รายละเอียด : แลหลังคำเขมร-ไทย
แลหลังคำเขมร-ไทย
ภาษาไทยมาจากไหน? บางคนก็ว่าไม่ได้มาจากไหน คงเป็นเรื่องยาก ถ้าจะตอบให้ชัดว่าภาษาไทยมีที่มาอย่างไร? แต่ที่แน่ๆ รศ.ดร.ศานติ ภักดีคำ มีบางส่วนของคำตอบอยู่ในหนังสือเล่มนี้ "แลหลังคำเขมร-ไทย" รวบรวมบทความต่างกรรมต่างวาระที่มีจุดร่วมเดียวกัน คือมุ่งอธิบายคำศัพท์ในภาษาไทยที่เราใช้กันจนชิน ใช้กันจนเชื่อว่าเป็นคำไทยแท้ๆ ทั้งที่ความจริงแล้วไม่ใช่ เพราะแท้จริงแล้วภาษาไทยเกิดจากการผสมผสานจากหลายๆ ภาษา โดยมีภาษาเขมรโบราณเป็นหนึ่งในนั้น
บ้านเมืองในดินแดนประเทศไทยบางช่วงบางสมัยเคยอยู่ใต้อิทธิพลของเขมรโบราณ จึงรับเอาภาษาและวัฒนธรรมของเขมรโบราณมาใช้ด้วย นานวันเข้าก็ซึมซับ ผสมผสาน จนแยกไม่ออก ลืมที่มาร และเชื่อกันไปว่าอะไรๆ ที่เป็นไทยเกิดขึ้นได้ด้วยตัวมันเอง
สารบัญ : แลหลังคำเขมร-ไทย
- ภาคที่ ๑ เหตุใดไทยจึงยืมภาษาเขมร : อิทธิพลภาษาเขมรในไทย
- เขมรโบราณในประเทศไทย : ที่มาของการใช้ภาษาเขมรโบราณในดินแดนไทย
- ความสัมพันธ์เขมรโบราณกับสุโขทัยและอยุธยา : ที่มาของคำยืมภาษาเขมรในภาษาไทย
- ภาคที่ ๒ คลำหาคำ : สืบที่มาคำไทยในภาษาเขมรโบราณ
- "เขมร" และ "ขอม" จากภาาเขมรโบราณ สู่การรับรู้ของไทย
- พระนามกษัตริย์เขมรโบราณในพระนามกษัตริย์ไทย
- จากยศตำแหน่งเขมรโบราณสู่ยศตำแหน่งขุนนางไทย
- ศัพท์ศาสนาที่มาจากภาษาเขมรโบราณ
ข้อมูลเพิ่มเติม : แลหลังคำเขมร-ไทย
- สำนักพิมพ์ : มติชน
- บาร์โค้ด : 9789740216872
- จำนวนหน้า : 364
- ขนาด : 12.7 x 18.4 x 2 CM
- น้ำหนัก : 0.302 KG
- หมวดหมู่ : หนังสือบทความ สารคดี ประวัติศาสตร์