นี่คือปณิธานที่หาญมุ่ง

ผู้เขียน: สมชาย ปรีชาศิลปกุล

สำนักพิมพ์: ฟ้าเดียวกัน/sameskybook

หมวดหมู่: หนังสือบทความ สารคดี , หนังสือสารคดี

0 รีวิว เขียนรีวิว

360.00 บาท

400.00 บาท ประหยัด 40.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 14 แต้ม

ข้อถกเถียงว่าด้วยสถาบันพระมหากษัตริย์ในองค์กรจัดทำรัฐธรรมนูญของไทย ตั้งแต่ พ.ศ.2475-2550 < แสดงน้อยลง ข้อถกเถียงว่าด้วยสถาบันพระมหากษัตริย์ในองค์กรจัดทำรัฐธรรมนูญของไทย ตั้งแต่ พ.ศ.2475-2550
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com World Book Day ลด 10%*

360.00 บาท

400.00 บาท
400.00 บาท
ประหยัด 40.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 14 แต้ม

จำนวน :

1

  • โปรโมชั่นพิเศษ:
    • Naiin.com World Book Day ช้อปครบ 3 เล่ม ลด 15%*
จำนวนหน้า
384 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
16.5 x 23.9 x 2.3 CM
น้ำหนัก
0.605 KG
บาร์โค้ด
9786167667737

รายละเอียด : นี่คือปณิธานที่หาญมุ่ง

นี่คือปณิธานที่หาญมุ่ง

นับตั้งแต่การปฏิวัติสยาม 2475 มาจนถึงปัจจุบัน (2561) ผ่านมา 86 ปี เรามีรัฐธรรมนูญแล้ว 20 ฉบับ ซึ่งมีการกำหนดบทบาทและสถานะของสถาบันกษัตริย์ในฐานะสถาบันการเมืองตามรัฐธรรมนูญที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับบริบทการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมในช่วงนั้นๆ ไม่ต่างจากรัฐสภา ครม. รูปแบบการเลือกตั้ง ฯลฯ

อย่างที่ทราบคือรัฐบาลคณะราษฎรนั้นสิ้นสุดลงเมื่อมีปฏิบัติการ “คว่ำปฏิวัติ–โค่นคณะราษฎร” โดยการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 แล้วแทนที่ด้วยรัฐธรรมนูญ 2490 หลังจากนั้น เราจึงได้เห็นความเปลี่ยนแปลงต่างๆ เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์มากมายในทางที่จะเพิ่ม/ขยายอำนาจของสถาบันกษัตริย์ดังปรากฏในรัฐธรรมนูญฉบับต่างๆ เริ่มจากการตีความอำนาจอธิปไตยใหม่, สถานะอันล่วงละเมิดมิได้, พระราชอำนาจในการยับยั้งกฎหมาย, การสืบราชสมบัติ ตลอดจนประดิษฐกรรมใหม่ๆ ที่ไม่เคยเจอตลอด 15 ปีแรกหลังปฏิวัติสยาม เช่น อภิรัฐมนตรี (ซึ่งต่อมาได้ปรับโฉมเป็นคณะองคมนตรี) เป็นต้น

นี่คือปณิธานที่หาญมุ่ง : ข้อถกเถียงว่าด้วยสถาบันพระมหากษัตริย์ในองค์กรจัดทำรัฐธรรมนูญของไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2475-2550 ผลงานของสมชาย ปรีชาศิลปกุล ซึ่งเป็นหนังสือเล่มที่ 3 ของชุดกษัตริย์ศึกษา สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน ไม่เพียงแต่เข้าไป “อ่าน” รายงานการประชุมสภา/กรรมาธิการ เพื่อให้เห็นการอภิปรายและไม่อภิปรายเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับต่างๆ ตลอดเวลา 75 ปี (2475-2550) สมชายยังชี้ให้เห็นถึงการต่อสู้ทางการเมืองที่ต่อเนื่องมาจากตั้งแต่การปฏิวัติสยาม 24 มิถุนายน 2475 มาจนถึงปัจจุบัน และถึงแม้ว่าการศึกษาของหนังสือเล่มนี้จะจบที่รัฐธรรมนูญ 2550 แต่โดยทิศทางแล้วก็จะเห็นว่าไม่แปลกที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ที่ประกอบพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญและประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 จะมีเนื้อหาออกมาดังที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน

สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน


สารบัญ : นี่คือปณิธานที่หาญมุ่ง

    • บทที่ 1 บทเริ่มต้น
    • บทที่ 2 อำนาจอธิปไตยนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย
    • บทที่ 3 อันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้
    • บทที่ 4 พระราชอำนาจวีโต้ร่างกฎหมาย
    • บทที่ 5 การสืบราชสมบัติภายใต้ระบอบประชาธิปไตย
    • บทที่ 6 จากองคมนตรีสู่สภาที่ปรึกษาในพระองค์จำแลง
    • บทที่ 7 ในฐานะประมุขแห่งกองทัพ
    • บทที่ 8 การประกอบสร้างระบอบ "อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข"

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
loading