ความหลงในสงสาร

ผู้เขียน: สุทัสสา อ่อนค้อม

สำนักพิมพ์: ธรรมสภา

หมวดหมู่: ธรรมะ ศาสนา และปรัชญา , ธรรมะ ศาสนา และปรัชญา

0 รีวิว เขียนรีวิว

252.00 บาท

280.00 บาท ประหยัด 28.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 10 แต้ม

การให้ธธรมชำนะการให้ทั้งปวง < แสดงน้อยลง การให้ธธรมชำนะการให้ทั้งปวง
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com MayDay PayDeal หนังสือลด 10%*

252.00 บาท

280.00 บาท
280.00 บาท
ประหยัด 28.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 10 แต้ม

จำนวน :

1

จำนวนหน้า
552 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
0 x 0 x 0 CM
น้ำหนัก
0 KG
บาร์โค้ด
9786164068698

รายละเอียด : ความหลงในสงสาร

ความหลงในสงสาร

เจ้าอาวาสวัดป่ามะม่วงรู้ว่าพระอรหันต์ทั้งสามองค์จะมาด้วยกายทิพย์ ท่านจำเป็นต้องเสวนากับอาคันตุกะด้วยกายเนื้อเพราะต้องการจดบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อเป็นหลักฐานในการค้นคว้าวิจัยของอนุชนรุ่นหลัง ทุกเรื่องทุกเหตุการณ์ที่ท่านประสบ ถูกบันทึกไว้อย่างละเอียดลออ คนที่เจริญกรรมฐานอย่างจริงจังเท่านั้นจึงจะเข้าใจและเชื่อว่าเป็นเรื่องจริง เพราะเขาสามารถพิสูจน์ได้ด้วยตัวของเขาเอง ส่วนคนที่ไม่เคยเจริญกรรมฐาน ไม่เคยฝึกจิตจะไม่เชื่อเลยว่ามนุษย์สามารถล่วงรู้และรับรู้สิ่งที่อยู่เหนือผัสสะได้ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๕ อันเป็นปีแรกที่ท่านเริ่มสอนกรรมฐาน มีเหตุการณ์ต่างๆเกิดขึ้นมากมาย และท่านก็ได้บันทึกไว้ เช่น เรื่องของโยมอ่อนที่เจริญกรรมฐานจนสามารถระลึกได้ว่า เคยรับจ้างฆ่าผู้ชายผู้หนึ่งด้วยการจ่อยิงที่ศรีษะ ชายผู้นั้นมาเกิดที่อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ท่านได้แนะนำให้แกไปขอขมาและขออโหสิกรรมจากชายผู้นั้น และร่วมเดินทางไปด้วย กระทั่งได้พิสูจน์แล้วว่ากรรมฐานมีประโยชน์ต่อชีวิตเหลือที่จะคณนา หากโยมอ่อนไม่ได้เจริญกรรมฐาน แกจะต้องไปตกนรกเพราะกระทำปาณาติบาต ท่านยังจำเหตุการณ์ในวันนั้นได้ดี แม้มันจะผ่านมานานถึงสามสิบสามปี และโยมอ่อนก็ตายไปได้แล้วสิบปี เมื่อโยมอ่อนเล่าเรื่องราวให้ชายผู้นั้นฟัง แล้วกล่าวคำขออโหสิกรรม ชายผู้นั้นหัวเราะชอบใจ พร้อมกับพูดว่า " ไม่เป็นไร ถ้าลุงฆ่าผมเมือชาติที่แล้ว ผมไม่เอาเรื่อง แต่ชาตินี้อย่าฆ่าผมอีกแล้วกัน" ดปนอันว่าโยมอ่อนสามารถชดใช้กรรมได้ด้วยกรรมฐาน และใช้ในชาตินี้ ไม่เช่นนั้นจะต้องใช้ในชาติหน้า คือตายไปจะต้องตกนรก

สถานที่ที่พบกับพระอรหันต์ทั้งสามองค์ ไม่มีที่ใดดีเท่ากับในโบสถ์ ท่านเตรียมสมุดดินสอไว้พร้อม จะกราบทูลถามสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีในหลายๆเรื่อง ทีท่านอยากถามมานาน แม้ท่านจะเกิดปัญญารอบรู้ในกองการสังขารทั้งหลาย แต่ก็มิได้หมายความว่า ท่านสามารถรู้ทุกเรื่องที่อยากรู้ มีแต่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นที่ทรงรู้ทุกเรื่องหากทรงประสงค์ กระนั้นก็ยังมีข้อจำกัดว่า มิได้ทรงเป็นสัพพัญญทุกอิริยาบถ เรื่องนี้มีหลักฐานอยู่ในจูฬวัจฉโคตตสูตร ปริพาชกวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓


คำนำ : ความหลงในสงสาร

ความหลงในสงสาร

ธรรมนิยายชุดสัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม เรื่องความหลงในสงสาร พิมพ์รวมเล่มครั้งแรกเมื่อกรกฎาคม ๒๕๕๒ เป็นหนังสือขายดีติดอันดับ และได้พิมพ์ซ้ำอีกจนมาถึงครั้งนี้ ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ได้มีผู้อ่านหลายรายติดต่อผู้เขียนแสดงความสนใจเรื่องราวของสมเด็จพระเจ้าตากสินอยู่เสมอ

