ยุคมืดในประวัติศาสตร์ไทย

ผู้เขียน: พิพัฒน์ กระแจะจันทร์

สำนักพิมพ์: มติชน/matichon

หมวดหมู่: หนังสือบทความ สารคดี , ประวัติศาสตร์

0 (0) เขียนรีวิว

252.00 บาท

280.00 บาท ประหยัด 28.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 10 คะแนน

หลังบายน พุทธเถรวาท การเข้ามาของคนไท < แสดงน้อยลง หลังบายน พุทธเถรวาท การเข้ามาของคนไท
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com September Peak Sale หนังสือลดเลย 10%

Tags: ประวัติศาสตร์ไทย , ประเทศไทย , ยุคมืด , โบราณคดี

252.00 บาท

280.00 บาท
280.00 บาท
ประหยัด 28.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 10 คะแนน

จำนวน :

1

จำนวนหน้า
0 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
14.3 x 18.5 x 1.3 CM
น้ำหนัก
0.409 KG
บาร์โค้ด
9789740214946

รายละเอียด : ยุคมืดในประวัติศาสตร์ไทย

ยุคมืดในประวัติศาสตร์ไทย

เป็นเวลานานกว่าศตวรรษที่นักประวัติศาสตร์โบราณคดีพยายามค้นคว้าว่าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อทางประวัติศาสตร์ของไทยและอุษาคเนย์ในช่วงเวลาราว พ.ศ.๑๗๖๐-๑๙๐๐ ซึ่งนับเป็นช่วงเวลาอันสำคัญ ทั้งนี้เพราะเกิดปรากฎการณ์ที่น่าสนใจด้วยกัน ๓ ประการ ได้แก่

ประการแรก มีการก่อตั้งรัฐของกลุ่มคนที่พูดภาษาตระกูลไทในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา โขง และสาละวิน รวมถึงบางส่วนในเขตคาบสมุทรไทย (มลายู)

ประการที่สอง รัฐทั้งหลายทั้งของกลุ่มคนในโลกภาษาไท เขมร พม่า และมอญ ต่างนับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทสายลังกาวงศ์ ทำให้กลุ่มคนเหล่านั้นเชื่อมโยงตนเองเข้ากับโลกที่เป็นสากล และเกิดเครือข่ายทางวัฒนธรรมที่กว้างขวาง ที่สำคัญคือทำให้เกิดอัตลักษณ์ร่วมกัน

ประการสุดท้าย รัฐทั้งหลายต่างกระตือรือร้นเป็นพิเศษในการค้าสำเภาในระบบบรรณาการกับจีน และรวมถึงการค้ากับอินเดียและอาหรับ

ถึงแม้ว่าปรากฎการณ์ข้างต้นจะสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนพอควร แต่เราควรตั้งคำถามประเภท "ทำไม" เพื่อแสวงหาคำตอบ คำถามสำคัญที่หนังสือเล่มนี้พยายามค้นหา ได้แก่ ทำไมวัฒนธรรมเขมร ไม่ว่าจะเป็นภาษา ประเพณี และศิลปกรรม จึงมีความสัมพันธ์กับรัฐแรกเริ่มของกลุ่มคนไท ทำไมกลุ่มคนไทจึงเลือกรับนับถือพระพุทธศาสนาจากลังกา ก่อนหน้าการก่อตั้งรัฐของกลุ่มคนไทได้แก่ อยุธยา สุโขทัย ล้านนานั้น ปัจจัยใดที่นำไปสู่การก่อกำเนิดรัฐ สุดท้ายทำไมรัฐต่างๆ จึงให้ความสำคัญกับการค้ากับจีนอย่างสูง

การตอบถามข้างต้นถือเป็นเรื่องท้าทายในการศึกษาทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีในห้วงเวลาดังกล่าวที่นักวิชาการบางท่านขนานนามว่า "ยุคมืด" หรือ "ช่องว่า" ของประวัตศาสตร์ไทย

 


สารบัญ : ยุคมืดในประวัติศาสตร์ไทย

    • ยุคมืด หรือช่องว่างในประวัติศาสตร์สยาม
    • ประวัติศาสตร์ไทยเป็นส่วนหนึ่งที่แยกไม่ได้ของประวัติศาสตร์สุวรรณภูมิในอาเซียน
    • ยุคมือของประวัติศาสตร์ไทย หลังบายน พุทธเถรวาท การเข้ามาของคนไท
    • หลักฐานเกี่ยวกับพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
    • ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วงหลังสิ้นรัชการพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗
    • ร่องรอยวัฒนธรรมโบราณ "หลังทวราวดี" บนลุ่มแม่น้ำกลอง-ท่าจีน ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๘
    • "พระเจ้าศรีนรวรมัน" ไม่ใช่ "พ่อขุนผาเมือง" ในศิลาจารึกเขมรโบราณของพระเจ้าศรีนทรวรมัน
    • สยามกับฝรั่งเศสและประวัติศาสตร์ (ยุคมืด) ของกัมพูชา
    • สมัย (ศิลปะ) อู่ทอง ผลัดเลือดขอม เปลี่ยนเป็นเลือดไทย

เนื้อหาปกหลัง : ยุคมืดในประวัติศาสตร์ไทย

ยุคมืดในประวัติศาสตร์ไทย

"...ยุคมืด" ไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของการขาดแคลนหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีเท่านั้น แต่ "ยุคมืด" ยังเป็นเรื่องปัญหาของการจัดทำโครงเรื่องของประวัติศาสตร์ชาติ จนเราอาจกล่าวได้ว่ายุคสมัยทางประวัติศาสตร์เป็นสิ่งประดิษฐ์อย่างหนึ่งของรัฐสมัยใหม่มากกว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ที่กำรงอยู่ในรัฐสมัยใหม่ที่กำเนิดตัวตนขึ้นเอง เพราะยุคสมัยทางประวัติศาสตร์เกิดขึ้นจากอำนาจในการเลือกและไม่เลือก มันจึงไม่ได้มีสถานะที่มีอยู่ตามธรรมชาติ

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%