ฟ้าเดียวกัน รัฐสมบูรณาญาสิทธิราช สร้างกระฎุมพีราชการ หรือ ข้าราชการศักดินา

ผู้เขียน: ฟ้าเดียวกัน

สำนักพิมพ์: ฟ้าเดียวกัน/sameskybook

หมวดหมู่: หนังสือบทความ สารคดี , หนังสือสารคดี

0 รีวิว เขียนรีวิว

212.50 บาท

250.00 บาท ประหยัด 37.50 บาท (15.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 8 แต้ม

เมื่อเกิดทวิวิกฤตคือ วิกฤตความชอบธรรมและวิกฤตประสิทธิภาพขึ้นพร้อมกันแล้วไม่สามารถปรับตัวได้ จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่ < แสดงน้อยลง เมื่อเกิดทวิวิกฤตคือ วิกฤตความชอบธรรมและวิกฤตประสิทธิภาพขึ้นพร้อมกันแล้วไม่สามารถปรับตัวได้ จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่
  • ส่วนลด:
    ลด 15%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com MARCH EXTRA Sale เล่มไหนก็ลดใหญ่ ใหญ่ แต่เล่มแรกลด 15%

212.50 บาท

250.00 บาท
250.00 บาท
ประหยัด 37.50 บาท (15.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 8 แต้ม

จำนวน :

1

จำนวนหน้า
176 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
16.5 x 23.8 x 1.1 CM
น้ำหนัก
0.289 KG
บาร์โค้ด
9786167667874

รายละเอียด : ฟ้าเดียวกัน รัฐสมบูรณาญาสิทธิราช สร้างกระฎุมพีราชการ หรือ ข้าราชการศักดินา

ฟ้าเดียวกัน รัฐสมบูรณาญาสิทธิราช สร้างกระฎุมพีราชการ หรือ ข้าราชการศักดินา

ทวิวิกฤต

อวสานระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สยามในปี?2475 มีสาเหตุมาจากการบรรจบกันของสองวิกฤตคือ วิกฤตความชอบธรรมและวิกฤตประสิทธิภาพ เดิมการปกครองของสยามแต่โบราณนั้นถือเอา “ชาติวุฒิ” เป็นสำคัญ ใครเกิดชนชั้นไหนและเป็นพวกกับใครก็จะได้รับคุณเมื่อฝ่ายนั้นๆ ได้รับชัยชนะ และได้รับโทษหากพ่ายแพ้ในเกมชิงอำนาจ

แต่การสร้างรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์จำเป็นต้องมีกลไกข้าราชการขนาดใหญ่ ทำให้การอาศัยชาติวุฒิเป็นไปไม่ได้อีกต่อไปทั้งในแง่ของขนาดและประสิทธิภาพ พระมหากษัตริย์จึงจำต้องสร้างชนชั้นใหม่ขึ้นมา นั่นคือบรรดาข้าราชการสามัญชนที่ผ่านการศึกษาของรัฐทั้งในประเทศและต่างประเทศ หรือที่กุลลดา เกษบุญชู มี้ด เรียกว่า “กระฎุมพีราชการ” (ดู ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ : วิวัฒนาการรัฐไทย,?2562) คนเหล่านี้เติบโตขึ้นพร้อมกับข้อเรียกร้องและสำนึกใหม่คือการให้ความสำคัญกับ “คุณวุฒิ” หรือความสามารถ มากกว่า “ชาติวุฒิ” หรือชาติกำเนิด พร้อมๆ กับการเปิดรับต่อรูปแบบการปกครองใหม่ๆ โดยเฉพาะในต้นศตวรรษที่?20 ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองทั่วโลก

ชนชั้นใหม่นี้ได้สร้างความตึงเครียดให้กับระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นอย่างมาก เพราะไม่รู้ว่าพวกเขาจะภักดีกับใคร ภักดีกับพระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ หรือหัวหน้าในระบบราชการที่ให้คุณให้โทษโดยตรง นี่คือวิกฤตความชอบธรรมที่ก่อตัวขึ้นมา ในอีกด้านหนึ่ง การเข้าสู่ระบบทุนนิยมโลกของรัฐสยามด้วยการผลิตข้าวและสินค้าเกษตรป้อนตลาดโลก เมื่อเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจโลกตกต่ำในปี?2472 (The Great Depression?1929) ที่ราคาข้าวตกต่ำอย่างรุนแรง ส่งผลต่อรายรับที่ลดฮวบลงของรัฐบาล วิธีแก้ปัญหาอย่างหนึ่งของรัฐบาลคือการดุลราชการ หรือปลดข้าราชการออก ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้กับข้าราชการจำนวนมาก ยังไม่ต้องพูดถึงราษฎรที่เริ่มมีปากเสียงมากขึ้นผ่านสื่อกลางคือหนังสือพิมพ์ โดยที่ชนชั้นนำไม่ได้รับผลกระทบมากนัก นี่คือวิกฤตประสิทธิภาพ

เมื่อวิกฤตความชอบธรรมและวิกฤตประสิทธิภาพมาบรรจบกัน จึงก่อให้เกิดการปฏิวัติสยาม?2475 ที่ถือเป็นอวสานสมบูรณาญาสิทธิราชย์