ข้าพเจ้าเชื่ออย่างแน่นแฟ้นว่า ดวงวิญญาณของบรรพบุรุษ-มหากษัตริย์ยังมีพลานุภาพปกปักรักษาและคุ้มครองป้องกันชาติบ้านเมืองของเราอยู่ คนที่ทำผิดคิดร้ายต่อชาติบ้านเมืองจะต้องแพ้ภัยตนเอง ไม่วันใดก็วันหนึ่ง ซึ่งเป็นไปตามกฎแห่งกรรมอันเป็นกฎที่เที่ยงตรงที่สุด ไม่มีอะไรหรือผู้ใดจะมาขัดขวางหรือต้านทานได้ ดังที่นายสวนมหาดเล็กได้แต่งโคลงยอพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าตากสินไว้ว่า

ใครที่โมหะมืดไหม้   สะเทือนฤทธิ์

รอยว่าเวรตามปลิด   ชีพม้วย

ที่แข็งแข่งอิทธิฤทธื์   ภูวนาถ

ย่อมระยำยับด้วย   ปิ่นเกล้าธรณีฯ

ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ท่านผู้อ่านทุกท่าน และขอคนไทยทุกคนมีความจงรักภักดีและธำรงรักษาสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ไว้คู่กับแผ่นดินไทยตราบชั่วนิรันดร์เทอญ

 


สารบัญ : ความหลงในสงสาร

    ความหลงในสงสาร

    • ๑ พระอรหันต์สามองค์
    • ๒ พระเถรเจ้า
    • ๓ นามไหฮอง
    • ๔ พระยอดธง
    • ๕ ลิเกโรงใหญ่
    • ๖ สองพี่น้อง
    • ๗ พระสังฆราชสี
    • ๘ ภาระอันยิ่งใหญ่
    • ๙ วิสุทธิเทพ
    • ๑๐ สารพันปัญหา
    • ๑๑ แหวนมรดกล้อมเพชร
    • ๑๒ สู่แดนพุทธภูมิ


รีวิวโดยผู้เขียน : ความหลงในสงสาร

ความหลงในสงสาร

ธรรมนิยายชุด สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม เรื่องที่ ๕ ความหลงในสงสาร พิมพ์ครั้งแรกเดือน กรกฎาคม ๒๕๕๙ ในการพิมพ์ครั้งที่ ๑๘ นี้ มีเรื่องสำคัญที่จะเรียนให้ท่านผู้อ่านทราบ คือ เมื่อวันที่ ๑๓-๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ข้าพเจ้าไปเรียนบาลีที่วัดจากแดง จังหวัดสมุทรปราการ สอนโดย พระอาจารย์มหาประนอม ธม.มาลง.กาโร นอนค้างที่วัดกับคุณแว่นฟ้า (ภรณี พรเกษมศาสตร์) ศิษย์เอกของพระอาจารย์และเป็นแฟนหนังสือชุดสัตว์โลกฯด้วย คุณแว่นฟ้าทักท้วงว่า เรื่องความหลงในสงสารบทที่ ๓๕ ที่เจ้าอาวาสวัดไทยนาลันทา เล่าให้หลวงพ่อวัดดอนเมืองและท่านพระครูเจริญฟังเกี่ยวกับสูกรมัททวะ เพราะท่านเชื่อข้อมูลตามที่ชาวฝรั่งเศสคนหนึ่งเชื่อ คุณแว่นฟ้่าบอกว่า อาหารมื้อสุดท้ายของพระพุทธเจ้า เป็นมังสะ เพราะฉะนั้น สูกรมัททวะจึงไม่ใช่เห็ด

รุ่งเช้าข้าพเจ้ากราบเรียนถามพระอาจารย์มหาประนอม ท่านบอกว่า หลักฐานอยู่ใน เรื่องธรรมดาของพระพุทธเจ้า ข้อ ๒๙ ข้าพเจ้าจึงมาค้นคว้าเพราะจะเชื่อตามคัมภีร์เท่านั้น ความจริงเรื่องนี้ ข้าพเจ้าก็ได้ฟังจากท่านเจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา ซึ่งเป็นรูปเดียวกับที่เล่าให้หลวงพ่อวัดดอนเมืองและท่านพระครูเจิญฟัง  ต่างกันแต่เวลาและสถานที่ กล่าวคือ ช่วงที่ข้าพเจ้าไปเรียนปริญญาเอกที่มหาวิยาลัยมคธ โดยได้รับทุนจากรัฐบาลอินเดีย ช่วงเวลานั้น เจ้าอาวาสวัดไทยนาลันทาได้ย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดไทบพุทธคยา ข้าพเต้าพักอยู่ที่วัดทิเบตหน้าพระเจดีย์พุทธคยา ได้ไปถวายพระอาหารเพล ณ วัดไทยพุทธคยาหลายครั้ง และได้ฟังเรื่องสูกรมัททวะด้วย ข้าพเจ้าก็เชื่อตามนั้นอยู่หลายประการ

จากหลักฐานข้างต้นที่คัดลอกมานี้ ย่อมเป็นเครืองพิสูจน์อย่างชัดเจนแล้วว่า สูกรมัททวะไม่ใช่เห็ดดังที่่ชาวฝรั่งเศสผู้นั้นเข้าใจ ข้าพเจ้าจึงขอลบความเชื่อเก่าออกไปและใส่ความเชื่อใหม่เข้ามาแทน

สุทัสสา อ่อนค้อม

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
loading