วัด-วัง ในพระราชประสงค์พระจอมเกล้าฯ

ผู้เขียน: ผศ.ดร.พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์

สำนักพิมพ์: มติชน/matichon

หมวดหมู่: หนังสือบทความ สารคดี , ประวัติศาสตร์

0 (0) เขียนรีวิว

374.00 บาท

440.00 บาท ประหยัด 66.00 บาท (15.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 42 คะแนน

...วิเคราะห์งานศิลปกรรมในรัชกาลที่ ๔ ทุกๆ ด้าน ตรวจสอบกับเอกสารทางประวัติศาสตร์ เพื่ออธิบายถึงพระราชประสงค์ที่แท้จริงของการสถาปนาวัตถุสถานในบวรพุทธศาสนาในรัชกาลของพระองค์ นับเป็นผลงานวิจัยอย่างละเอียดรอบคอบและได้ผลการศึกษา ซึ่งเป็นที่ยอมรับเป็นอย่างดี < แสดงน้อยลง ...วิเคราะห์งานศิลปกรรมในรัชกาลที่ ๔ ทุกๆ ด้าน ตรวจสอบกับเอกสารทางประวัติศาสตร์ เพื่ออธิบายถึงพระราชประสงค์ที่แท้จริงของการสถาปนาวัตถุสถานในบวรพุทธศาสนาในรัชกาลของพระองค์ นับเป็นผลงานวิจัยอย่างละเอียดรอบคอบและได้ผลการศึกษา ซึ่งเป็นที่ยอมรับเป็นอย่างดี
  • ส่วนลด:
    ลด 15%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com Online Book Fair หนังสือลด 15%*

374.00 บาท

440.00 บาท
440.00 บาท
ประหยัด 66.00 บาท (15.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 42 คะแนน

จำนวน :

1

จำนวนหน้า
416 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
16.1 x 23.9 x 2.6 CM
น้ำหนัก
0.687 KG
บาร์โค้ด
9789740215882

รายละเอียด : วัด-วัง ในพระราชประสงค์พระจอมเกล้าฯ

วัด-วัง ในพระราชประสงค์พระจอมเกล้าฯ

"...วิเคราะห์งานศิลปกรรมในรัชกาลที่ ๔ ทุกๆ ด้าน ตรวจสอบกับเอกสารทางประวัติศาสตร์ เพื่ออธิบายถึงพระราชประสงค์ที่แท้จริงของการสถาปนาวัตถุสถานในบวรพุทธศาสนาในรัชกาลของพระองค์ นับเป็นผลงานวิจัยอย่างละเอียดรอบคอบและได้ผลการศึกษา ซึ่งเป็นที่ยอมรับเป็นอย่างดี จนทำให้เห็นถึงลักษณะเฉพาะของงานช่างในสมัยรัชกาลที่ ๔ แนวพระราชศรัทธาปณิธานในการสร้างงานศิลปกรรม รวมทั้งพระราชประสงค์ครั้งสำคัญของการสถาปนาวัดที่ยังไม่เคยมีการอธิบายทั้งรูปแบบศิลปกรรมและการวิเคราะห์หลักฐานอย่างเป็นระบบมาก่อน..."