รัฐบาลชุดต่างๆ หลังการปฏิวัติ?2475 ต้องบริหารทั้งความชอบธรรมและประสิทธิภาพไปพร้อมกัน หากเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งก็ไม่มีปัญหาเรื่องความชอบธรรม ขณะที่รัฐบาลจากการรัฐประหาร เช่น รัฐบาลเผด็จการทหารของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่เลือกวิธีฟื้นฟูสถาบันกษัตริย์เพื่อให้ตนเองได้เป็น “รัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” ซึ่งสร้างความชอบธรรมในการดำรงอยู่ พร้อมกับนโยบายพัฒนาที่มาจากการหนุนเสริมของสหรัฐอเมริกา ทำให้รัฐบาลสฤษดิ์ไม่มีปัญหาในเรื่องเสถียรภาพ

ในทางกลับกัน เมื่อมาถึงรัฐบาลสืบทอดอำนาจจอมพลถนอม กิตติขจร ความชอบธรรมของรัฐบาลเริ่มสั่นคลอนเนื่องจากครองอำนาจมาอย่างยาวนานนับ?10 ปี และมีความพยายามส่งต่ออำนาจผ่านเครือญาติ ขณะเดียวกันประสิทธิภาพของรัฐบาลก็ลดลง ดังกรณีวิกฤตน้ำมันในช่วงต้นปี?2516 ประเทศเข้าสู่ภาวะข้าวยากหมากแพง ผลของวิกฤตความชอบธรรมและวิกฤตประสิทธิภาพ จึงนำไปสู่เหตุการณ์?14 ตุลา?2516

นอกจากนี้ รัฐบาลที่มีปัญหาเรื่องความชอบธรรม เช่น รัฐบาลเปรม ติณสูลานนท์ ก็ใช้วิธีไกล่เกลี่ยอำนาจกับพรรคการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง พร้อมๆ กับการส่งเสริมสถาบันกษัตริย์เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับตนเอง จนอยู่ได้นานถึง?8 ปี?5 เดือน ก่อนต้องก้าวลงจากอำนาจเมื่อเสียงขับไล่ดังขึ้น

ขณะที่ในด้านกลับกัน เราได้เห็นการล้มลงของรัฐบาลทักษิณ ที่แม้จะมีความชอบธรรมจากการเลือกตั้ง และมีประสิทธิภาพในการส่งมอบนโยบายให้กับผู้เลือกตั้ง แต่เมื่อชนชั้นนำรู้สึกว่าความนิยมในตัวทักษิณคุกคามสถานะตนเองจึงร่วมกันทำลายความชอบธรรมของทักษิณ โดยสร้างให้เป็นคู่ตรงข้ามกับสถาบันกษัตริย์ด้วยข้อหา “ล้มเจ้า” จนประสบผลสำเร็จในการรัฐประหาร?19 กันยา?2549 แต่รัฐประหาร?2549 ล้มเหลวเพราะไม่สามารถทำลายความนิยมต่อ “ฝ่ายทักษิณ” ได้ ดังจะเห็นได้จากผลการเลือกตั้งปี?2550 ที่ “ฝ่ายทักษิณ” กลับมาชนะอีกครั้ง รวมทั้งปี?2554 ด้วย

ดังนั้น รัฐประหาร?2557 จึงเพิ่มดีกรีการใช้ความรุนแรงกับฝ่ายต่อต้าน ตลอดจนใช้กลไกองค์กรอิสระและสถาบันตุลาการมาช่วยพยุงรัฐบาลทหารจนอยู่ได้นานถึง?5 ปี และมีความพยายามสืบทอดอำนาจผ่านการร่างรัฐธรรมนูญ?2560 ที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ก่อนจะจัดให้มีการเลือกตั้งในปี?2562

ในการเลือกตั้ง?24 มีนาคม?2562 จากผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง?38,268,375?คน คะแนนของฝ่ายที่ประกาศไม่เอาประยุทธ์สืบทอดอำนาจมีมากถึง?24,165,525?เสียง หรือคิดเป็น?63.14 % (พรรคเพื่อไทย?7,920,630?เสียง พรรคอนาคตใหม่?6,265,950?เสียง พรรคเสรีรวมไทย?826,530?เสียง พรรคเศรษฐกิจใหม่?485,664 เสียง พรรคประชาชาติ?485,436?เสียง พรรคเพื่อชาติ?419,393?เสียง พรรคพลังปวงชนไทย?81,733?เสียง พรรคประชาธิปัตย์?3,947,726?เสียง พรรคภูมิใจไทย?3,732,883?เสียง)

