เครื่องสายปี่ชวา

ผู้เขียน: ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน

สำนักพิมพ์: ศูนย์หนังสือจุฬา/chula

หมวดหมู่: งานอดิเรก งานฝีมือ , ศิลปะ

0 รีวิว เขียนรีวิว

261.00 บาท

290.00 บาท ประหยัด 29.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 10 แต้ม

วงเครื่องสายปี่ชวา เป็นศิลปะการบรรเลงดนตรีไทยขั้นสูง < แสดงน้อยลง วงเครื่องสายปี่ชวา เป็นศิลปะการบรรเลงดนตรีไทยขั้นสูง
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com MayDay PayDeal หนังสือลด 10%*

Tags: วงเครื่องสายผสม , เครื่องสาย , ปี่ชวา , ดนตรีไทย , เพลงไทยเดิม , วงปีชวา

261.00 บาท

290.00 บาท
290.00 บาท
ประหยัด 29.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 10 แต้ม

จำนวน :

1

จำนวนหน้า
0 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
18.4 x 25.6 x 1.1 CM
น้ำหนัก
0.342 KG
บาร์โค้ด
9789740335238

รายละเอียด : เครื่องสายปี่ชวา

เครื่องสายปี่ชวา

เครื่องสายปี่ชวา เป็นการผสมวงดนตรีไทยระหว่างวงเครื่องสายไทยกับวงปี่ชวากลองแขกโดยการนำเครื่องดนตรีของทั้งสองวงมาสร้างในวงดนตรีไทยขึ้นใหม่ ด้วยความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงในเรื่องระบบเสียง เครื่องดนตรี บทเพลง รวมถึงหน้าที่โดยปกติของวงแต่ละประเภท เมื่อมีการนำทั้งสองวงมาผสมเป็นวงเดียวกัน ทำให้เกิดมิติทางดนตรีไทยที่ลึกซึ้ง กว้างขวาง แฝงไปด้วยความซับซ้อนในการที่จะนำอัตลักษณ์ของวงดนตรีทั้งสองมาบูรณาการให้เกิดวงดนตรีแบบใหม่อย่างกลมกลืน สร้างความวิจิตรทั้งด้านศาสตร์และศิลป์ให้ปรากฏ ปรากฏการณ์ใหม่ประกอบด้วย การตั้งระบบเสียงใหม่ ทางที่ใช้ในการบรรเลง บทบาทหน้าที่ของแต่ละเครื่องดนตรี บทเพลง ระเบียบวิธีการบรรเลง ความถึงพร้อมของนักดนตรีที่จะบรรเลง ตลอดจนโอกาสที่ใช้ในการบรรเลง ด้วยเหตุนี้ทำให้เกิดอุปสรรคสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาค้นคว้าอยู่ตามสมควร หนังสือเล่มนี้จะเป็นแนวทางเบื้องต้นในการศึกษาบริบทที่เกี่ยวข้อทั้งหมด ตลอดจนการนำวงเครื่องปี่ชวาไปบรรเลงได้อย่างถูกต้องตามขนบ


คำนำ : เครื่องสายปี่ชวา

วงเครื่องสายปี่ชวา เป็นศิลปะการบรรเลงดนตรีไทยขั้นสูง ที่ผู้บรรเลงจะต้องมีฝีมือ ปฏิภาณไหวพริบ ประสบการณ์ และความรู้ความเข้าใจในระเบียบวิธีการบรรเลงวงเครื่องสายและวงปี่ชวากลองแขกเป็นอย่างดี ดังที่ผู้เขียนได้เคยมีประสบการณ์ในการรับชมการบรรเลง และร่วมบรรเลงในวงเครื่องสายปี่ชวาร่วมกับศิลปินแห่งชาติและศิลปินชั้นครู เช่น หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยชีวิน) ครูมนตรี ตราโมท ครูเทียบ คงลายทอง ครูประเวช กุมุท ครูละเมียด จิตตเสวี (นางสนิทบรรเลงการ) ครูทอง สุจริตกุล ครูท้วม ประสิทธิกุล ครูอุษา (ทับ) สุคันธมาลัย ครูแจ้ง คล้ายสีทอง ครูพริ้ง ดนตรีรส ครูพริ้ง  กาญจนะผลิน

การเขียนหนังสือ "เครื่องสายปี่ชวา” ขึ้นในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการถ่ายทอดความรู้และภูมิปัญญาที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ตรง ร่วมกับการค้นคว้าตามระเบียบวิธีวิทยาการวิจัย เรียบเรียงขึ้นเป็นเอกสารหลักฐานให้มีความสมบูรณ์ถูกต้อง และสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอยตามหลักสูตรการศึกษาสาขาวิชาดุริยางค์ไทยและดนตรีศึกษาในสถาบันระดับอุดมศึกษาได้

ขอขอบคุณในความกรุณาของศิลปินแห่งชาติ ครูอาจารย์ และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกท่านที่ให้ความกรุณาเอื้อเฟื้อแก่ผู้เขียน ได้ร่วมกันถ่ายทอดประสบการณ์ พร้อมทั้งสละเวลาอันมีค่าในการให้ข้อมูลด้านต่าง ๆ ทั้งการสัมภาษณ์ รูปภาพ เสียง เอกสารหลักฐาน รวมถึงถ่ายทอดเพลงตามระเบียบวิธีการบรรเลงเพลงเครื่องสายปี่ชวา อันมีค่าและสมควรแก่การพิมพ์เผยแพรให้เป็นสมบัติของชาติ เพื่อตกทอดเป็นมรดกแก่อนุชนรุ่นหลังสืบต่อไป

รองศาสตราจารย์ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน

ศาสตราภิชานประจำภาควิชาดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


สารบัญ : เครื่องสายปี่ชวา

    • สารัตถะวงเครื่องสายปี่ชวา
    • หลักการผสมวงเครื่องสายปี่ชวา
    • ระเบียบวิธีการบรรเลงวงเครื่องสายปี่ชวา
    • กรณีศึกษา : การแปรทำนองของจะเข้สำหรับวงเครื่องสายปี่ชวา

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
loading