โครงสร้างทฤษฎีแนวคิดสังคมนิยมอัตลักษณ์จีน

ผู้เขียน: สวีกุ้ยเชียง

สำนักพิมพ์: สำนักพิมพ์แสงดาว/saengdao

หมวดหมู่: หนังสือบทความ สารคดี , ประวัติศาสตร์

0 รีวิว เขียนรีวิว

437.00 บาท

460.00 บาท ประหยัด 23.00 บาท (5.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 51 แต้ม

หนังสือเล่มนี้จะพาผู้อ่านย้อนลึกลงไปถึงทฤษฎีตั้งต้นและสืบค้นหนทางการพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นลัทธิมาร์กซ์-เลนิน การก่อกำเนิดพรรคคอมมิวนิสต์จีน < แสดงน้อยลง หนังสือเล่มนี้จะพาผู้อ่านย้อนลึกลงไปถึงทฤษฎีตั้งต้นและสืบค้นหนทางการพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นลัทธิมาร์กซ์-เลนิน การก่อกำเนิดพรรคคอมมิวนิสต์จีน

437.00 บาท

460.00 บาท
460.00 บาท
ประหยัด 23.00 บาท (5.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 51 แต้ม

จำนวน :

1

จำนวนหน้า
408 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
23.9 x 16.3 x 2.1 CM
น้ำหนัก
0.547 KG
บาร์โค้ด
9786163883308

รายละเอียด : โครงสร้างทฤษฎีแนวคิดสังคมนิยมอัตลักษณ์จีน

โครงสร้างทฤษฎีแนวคิดสังคมนิยมอัตลักษณ์จีน

หนังสือ "โครงสร้างทฤษฎีแนวคิดสังคมนิยมอัตลักษณ์จีน" เล่มนี้จะพาผู้อ่านย้อนลึกลงไปถึงทฤษฎีตั้งต้นและสืบค้นหนทางการพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นลัทธิมาร์กซ์-เลนิน การก่อกำเนิดพรรคคอมมิวนิสต์จีน การสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน การปฏิรูปและเปิดประเทศ รวมไปถึงแนวความคิดของผู้นำทั้ง ๕ รุ่น อันได้แก่ "ความคิดเหมาเจ๋อตง", "ทฤษฎีเติ้งเสี่ยวผิง", "ความคิดสามตัวแทน" (เจียงเจ๋อหมิน), "แนวคิดการพัฒนาอย่างเป็นวิทยาศาสตร์" (หูจิ่นเทา) และ "ความคิดของสีจิ้นผิงว่าด้วยสังคมนิยมอัตลักษณ์จีนสำหรับยุคใหม่"

การสืบสาน ส่งต่อ และต่อเติมแนวทางและทฤษฎีต่างๆ เหล่านี้หล่อหลอมให้จีนทะยานรุดหน้าไปอย่างแข็งแกร่งในทุกๆ ด้าน จนส่งผลกระทบไม่เฉพาะแต่ในประเทศจีนเท่านั้น หากแต่สั่นสะเทือนไปทั่วโลก ซึ่งไทยที่เป็นบ้านใกล้เรือนเคียงย่อมรับรู้ได้ดีอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง

สำนักพิมพ์แสงดาว


สารบัญ : โครงสร้างทฤษฎีแนวคิดสังคมนิยมอัตลักษณ์จีน

    • บทที่ ๑ ต้นกำเนิดทางประวัติศาสตร์ความคิดด้านโครงสร้างทฤษฎีแนวคิดสังคมนิยมอัตลักษณ์จีน
    • บทที่ ๒ การสร้างและการพัฒนาของระบบโครงสร้างทฤษฎีแนวคิดสังคมนิยมอัตลักษณ์จีน
    • บทที่ ๓ ทฤษฎีขั้นตอนหลักของลัทธิสังคมนิยมอัตลักษณ์จีน
    • บทที่ ๔ ทฤษฎีการปฏิรูปและเปิดประเทศในระบอบสังคมนิยมอัตลักษณ์จีน
    • บทที่ ๕ ทฤษฎีระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมอัตลักษณ์จีน
    • บทที่ ๖ ทฤษฎีการเมืองประชาธิปไตยลัทธิสังคมนิยมอัตลักษณ์ของจีน
    • บทที่ ๗ ทฤษฎีการสร้างวัฒนธรรมของสังคมนิยมอัตลักษณ์จีน
    • บทที่ ๘ ทฤษฎีการสร้างระบอบสังคมนิยมอัตลักษณ์จีน
    • บทที่ ๙ ทฤษฎีการสร้างระบอบสังคมนิยมอัตลักษณ์จีน

เนื้อหาปกหลัง : โครงสร้างทฤษฎีแนวคิดสังคมนิยมอัตลักษณ์จีน

เลนินเคยกล่าวไว้ว่า หากไม่มีทฤษฎีการปฏิวัติ ย่อมไม่มีความเคลื่อนไหวเพื่อปฏิวัติขึ้นได้ หากไม่มีทฤษฎี พรรค “จักสูญเสียสิทธิในการอยู่รอด และจักต้องประสบกับความล้มละลายทางการเมืองอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ในไม่ช้า”

สหายเหมาเจ๋อตงเคยกล่าวอย่างหนักแน่นไว้ว่า หากไม่มีทฤษฎีการปฏิวัติ ไม่มีความรู้ทางประวัติศาสตร์ ไม่มีความเข้าใจเรื่องการเคลื่อนไหวอย่างแท้จริง หากต้องการได้รับชัยชนะ นั้นคงเป็นไปไม่ได้ สหายเหมายังเคยตั้งสมญาอย่างเป็นรูปธรรมให้กับทฤษฎีวิทยาศาสตร์ลัทธิมาร์กซิสม์ไว้ว่าเป็นกล้องส่องทางไกลและกล้องจุลทรรศน์

กล้องส่องทางไกลมีหน้าที่ช่วยให้มองเห็นไกลๆ มองการณ์ไกล กล้องจุลทรรศน์มีหน้าที่ช่วยสังเกตสิ่งที่เล็กๆ วิเคราะห์อย่างละเอียด สิ่งเหล่านี้ได้นําเสนอหลักฐานอันเป็นวิทยาศาสตร์เพื่อให้เราเข้าใจแก่นสารของโลก เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างคนกับโลก

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
loading