คำนำ : วัด-วัง ในพระราชประสงค์พระจอมเกล้าฯ

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นช่วงเวลาที่สยามเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งชนรุ่งหลังได้เรียนรู้จากเอกสารที่บันทึกเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ไว้เป็นจำนวนมาก หากแต่หลักฐานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ คือหลักฐานด้านศิลปกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งศิลปกรรมที่สร้างขึ้นตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งย่อมจะแสดงให้เห็นแนวพระราชดำริและบทความขององค์พระประมุขที่มีต่องานศิลปกรรม อันเป็นสิ่งสะท้อนถึงรากเหง้าทางวัฒนธรรมและขนบประเพณีอันดีงามที่มีมาอย่างยาวนานของสยาม ขณะเดียวกันก็ได้สะท้อนถึงการเลือกรับและปรับเปลี่ยนไปตามกระแสวัฒนธรรมจากภายนอกได้อย่างแยบยล ดังนั้นศิลปกรรมในพระราชประสงค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมิได้มีเพียงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับศิลปะตะวันตกอย่างที่นิยมกล่าวถึงกันเท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายแง่มุมที่ทำให้เห็นความเป็นตัวตนของสยาม เห็นทัศนะที่มีต่อดินแดนประเทศราชที่อยู่ในแวดล้อม เห็นทัศนะที่มีต่อดินแดนอื่นซึ่งแม้จะอยู่ห่างไกลกันออกไปแต่เป็นแหล่งบรรดาลใจสำคัญทางพุทธศาสนาอย่างลังกา รวมทั้งเห็นทัศนะที่มีต่อกระแสวัฒนธรรมจากชาติมหาอำนาจตะวันตกที่เข้ามาในระยะนี้แทนที่วัฒนธรรมจีนที่เริ่มคลี่คลายลง ประเด็นต่างๆ เหล่านี้ได้ถ่ายทอดมาเป็นงานศิลปกรรมในพระราชประสงค์สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้ายู่หัว  "วัด-วัง ในพระราชประสงค์พระจอมเกล้าฯ" นี้ได้ปรับปรุงจากวิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณิต สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะไทย เรื่อง "ศิลปกรรมในพระราชประสงค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" ผู้เขียนขอกราบขอบพระคุณศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สันติ เล็กสุขุม และศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์ ที่ได้กรุณาให้คำแนะนำอันเป็นประโยชน์ตลอดมาในการค้นคว้าวิจัยด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ ขอบคุณ รองศาสตราจารย์ ดร.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อชิรัชญ์ ไชยพจน์พานิช อาจารย์กวิฎ ตั้งจรัสวงศ์ คุณภาวิดา จินประพัฒน์ ที่สละเวลาร่วมสำรวจภาคสนาม แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น และตั้งข้อสังเกตอันเป็นประโยชน์ คุณประพันธ์ แจ้งกิจชัย ที่ช่วยตรวจสอบแก้ไขคำผิดและค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมบางส่วน ท้ายที่สุดนี้ขอขอบคุณคุณมลฑล ประภากรเกียรติ หัวหน้ากองบรรณาธิการและสำนักพิมพ์มติชนในการจัดพิมพ์เผยแพร่สู่สารธารณะ ซึ่งนับเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้เป็นที่ประจักษ์สืบไป

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์


สารบัญ : วัด-วัง ในพระราชประสงค์พระจอมเกล้าฯ

    • คำนิยม
    • คำนำ
    • พระบาทสมเด็ตพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับบริบททางสังคมในรัชสมัย
    • พระอารามในกระพุทธศาสนา
    • เจดีย์ทรงระฆัง : เจดีย์แบบพระราชนิยม
    • พระพุทธรูปในพระราชประสงค์
    • จิตรกรรมฝาผนังในพระราชประสงค์

     


เนื้อหาปกหลัง : วัด-วัง ในพระราชประสงค์พระจอมเกล้าฯ

"...วิเคราะห์งานศิลปกรรมในรัชกาลที่ ๔ ทุกๆ ด้าน ตรวจสอบกับเอกสารทางประวัติศาสตร์ เพื่ออธิบายถึงพระราชประสงค์ที่แท้จริงของการสถาปนาวัตถุสถานในบวรพุทธศาสนาในรัชกาลของพระองค์ นับเป็นผลงานวิจัยอย่างละเอียดรอบคอบและได้ผลการศึกษา ซึ่งเป็นที่ยอมรับเป็นอย่างดี จนทำให้เห็นถึงลักษณะเฉพาะของงานช่างในสมัยรัชกาลที่ ๔ แนวพระราชศรัทธาปณิธานในการสร้างงานศิลปกรรม รวมทั้งพระราชประสงค์ครั้งสำคัญของการสถาปนาวัดที่ยังไม่เคยมีการอธิบายทั้งรูปแบบศิลปกรรมและการวิเคราะห์หลักฐานอย่างเป็นระบบมาก่อน..."

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%