ปรัชญาการศึกษาพระเจ้าอยู่หัว

ผู้เขียน: อุดมพร อมรธรรม

สำนักพิมพ์: สำนักพิมพ์แสงดาว/saengdao

หมวดหมู่: หนังสือบทความ สารคดี , หนังสือสารคดี

0 รีวิว เขียนรีวิว

90.00 บาท

100.00 บาท ประหยัด 10.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 3 แต้ม

เจตนาของการศึกษานั้น กล่าวโดยสรุปก็คือ การวางรากฐานที่ถูกต้องในตัวบุคคลทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และความรู้ทั้งปวง < แสดงน้อยลง เจตนาของการศึกษานั้น กล่าวโดยสรุปก็คือ การวางรากฐานที่ถูกต้องในตัวบุคคลทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และความรู้ทั้งปวง
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com World Book Day ลด 10%*

90.00 บาท

100.00 บาท
100.00 บาท
ประหยัด 10.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 3 แต้ม

จำนวน :

1

  • โปรโมชั่นพิเศษ:
    • Naiin.com World Book Day ช้อปครบ 3 เล่ม ลด 15%*
จำนวนหน้า
127 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
14.5 x 21 x 0.7 CM
น้ำหนัก
0.148 KG
บาร์โค้ด
9786163881595

รายละเอียด : ปรัชญาการศึกษาพระเจ้าอยู่หัว

ปรัชญาการศึกษาพระเจ้าอยู่หัว

พระบรมราโชวาท หรือพระราชดำรัสที่ได้พระราชทานแก่บุคคลต่าง ๆ ได้แสดงให้เห็นถึงพระราชวิสัยทัศน์ที่ลึกซึ้งกว้างไกลในทุก ๆ ด้านในทางการศึกษาก็เช่นกัน เล่มนี้จึงเหมาะสำหรับ

  • คณะรัฐบาล
  • ผู้บริหารการศึกษา
  • นักการศึกษา ครู อาจารย์
  • พระภิกษุ สามเณร แม่ชี
  • ผู้ปกครอง
  • ผู้มีอำนาจหน้าที่จัดการการศึกษา
  • นักวิชาการ
  • องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น
  • นักเรียน นักศึกษา
  • ผู้ใฝ่รู้ ใฝ่ความก้าวหน้า
  • ฯลฯ

 


คำนำ : ปรัชญาการศึกษาพระเจ้าอยู่หัว

มนุษย์เป็นสัตว์ที่พัฒนาได้ และต้องพัฒนา ถ้าไม่พัฒนา มนุษย์ก็เป็นสัตว์ประเสริฐไม่ได้ มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐได้ด้วยการพัฒนาเครื่องมือในการพัฒนามนุษย์นั่นคือ การศึกษา มนุษย์ผู้ได้รับการพัฒนาแล้ว จะเป็นผู้ทำลายเสียซึ่งสัญชาตญาณอย่างสัตว์ กลายเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยความเจริญใน ๔ ด้าน คือ

๑. ความเจริญทางกาย หมายถึง การรู้จักติดต่อเกี่ยวข้องกับสิ่งภายนอกด้วยดี มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมในเชิงสร้างสรรค์ปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นในทางที่เป็นคุณเป็นประโยชน์

๒. ความเจริญทางความประพฤติ หมายถึง ความเป็นผู้มีศีล มีระเบียบวินัย มีความประพฤติเรียบร้อยดีงาม ไม่เบียดเบียนหรือก่อความเดือดร้อนเสียหาย อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วยดี เกื้อกูลแก่กัน

๓. ความเจริญทางจิตใจ หมายถึง ความเป็นผู้มีจิตใจที่เข้มแข็งมั่นคง เจริญงอกงามด้วยคุณธรรมทั้งหลาย เช่น มีเมตตา กรุณา ขยันหมั่นเพียร อดทน อดกลั้น มีสมาธิ และสดชื่นเบิกบานเป็นสุขผ่อนใส เป็นอนันต์ เป็นจิตใจที่สมบูรณ์ด้วยสมรรถภาพ คุณภาพ และสุขภาพ

๔. ความเจริญทางปัญญา หมายถึง ความเป็นผู้มีปัญญามีความรอบรู้ คิดเป็นทำเป็น เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง รู้เท่าทันเห็นแจ้งโลกและชีวิตตามสภาวะ สามารถทำจิตใจให้เป็นอิสระ พ้นไปจากทุกข์และสิ่งเศร้าหมองใจ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ด้วยปัญญา

ผู้ที่มีความเจริญครบทั้ง ๔ ด้านนี้ คือ เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ที่สุด แต่เดี๋ยวนี้ การศึกษาของชาติและของโลกเป็นไปอย่างไรเพราะยิ่งเรียนคนก็ยิ่งกลายเป็นสัตว์มากขึ้น ๆ ยิ่งขยายการศึกษา ปัญหายิ่งเพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ นี่เป็นเพราะอะไร ?

เพราะการศึกษายังไม่พัฒนาใช่หรือไม่ เพราะการศึกษาพัฒนาไปทางผิดใช่หรือไม่ ? ถ้าจะต้องพัฒนาการศึกษา หรือจะทำให้การศึกษาไม่พัฒนาไปทางผิด ต้องคิดทบทวนกันเสียใหม่ ลองศึกษา "ปรัชญาการศึกษาของพระเจ้าอยู่หัว" ดูให้ลึกซึ้ง แล้วจะรู้ว่า ควรจะจัดการศึกษา ให้การศึกษาอย่างไร สอนอย่างไร และเรียนอย่างไรจึงจะถูกต้อง

ด้วยความจงรักภักดี

อุดมพร อมรธรรม


สารบัญ : ปรัชญาการศึกษาพระเจ้าอยู่หัว

    • หลักการศึกษา
    • วัตถุประสงค์ของการศึกษา
    • การจัดการศึกษา
    • การศึกษาในระบบ
    • การศึกษานอกระบบ
    • คุณธรรมค้ำจุนการศึกษา
    • เด็ก เยาวชน นักเรียน นักศึกษา
    • บัณฑิตเป็นผู้มีชีวิตอยู่ด้วยปัญญา
    • การศึกษากับการทำงาน
    • ครู บุคคลผู้ยิ่งใหญ่ของโลก
    • หน้าที่และความรับผิดชอบต่อประเทศชาติ
    • หนังสือคือเครื่องมือพัฒนาคน

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
loading