คำอธิบายกฎหมายคุ้มครองแรงงาน

ผู้เขียน: วิชัย โถสุวรรณจินดา

สำนักพิมพ์: สนพ.บัณฑิตอักษร

หมวดหมู่: หนังสือเตรียมสอบ แนวข้อสอบ , ปริญญาตรี

0 รีวิว เขียนรีวิว

288.00 บาท

320.00 บาท ประหยัด 32.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 11 แต้ม

  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com World Book Day ลด 10%*

288.00 บาท

320.00 บาท
320.00 บาท
ประหยัด 32.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 11 แต้ม

จำนวน :

1

  • 1
  • 2
  • 3
  • 4
  • 5
  • 6
  • 7
  • 8
  • 9
  • 10
  • โปรโมชั่นพิเศษ:
    • Naiin.com World Book Day ช้อปครบ 3 เล่ม ลด 15%*
    • Naiin.com World Book Day ช้อปครบ 5 เล่ม ลด 20%*
จำนวนหน้า
352 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
18.4 x 25.8 x 1.5 CM
น้ำหนัก
0.545 KG
บาร์โค้ด
9786168314067

รายละเอียด : คำอธิบายกฎหมายคุ้มครองแรงงาน

คำอธิบายกฎหมายคุ้มครองแรงงาน

    ประเทศไทยได้มีกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานมาตั้งแต่วันที่ ๑๖
เมษายน ๒๕๑๖ ในรูปของประกาศกระทรวงมหาดไทย ออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศ
คณะปฏิวัติฉบับที่ ๑๐๓ ลงวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๑ ๖ กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครอง
แรงงนนี้ได้ใช่บังคับมาเป็นเวลานานกว่า ๒๕ ปี รัฐสภาจึงได้ออกพระราชบัญญัติคุ้มครอง
แรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาใช้บังคับแทน
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้มีการคุ้มครองลูกจ้างใน
เรื่องชั่วโมงทำงาน การคุ้มครองแรงงานหญิง การคุ้มครองแรงงานเด็ก การจ่ายค่าชดเชย
เมื่อเลิกจ้าง รวมทั้งการกำหนดบทบาทของพนักงานตรวจแรงงานในการดูแลสิทธิประโยชน์
ของลูกจ้าง และได้เปิดโอกาสให้รัฐบาลออกข้อยกเว้น และการใช้บังคับแตกต่างไปจาก
กฎหมายได้โดยออกเป็นกฎกระทรวง ประกอบกับกฎหมายฉบับนี้ ถือเป็นกฎหมาย
ว่าด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน และยังถือเป็นข้อตกลงสภาพการจ้างซึ่งนายจ้าง
ต้องกำหนดเป็นข้อบังคับในการทำงานด้วย การออกข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งของ
สถานประกอบกิจการในการทำงานที่ไม่ขัดหรือฝ่าฝืนข้อกำหนดในกฎหมายนี้ จึงเป็น
เรื่องจำเป็นที่ทั้งนายจ้าง ผู้บริหารงานบุคคล และลูกจ้างโดยทั่วไปต้องสนใจ และทำ
ความเข้าใจเพื่อการปฏิบัติที่ถูกต้อง ต่อไป
ในการเรียบเรียงคำอธิบายกฎหมายคุ้มครองแรงงานฉบับนี้ ผมได้ปรับปรุง
จากคำอธิบายกฎหมายคุ้มครองแรงงานที่ได้เรียบเรียงไว้แล้ว จากประสบการณ์ที่ผมได้ร่วม
ในการพิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้ในฐานะกรรมาธิการชั้นวุฒิสภา การดำรงตำแหน่ง
ผู้พิพากษาสมทบในศาลแรงงนกลาง และการได้เข้าศึกษาที่เนติบัณฑิตสภา ผมได้แก้ไข
มาตราต่างๆให้เป็นปัจจุบันตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานที่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม
จนถึงพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๒ พร้อมในคำอธิบายตาม
คำพิพากษาฎีกาจนถึงปี ๒๕๖๒ และขยายความไปถึงกฎกระทรวงและประกาศกระทรวง
แรงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ผมยังได้เพิ่มเติมคำพิพากษาฎีกาที่เคยใช้ในการทดสอบ
ความรู้เนติบัณฑิต ข้อสอบคัดเลือกข้าราชการอัยการ และข้อสอบคัดเลือกผู้ช่วยผู้พิพากษา
ที่เกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานด้วย จึงเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์แก่ทั้งฝ่ายนายจ้า
ผู้บริหารงานบุคคล ลูกจ้าง ทนายความ ผู้ที่จะเข้าสอบคัดเลือกข้าราชการอัยการ
ผู้ช่วยผู้พิพากษา รวมถึงผู้สนใจโดยทั่วไป

 

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
loading