การบริหารความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ผู้เขียน: จินตวีร์ เกษมศุข

สำนักพิมพ์: ศูนย์หนังสือจุฬา/chula

หมวดหมู่: บริหาร ธุรกิจ , การบริหารธุรกิจ

0 รีวิว เขียนรีวิว

142.50 บาท

150.00 บาท ประหยัด 7.50 บาท (5.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 15 แต้ม

อธิบายหลักการและแนวคิดในการวิเคราะห์กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และกลยุทธ์การบริหารความสัมพันธ์ที่นิยมนำมาใช้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ < แสดงน้อยลง อธิบายหลักการและแนวคิดในการวิเคราะห์กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และกลยุทธ์การบริหารความสัมพันธ์ที่นิยมนำมาใช้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ

142.50 บาท

150.00 บาท
150.00 บาท
ประหยัด 7.50 บาท (5.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 15 แต้ม

จำนวน :

1

จำนวนหน้า
125 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
14.6 x 20.9 x 0.5 CM
น้ำหนัก
0.167 KG
บาร์โค้ด
9789740338079

รายละเอียด : การบริหารความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

การบริหารความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

หนังสือเรื่อง "การบริหารความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder Relationship Management)" เล่มนี้ เป็นผลผลิตที่มีจุดเริ่มต้นมาจากภาระงานสอนในรายวิชาการบริหารความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสีย อันเป็นรายวิชาหนึ่งในหลักสูตรของคณะนิเทศศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ มีวัตถุประสงค์เพื่อสะท้อนให้เห็นเนื้อหาเกี่ยวกับกลยุทธ์การบริหารความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้เรียนหรือแม้แต่ผู้สนใจทั่วไป อาทิ ผู้ประกอบกิจการธุรกิจ ก็สามารถใช้เป็นข้อมูลสำคัญในการประยุกต์ใช้กับธุรกิจด้วยตนเองได้

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) นั้นนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินงานขององค์กร ความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะเป็นข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการกำหนดกลยุทธ์ ทิศทาง แผนการดำเนินงาน และแนวทางในการพัฒนาองค์กรได้ ดังนั้น องค์กรทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจจึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กรคือคนกลุ่มใด มีลักษณะเฉพาะอย่างไร มีความเกี่ยวโยงกับองค์กรในประเด็นใดบ้าง กล่าวได้ว่า องค์กรต้องทราบความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรเองและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งในประเด็นที่เกี่ยวโยงระหว่างกันทั้งด้านบวกและลบ เพื่อนำไปใช้และปรับปรุงระบบการบริหารจัดการ อันจะนำไปสู่ความร่วมมือและการสร้างคุณค่าร่วมกันระหว่างธุรกิจขององค์กรกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

หนังสือเล่มนี้ได้อธิบายถึงหลักการและแนวคิดในการวิเคราะห์กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และกลยุทธ์การบริหารความสัมพันธ์ที่นิยมนำมาใช้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ เช่น การบริหารความสัมพันธ์กับสังคม มักใช้กลยุทธ์การแสดงความรับผิดชอบขององค์กรต่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR) การบริหารความสัมพันธ์กับชุมชน ก็จะใช้กลยุทธ์ที่เรียกว่าชุมชนสัมพันธ์ (Community Relations) การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า ก็จะใช้กลยุทธ์ที่เรียกว่า ลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relations) เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีกลยุทธ์อื่นๆ ที่ใช้ในการบริหารความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มอื่นๆ ขององค์กรด้วย ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดความผูกพันของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder Engagement)

รองศาสตราจารย์ ดร.จินตวีร์ เกษมศุข


สารบัญ : การบริหารความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

    • การบริหารความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder Relationship Management)
    • หลักการและแนวคิดของการบริหารความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Principles and Concept of Stakeholders Relationship Management)
    • การบริหารความสัมพันธ์กับสังคม : ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (Corporate Social Responsibility: CSR)
    • การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า (Customer Relationship Management: CRM)
    • การบริหารความสัมพันธ์กับพนักงาน (Employee Relationship Management)
    • การบริหารความสัมพันธ์กับชุมชน (Community Relationship Management)
    • การบริหารความสัมพันธ์กับองค์กรภาครัฐ (Government Relationship Management)
    • การบริหารความสัมพันธ์กับสื่อมวลชน (Media Relationship Management)

เนื้อหาปกหลัง : การบริหารความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) มีความสําคัญยิ่งต่อการดําเนินงานขององค์กร ความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นข้อมูลสําคัญที่ใช้ในการกําหนดกลยุทธ์ ทิศทาง แผนการดําเนินงาน และแนวทางในการพัฒนาองค์กรได้ องค์กรทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจจึงจําเป็นต้องทําความเข้าใจว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กรคือคนกลุ่มใด มีลักษณะเฉพาะอย่างไร มีความเกี่ยวโยงกับองค์กรในประเด็นใดบ้างทั้งด้านบวกและลบ เพื่อนําไปใช้และพัฒนาระบบการบริหารจัดการ อันจะนําไปสู่การสร้างคุณค่าร่วมกันระหว่างองค์กรกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และก่อให้เกิดความผูกพันของกลุ่ม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder Engagement) ได้อย่างยั่งยืน

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
loading