s

ประชาธิปไตยและกระแสอนุรักษนิยมในเอเชียตะวันออก

ผู้เขียน: ไชยวัฒน์ ค้ำชู

สำนักพิมพ์: ศูนย์หนังสือจุฬา/chula

หมวดหมู่: หนังสือบทความ สารคดี , หนังสือสารคดี

0 รีวิว เขียนรีวิว

212.50 บาท

250.00 บาท ประหยัด 37.50 บาท (15.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 8 แต้ม

หนังสือเล่มนี้มุ่งที่จะสร้างความเข้าใจที่มากขึ้นต่อคุณลักษณะของอุดมการณ์อนุรักษนิยมในเอเชียตะวันออก < แสดงน้อยลง หนังสือเล่มนี้มุ่งที่จะสร้างความเข้าใจที่มากขึ้นต่อคุณลักษณะของอุดมการณ์อนุรักษนิยมในเอเชียตะวันออก
  • ส่วนลด:
    ลด 15%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com Top Up Mid-Month Sale! ลด 15%

212.50 บาท

250.00 บาท
250.00 บาท
ประหยัด 37.50 บาท (15.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 8 แต้ม

จำนวน :

1

จำนวนหน้า
388 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
20.9 x 14.5 x 1.8 CM
น้ำหนัก
0.454 KG
บาร์โค้ด
9789740337829

รายละเอียด : ประชาธิปไตยและกระแสอนุรักษนิยมในเอเชียตะวันออก

ประชาธิปไตยและกระแสอนุรักษนิยมในเอเชียตะวันออก

หนังสือเล่มนี้มุ่งที่จะสร้างความเข้าใจที่มากขึ้นต่อคุณลักษณะของอุดมการณ์อนุรักษนิยมในเอเชียตะวันออก และยังมุ่งหวังที่จะทําความเข้าใจในผลกระทบจากการขึ้นสู่อํานาจของฝ่ายอนุรักษนิยม ที่มีต่อความมั่นคงและยั่งยืนในภาพรวมของระบอบประชาธิปไตย โดยขยายขอบเขตของการศึกษาปรากฏการณ์ดังกล่าวผ่านมุมมองทางปรัชญาการเมือง ทฤษฎีการเมือง อุดมการณ์ทางการเมือง การเมืองเปรียบเทียบ ประชาธิปไตยเปรียบเทียบ เอเชียตะวันออกศึกษา จนไปถึงญี่ปุ่นศึกษาและเกาหลีศึกษา ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อนิสิต นักศึกษาในทุกระดับ อาจารย์ นักวิจัย ข้าราชการ และนักปฏิบัติ รวมไปถึงผู้ที่สนใจในเหตุการณ์ร่วมสมัย

 


คำนำ : ประชาธิปไตยและกระแสอนุรักษนิยมในเอเชียตะวันออก

ในการศึกษากระแสอนุรักษนิยมและประชาธิปไตยในเอเชียตะวันออก งานชิ้นนี้จะผสมผสานหลากหลายแง่มุมเข้าไว้ด้วยกัน ตั้งแต่การหันกลับไปตั้งคําถามต่อปรากฏการณ์ดังกล่าวในเชิงปรัชญา การเมืองและทฤษฎีทางการเมือง ผ่านนักคิดที่สําคัญสองคนนั่นคือ นิโคโล มาคิอาเวลลี (Nicolo Machiavelli) และอันโตนิโอ กรัมชี่ (Antonio Gramsci) การหวนย้อนพินิจในเชิงการเมืองเปรียบเทียบถึงการศึกษาการเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยตั้งแต่อดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน จนถึงการศึกษาผ่านกรณีศึกษาแบบเจาะลึกในสองประเทศสําคัญในเอเชียตะวันออกนั่นคือ ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ในแง่มุมที่ แตกต่างกัน ตั้งแต่การย้อนไปศึกษาถึงเหตุการณ์ที่เป็น “จุดหันเห” ที่สําคัญ การศึกษาผ่านแง่มุมขบวนการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล อนุรักษนิยมของภาคประชาชน ไปจนถึงการศึกษาผ่านการดําเนิน นโยบายสําคัญของรัฐบาลอนุรักษนิยม เป็นต้น

ด้วยความสําคัญของปรากฏการณ์นี้ ประกอบกับการประยุกต์ใช้แนวทางการศึกษาในลักษณะดังกล่าว งานชิ้นนี้มุ่งหวังที่จะขยายขอบเขตของการศึกษาและการแลกเปลี่ยนข้ามพรมแดนของหลากหลายสาขาวิชานับตั้งแต่ปรัชญาการเมือง ทฤษฎีทางการเมือง อุดมการณ์ทางการเมือง การเมืองเปรียบเทียบ ประชาธิปไตยเปรียบเทียบ เอเชียตะวันออกศึกษา จนไปถึงญี่ปุ่นศึกษา และเกาหลีศึกษา ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ทั้งต่อนิสิตนักศึกษาในทุกระดับอาจารย์ นักวิจัย ข้าราชการ และนักปฏิบัติ รวมไปถึงผู้ที่สนใจในเหตุการณ์ร่วมสมัย

ไชยวัฒน์ ค้ำชู และ นิธิ เนื่องจํานงค์ บรรณาธิการ


สารบัญ : ประชาธิปไตยและกระแสอนุรักษนิยมในเอเชียตะวันออก

    • ส่วนที่หนึ่ง บทนำ
      • ประชาธิปไตยและกระแสอนุรักษนิยมในเอเชียตะวันออก (ไชยวัฒน์ ค้ำชูและนิธิ เนื่องจำนงค์)
    • ส่วนที่สอง แนวคิดและทฤษฎี
      • เหลียวหลัง แลหน้ากระบวนการประชาธิปไตย (ไชยวัฒน์ ค้ำชูและนิธิ เนื่องจำนงค์)
      • ทบทวนปรากฏการณ์ขวาประชานิยมผ่านความคิดของนิโคโล มาคิอาเวลลี (กานต์ บุณยะกาญจน)
      • กรัมชี่กับแนวคิดการวิเคราะห์สถานการณ์ : ว่าด้วยกระบวนการวิกฤตและสภาวะแบบซีซาร์ (วัชรพล พุทธรักษา)
    • ส่วนที่สาม กรณีศึกษา
      • สองโคริยาประชาธิปไตย : พลวัตการเคลื่อนไหวของชุมนุมดวงเทียมจรัสแสง ค.ศ.2016-2017 (เสกสรร อานันทศิริเกียรติ)
      • กรณีอื้อฉาวชเว : บททดสอบสำคัญของประชาธิปไตยในเกาหลี (วิเชียร อินทะสี)
    • ฯลฯ

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
loading