สังคมและวัฒนธรรมในอุษาคเนย์ Ethnology of Mainland Southeast Asia

ผู้เขียน: ปรานี วงษ์เทศ

สำนักพิมพ์: Ituibooks

หมวดหมู่: หนังสือเตรียมสอบ แนวข้อสอบ , ปริญญาตรี

0 รีวิว เขียนรีวิว

272.00 บาท

320.00 บาท ประหยัด 48.00 บาท (15.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 10 แต้ม

สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ และการผสมผสานทั้งทางวัฒนธรรมและเชื้อชาติของผู้คนในภูมิภาคนี้ < แสดงน้อยลง สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ และการผสมผสานทั้งทางวัฒนธรรมและเชื้อชาติของผู้คนในภูมิภาคนี้
  • ส่วนลด:
    ลด 15%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com MARCH EXTRA Sale เล่มไหนก็ลดใหญ่ ใหญ่ แต่เล่มแรกลด 15%

272.00 บาท

320.00 บาท
320.00 บาท
ประหยัด 48.00 บาท (15.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 10 แต้ม

จำนวน :

1

  • 1
  • 2
  • 3
  • 4
  • 5
  • 6
  • 7
  • 8
  • 9
  • 10
จำนวนหน้า
316 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
14.3 x 21 x 1.9 CM
น้ำหนัก
0.398 KG
บาร์โค้ด
9786165721462

รายละเอียด : สังคมและวัฒนธรรมในอุษาคเนย์ Ethnology of Mainland Southeast Asia

สังคมและวัฒนธรรมในอุษาคเนย์ Ethnology of Mainland Southeast Asia

หนังสือเล่มนี้แบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 ส่วน โดยจะมีเนื้อหาที่จบบริบูรณ์ในแต่ละบท
ส่วนที่ 1 กล่าวถึงแนวคิดทฤษฎีวิวัฒนาการทางศาสนาของ Robert Bellah และใช้แนวคิดนี้อธิบายพัฒนาการของสังคมวัฒนธรรมในอุษาคเนย์ ผู้เรียบเรียงได้เก็บความและสรุปเนื้อหาส่วนใหญ่จากหนังสือเรื่อง The human direction : An evolutionary approach to social and cultural Anthropology ของ James L. Peacock และ A. Thomas Kirsch เนื่องจากต้องการให้นักศึกษาที่เพิ่งเริ่มต้นศึกษาอุษาคเนย์มีกรอบในการมองภาพรวมของพัฒนาการของสังคมในภูมิภาคนี้อย่างกว้างๆ และเพื่อให้สามารถเข้าใจถึงสถานภาพของสังคมไทยในสังคมโลก โดยเปรียบเทียบกับสังคมอื่นๆ ทั้งภายในภูมิภาคนี้ และกับสังคมตะวันตก

ส่วนที่ 2 เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับโลกของกลุ่มชนดั้งเดิมและชนเผ่าในอุษาคเนย์ ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน เพื่อเป็นการให้ภูมิหลังต่อความสัมพันธ์ของกลุ่มคนที่สําคัญ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มคนที่อยู่ในที่สูง ที่ยังชีพด้วยการทําไร่เลื่อนลอย ไม่มีตัวอักษรใช้แต่ถ่ายทอดประเพณีทางปากเปล่า และมีสภาพสังคมแบบดั้งเดิม กับกลุ่มคนที่อยู่ในที่ราบทํานาทดน้ํา และสามารถพัฒนาบ้านเมืองเป็นรัฐได้ ผู้คน 2 กลุ่มที่มีวิถีชีวิตวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน แต่ก็มีความสัมพันธ์ติดต่อกันมาตลอด จนถูกแทรกแซงจากลัทธิอาณานิคมและอารยธรรมตะวันตก ที่ส่งผลให้เกิดปัญหาชนกลุ่มน้อย และการเรียกร้องอิสรภาพของกลุ่มชาติพันธุ์บางกลุ่มที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในทุกวันนี้ เนื้อหาของส่วนนี้ ได้จากการแปลและเก็บความจากบทที่ 1 ของหนังสือเรื่อง The Golden Peninsula ของ Charles F. Keyes ซึ่งผู้เรียบเรียงเห็นว่า เป็นหนังสือที่กล่าวถึงสังคมและผู้คนในอุษาคเนย์ได้เข้าใจและดีที่สุดเล่มหนึ่ง

ส่วนที่ 3 เป็นเรื่องเกี่ยวกับระบบความเชื่อและพิธีกรรมในอุษาคเนย์ เป็นการพยายามทําความเข้าใจระบบความเชื่อดั้งเดิมของชาวอุษาคเนย์ก่อนการรับอิทธิพลจากศาสนาภายนอก โดยมองผ่านพิธีกรรมเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ พิธีศพ และความเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษของขมุ

ส่วนที่ 4 เป็นความพยายามทําความเข้าใจความนึกคิดของกลุ่มชนต่างๆ ที่มีต่อสํานึกเกี่ยวกับเผ่าพันธุ์ของตนเองและเพื่อนบ้าน โดยผ่านตํานานและนิทานปรัมปราคติ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ และการผสมผสานทั้งทางวัฒนธรรมและเชื้อชาติของผู้คนในภูมิภาคนี้ จนยากจะหาเผ่าพันธุ์ที่บริสุทธิ์ได้


สารบัญ : สังคมและวัฒนธรรมในอุษาคเนย์ Ethnology of Mainland Southeast Asia

    • แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการ ทางสังคมและวัฒนธรรมในอุษาคเนย์
    • พัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มชนดั้งเดิมและชนเผ่าต่างๆ ในอุษาคเนย์
    • ระบบความเชื่อและพิธีกรรมในอุษาคเนย์
    • สำนักเกี่ยวกับเผ่าพันธุ์ของชาวอุษาคเนย์
    • พิธีกรรมเกี่ยวกับการตายในประเทศไทย
    • ปัญหาและมายาคติในการศึกษาวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตลุ่มน้ำโขงกับความเป็นอุษาคเนย์
    • การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างจ้วงกับไทยในมิติทางประเพณีวัฒนธรรมและความเชื่อ
    • วิกฤติการรับรู้และการธำรงชาติพันธุ์ในสุวรรณภูมิ

เนื้อหาปกหลัง : สังคมและวัฒนธรรมในอุษาคเนย์ Ethnology of Mainland Southeast Asia

เอกสารเล่มนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนวิชาชาติพันธุ์วิทยาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บนผืนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งในเอกสารฉบับนี้จะใช้คำว่า "อุษาคเนย์ภาคพื้นทวีป" แทนเพื่อความสะดวกวิชานี้เป็นวิชาบังคับของนักศึกษาที่เลือกเรียนสาขาวิชามนุษยวิทยาเป็นวิชาเอก ทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ในคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

 

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
loading