แต่อย่างที่ทราบกันดี กลไกที่คณะรัฐประหารได้วางเอาไว้ผ่านรัฐธรรมนูญ?2560 ที่มีรากความคิดมาจากรัฐธรรมนูญ?2521 ซึ่งเป็นฐานค้ำยันอำนาจของเปรม โดยมีวุฒิสมาชิก?250?คน ที่คณะรัฐประหารตั้งมากับมือไว้โหวตเลือกนายกรัฐมนตรี แล้วหนุนเสริมด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้งที่พร้อมจะตีความเพื่อเป็นคุณกับคณะรัฐประหาร ดังจะเห็นได้จากการคำนวณแบบพิสดารปัดเศษให้พรรคเล็ก ตลอดจนการกลืนน้ำลายของพรรคประชาธิปัตย์และภูมิใจไทยที่กลับลำหันไปสนับสนุนการสืบทอดอำนาจ ทำให้ในที่สุดก็เกิดรัฐบาลประยุทธ์?2?ขึ้นจนได้ ทั้งๆ ที่เสียงข้างมากของประชาชนที่ไม่เอาการสืบทอดอำนาจของประยุทธ์ปรากฏชัดจากผลของการเลือกตั้งแล้ว นี่คือวิกฤตความชอบธรรมที่เกิดขึ้นตั้งแต่ต้น

หลังจากนั้น กรณีโรคระบาดจากไวรัสโควิด-19 ที่เป็นวิกฤตระดับโลก (เทียบได้กับวิกฤตเศรษฐกิจโลกตกต่ำในปี?2472) เราได้เห็นการรับมือกับปัญหาของรัฐบาลประยุทธ์?2 ที่เต็มไปด้วยความผิดพลาดแทบทุกแง่มุม จนประชาชนหมดความเชื่อมั่นเชื่อถือไม่ไว้วางใจทั้งรัฐบาลและหน่วยงานรัฐในด้านประสิทธิภาพและความโปร่งใส กล่าวได้ว่ารัฐไทยเกือบจะอยู่ในภาวะรัฐล้มเหลว (failed state) นี่คือวิกฤตประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นตามมาในระยะเวลาแค่หนึ่งปี

กระนั้นก็ตาม ทวิวิกฤตที่เกิดขึ้นนี้แทนที่จะทำให้รัฐบาลประยุทธ์?2?ล้มลง แต่กลายเป็นว่าสถานะของรัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา กลับมั่นคงมากยิ่งขึ้นภายหลังผ่านการอภิปรายไม่ไว้วางใจ แม้คณะรัฐมนตรีจะไม่สามารถตอบข้อกล่าวหาได้อย่างชัดแจ้ง แต่คะแนนในสภาที่สนับสนุนรัฐบาลกลับมากขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่มีวี่แววจะมีใครหลุดออกจาก ครม. นี่เป็นผลมาจากการซื้อบรรดา “งูเห่า” หลังยุบพรรคอนาคตใหม่ ซึ่งหากเป็นการเมืองปกติ จะมีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ระดับเล็ก เช่น การปรับ ครม. นายกรัฐมนตรีลาออกเพื่อตั้งรัฐบาลใหม่ หรือการยุบสภาคืนอำนาจให้ประชาชน เกษียร เตชะพีระ เรียกสภาวะแบบนี้ว่า รัฐไทยกำลังล้มเหลว แต่รัฐบาลมั่นคง (a failing state with a stable government) ซึ่งหมายความว่าภายใต้ความมั่นคงนั้นต้องมีอำนาจพิเศษที่หนุนหลังอยู่ ทั้งที่เห็นด้วยตาเปล่า เช่น วุฒิสภา?250 คนที่ตั้งมากับมือ และอำนาจพิเศษที่ค้ำจุนรัฐบาลอยู่

แต่ผู้คนจะยอมจำนนตลอดไปหรือไม่ ปรากฏการณ์เยาวชนเขย่าโลก (Youthquake) ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ก่อนหน้านี้ใครคิดบ้างว่าจะปรากฏขึ้นในประเทศไทย ทว่าภายหลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินยุบพรรคอนาคตใหม่เมื่อวันที่?21?กุมภาพันธ์?2563 ก็เกิดกลุ่มคนหน้าใหม่ที่ลุกขึ้นมาแสดงออกทางการเมืองในลักษณะใหม่ๆ จากที่เคยอยู่ในโลกออนไลน์ เช่น เฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ ก็ออกมาแสดงตนในโลกออฟไลน์ โดยที่พลังในการต่อต้านการรัฐประหารตลอดสิบปีที่ผ่านมาก็มิได้ลดน้อยถอยลง

ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ก่อน?2475?ที่อำนาจรวมศูนย์อยู่ที่พระมหากษัตริย์ เมื่อเกิดทวิวิกฤตคือ วิกฤตความชอบธรรมและวิกฤตประสิทธิภาพขึ้นพร้อมกันแล้วไม่สามารถปรับตัวได้ จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่ ตรงกันข้ามกับระบอบประชาธิปไตยที่ออกแบบมาให้มีทางออกเพื่อไม่ให้ระบอบถึงทางตัน

คำถามคือตอนนี้สังคมไทยซึ่งกำลังเผชิญกับทวิวิกฤตอยู่ภายใต้ระบอบใดกันแน่ แล้วหากรัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ตามคำของประยุทธ์ จันทร์โอชา เอง) ไม่สามารถตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของประชาชนได้ จะเกิดอะไรขึ้น

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
loading