เศรษฐศาสตร์ที่ดีในยามยาก

ผู้เขียน: อภิจิต บาเนอร์จี,เอสเทอร์ ดูโฟล

สำนักพิมพ์: Sophia

หมวดหมู่: บริหาร ธุรกิจ , การเงิน การลงทุน

0 (0) เขียนรีวิว

373.50 บาท

415.00 บาท ประหยัด 41.50 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 14 คะแนน

  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:E-Book ลดทุกเล่ม ทั้งเว็บ 10% วันที่ 1 - 31 พ.ค. 67

373.50 บาท

415.00 บาท
415.00 บาท
ประหยัด 41.50 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 14 คะแนน

จำนวน :

1

  • โปรโมชั่นพิเศษ:
    • E-Book ช้อป E-Book และ E-Magazine ครบ 3 เล่ม ลด 15% วันที่ 6 - 31 พ.ค. 67
จำนวนหน้า
477 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาดไฟล์
5.75 MB
ประเภทไฟล์
PDF, EPUB
บาร์โค้ด
9786161866112

รายละเอียด : เศรษฐศาสตร์ที่ดีในยามยาก

สองนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลจะทำให้คุณประจักษ์ว่า ไม่มีกฎเหล็กทางเศรษฐศาสตร์ใดยับยั้งมิให้เราสร้างโลก ที่มีความเป็นมนุษย์มากกว่าที่เป็นอยู่ แต่ความเชื่อมืดบอด ผลประโยชน์ส่วนตน หรือเพียงเพราะขาดความเข้าใจ ทำให้คนมากมายอ้างว่ามันเป็นไปไม่ได้!

 

เศรษฐศาสตร์ไม่ใช่เศรษฐกิจ แต่เศรษฐศาสตร์คือเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดเศรษฐกิจอย่างที่เราเผชิญอยู่ เศรษฐศาสตร์คือเหตุ เศรษฐกิจคือผล และเหตุที่ทำให้เกิดผลอันพัวพันซับซ้อนได้ขนาดนี้ ย่อมมีเหตุที่มากด้วยปัจจัยหลากหลาย

 

เศรษฐศาสตร์ที่ดีในยามยาก (Good Economics for Hard Times) หนังสือที่จะไม่ได้พูดแค่เรื่องรัฐบาลกับอัตราภาษี ราคาสินค้า และอิทธิพลการนำเข้าส่งออก แต่ยังรวมถึงเรื่องผู้ลี้ภัย อคติ ความรู้สึกแบ่งแยก ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี การมองโลกสวยหรือน่าเกลียดเกินจริง การแทรกแซงที่จำเป็นของรัฐบาล และเหนืออื่นใดที่เล่มนี้เน้นย้ำและยืนยันว่า ปัจจัยใหญ่หลวงคือ “ศักดิ์ศรี” เพราะศักดิ์ศรีทำให้เราเคารพตนเอง และสังคมที่ผู้คนเคารพตนเองได้อย่างไม่ตะขิดตะขวง ย่อมสะท้อนคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่ใช่จีดีพี

 

เอสเทอร์ ดูโฟล และอภิจิต บาเนอร์จี สองนักเศรษฐศาสตร์ รางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ ปี 2019 มีแนวคิดแหกคอกระดับที่จะบอกคุณหน้าซื่อๆเลยว่า ใครจะหาสูตรเร่งโตก็หาไปเถอะ พวกเขาไม่ใช่แค่ไม่เห็นด้วยเท่านั้น แต่ยังยืนยันว่า มันอาจจะดีกว่าสำหรับโลกก็ได้ หากเราหาสูตรที่ว่าไม่เจอ!

 

ทั้งสองทุ่มเทเวลาและพื้นที่กับการสร้างความหวัง “บนความเข้าใจที่ถูกต้อง” หรืออย่างน้อยก็บน “ข้อมูลที่ถูกต้อง” เพื่อให้ทุกชนชั้น ทุกภาคส่วนในทุกอุตสาหกรรม เห็นภาพกว้างของฟันเฟืองขนาดใหญ่ที่ขับเคลื่อนเราอยู่ และเห็นว่ามันไม่ได้ดำเนินไปโดยแปลกแยกเป็น “เอกเทศ” จากตัวเรา มันคือส่วนหนึ่งของตัวเรา และเรามีส่วนขับเคลื่อนมันได้ เริ่มจากมองเห็นมันจริงๆให้ได้ก่อน

 

เมื่อเรามองเห็นภาพ เช่นที่ดูโฟลและบาเนอร์จีพยายามฉายให้เห็น เมื่อนั้นเราทุกคนจะเกิดคำถามหลายคำถามพร้อมกันโดยอัตโนมัติ คำถามเช่น ถ้าอยากให้นกกระจอกได้อิ่มมากขึ้น ทำไมไม่เอาอาหารเพิ่มให้นกกระจอก จะต้องมีตัวกลางไปทำไม!

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
loading