซับซ้อนตลอดช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ ที่ต่างส่งผลหรือมีอิทธิพลต่อการตกลงพรมแดนระหว่างสยามกับอังกฤษในสนธิสัญญา ค.ศ. ๑๙๐๙

หากย้อนกลับไปดูต้นตอที่มาของ “ดินแดนของสยาม” คือ สนธิสัญญาต่างๆ ที่สยามได้ทำขึ้นกับอังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่ง ผู้เขียนได้พบสิ่งที่น่าสนใจจนเป็นที่มาของหนังสือเล่มนี้ ทั้งนี้ผู้เขียนพบว่าสนธิสัญญาแต่ละฉบับถูกเขียนหรือใช้ข้อความในการเจรจาดินแดนไม่เหมือนกัน มีทั้งการใช้คําว่า “เพิกถอนการอ้างสิทธิ์” “ให้เมืองเป็นของสยาม” “อยู่กับสยาม” “สยามยอมโอน” “สยามยอมยกดินแดน” เป็นต้น สิ่งนี้แสดงให้เห็นชัดเจนว่าสิ่งที่เราเรียกว่า “การเสียดินแดน” แต่ละครั้งนั้นไม่เหมือนกัน อย่างน้อยก็ในทางนิตินัย ระหว่างสยามกับอังกฤษและฝรั่งเศส

เมื่อได้ข้อสรุปในเบื้องต้นว่าการเจรจาดินแดนแต่ละครั้งนั้นไม่เหมือนกัน ดังนั้นแล้ว งานทั้งสองกลุ่มที่มีข้อเสนอขัดแย้งกันก็อาจจะไม่ได้ขัดแย้งกันก็ได้ กล่าวคือ การเจรจาบางครั้งอาจจะเป็นการกําหนดดินแดน บางครั้งเป็นการแบ่งเขตแดน บางครั้งเป็นการแลกเปลี่ยน และบางครั้งก็เป็นการเสียดินแดน ดังนั้นการพยายามสรุปว่าสยามเสียหรือไม่เสียดินแดนแบบเหมารวมในการเจรจาดินแดนกับอังกฤษและฝรั่งเศส จึงเป็นเหมือนการพยายามสรุปให้เป็นขาวหรือดํา ดีหรือชั่ว จนกลายเป็นเหรียญสองด้านที่ต่างฝ่ายต่างมองแค่ด้านของตัวเอง สิ่งที่หนังสือเล่มนี้พยายามทําคือการทําให้เรื่องราวเป็นสีเทา เปรียบเหมือนการพยายามหมุนเหรียญให้เกิดภาพหรือมุมมองอีกแบบต่อเรื่องราวเดิมๆ

ฐนพงศ์ ลือขจรชัย


สารบัญ : เสียดินแดนมลายู : ประวัติศาสตร์ชาติฉบับ Plot Twist

    • ๑ รัฐจารีตสยามสู่ระเบียบโลกใหม่
    • ๒ การเจรจาสนธิสัญญา ค.ศ. ๑๙๐๙ ระหว่างสยามกับอังกฤษ
    • ๓ ปัจจัยที่มีผลต่อการเจรจาในสนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๐๙ ระหว่างสยามกับอังกฤษ (๑)
    • ๔ ปัจจัยที่มีผลต่อการเจรจาในสนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๐๙ ระหว่างสยามกับอังกฤษ (๒)

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
loading