ตัวเลือกสินค้า

ประเดิม ดำรงเจริญ

เรียงตาม แนะนำ

  • เรียงตาม แนะนำ
  • เรียงตาม ราคาขาย
  • เรียงตาม วันที่ขาย
  • เรียงตาม ชื่อสินค้า
  • เรียงตาม ขายดี
  • เรียงตาม ให้คะแนน

แสดง 1 ถึง 2 จาก 2 รายการ

แก้วคำทิพย์ ไชย เป็นนามปากกาของ นายประเดิม ดำรงเจริญ เกิด ณ บ้านเลขที่ 650-652 ถ.พหลโยธิน ม.1 ต.เมืองพาน อ.พาน จ.เชียงราย เป็นบุตรของ นายเล็กจิว แซ่ฉั่ว ชาวจีนแต้จิ๋ว กับ นางซูเถียม แซ่อึ้ง ชาวจีนแคระ เริ่มต้นการเรียนในระดับอนุบาลจนจบมัธยมต้นที่โรงเรียนคริสตัง (คาทอลิก) ชื่อโรงเรียนศิริมาตย์เทวี (สันตะ มารีอา) อ.พาน จ.เชียงราย ตอนเป็นเด็กอนุบาล-ประถม ถือเป็นเด็กเรียนเก่งคนหนึ่ง เพราะสอบได้ที่ 1 เป็นประจำ ได้เป็นหัวหน้าชั้นหลายปีต่อเนื่องกัน ชอบไปอ่านหนังสือที่ห้องสมุดประชาชนประจำอำเภอ ที่ตัวอำเภอ การศึกษา อนุบาล-มัธยม โรงเรียนศิริมาตย์เทวี (Scuolla Santa Maria) มัธยมปลาย โรงเรียนสมาคมโรงเรียนราษฎร์ อุดมศึกษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง รุ่นแรก 2516 Massmedia, Stockholm Grafiska Skolan, Sweden รัฐศาสตร์ (Statavetenskap), Stocklms Universitet, Sweden ศิลปศาสตรบัณฑิต (สังคมวิทยาและมนุษยวิทยา) มหาวิทยาลัยรามคำแหง รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารรัฐกิจ) มหาวิทยาลัยรามคำแหง กิจกรรมทางสังคม พ.ศ. 2507 คณะจัดทำ เริ่มทำวารสารนักเรียน ที่โรงเรียนศิริมาตย์เทวี พ.ศ. 2515 ได้เข้าร่วมชมรมคนรุ่นใหม่ มหาวิทยาลัยรามคำแหง กลุ่มองค์การอิสระ ที่ทำการเคลื่อนไหวทางความคิด ผลิตหนังสือ ในยุคเผด็จการ โดย ได้ร่วมเขียนบทความ กวีนิพนธ์ และร่วมทำหนังสือรายสะดวกชื่อ พลังความเรียบง่ายที่แฝงเร้น, ผู้หญิงความแฝงเร้นที่เรียบง่าย เป็นต้น พ.ศ. 2515 ผู้จัดการ นิตยสารรายเดือน "วรรณกรรมเพื่อชีวิต" นิตยสารที่นำเสนอแนวคิด และแนวทางสัจนิยม (realism) ที่ห่างหายไปจากสังคมไทยในยุคนั้น พ.ศ. 2516 ในนามปากกา "ทวีชัย พาอริยะ" เขียนกลอนเปล่าชื่อ "จากเซซาโวถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์" ลงหน้าหลังปก "มหาวิทยาลัย : ที่ยังไม่มีคำตอบ" ของชมรมคนรุ่นใหม่ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้รับคำวิจารณ์จาก นสพ.ประชาธิปไตยว่า มีทัศนะแหลมคมในยุค พ.ศ. 2516 คณะผู้จัดทำหนังสือ "มหาวิทยาลัย : ที่ยังไม่มีคำตอบ" นิตยสารของชมรมคนรุ่นใหม่ มหาวิทยาลัยรามคำแหง หนังสือออกเผยแพร่ต้นเดือนมิถุนา 2516 ผลทำให้ถูกลบชื่อจากการเป็นนักศึกษาพร้อมคณะรวม 9 คน ก่อให้เกิดการเดินขบวนประท้วงครั้งใหญ่ของนักศึกษา ในวันที่ 21-22 มิถุนา 2516 และได้กลายเป็นชนวนจุดเรียกร้องให้ผู้กุมอำนาจรัฐร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน ซึ่งก่อให้เกิดขบวนการเรียกร้องรัฐธรรมนูญ และได้เป็นผู้เสนอชื่อผ่านมติคณะกรรมการ และรัฐสภาทั้ง 2 สภาเป็นเอกฉันท์ว่า "14 ตุลา วันประชาธิปไตย" พ.ศ. 2517 ประธานฝ่ายเอกสารและสิ่งพิมพ์ ขององค์กรร่วมระหว่าง สำนักนายกรัฐมนตรี กับศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนท.) ที่เรียกว่า "โครงการส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย" พ.ศ. 2517 ผู้อำนวยการ วารสารรายปักษ์ "ศูนย์" ของ ศนท. พ.ศ. 2517 ผู้อำนวยการ หนังสือพิมพ์ "อธิปัตย์" ของ ศนท. ได้ทำงานแทบทุกด้าน เช่น เป็นบรรณาธิการ ดูแลข้อคิดข้อเขียนให้เป็นไปตามอุดมการณ์ของหนังสือพิมพ์ เป็นผู้เขียน (columnist) มีคอลัมน์ประจำ ทุกฉบับ เป็นผู้จัดการทั่วไป จัดการเรื่องทางธุรกิจทั้งหลาย ช่วยหาโฆษณาตามแหล่งที่ให้โฆษณา ดูแลการพิมพ์ จนกระทั่งหนังสือพิมพ์ๆ เสร็จ และการจัดจำหน่าย เมื่อหนังสือพิมพ์เริ่มสู่ท้องตลาดแล้วจึงกลับไปพักผ่อนเพื่อเตรียมเริ่มงานใหม่ พ.ศ. 2517 บรรณาธิการ "วารสาร สัจจธรรม" ของพรรคสัจจธรรม มร. ซึ่งทำให้ต้องคดีการเมืองจนต้องติดคุกฟรี โดยต่อมาศาลพิพากษาว่าบริสุทธิ์ พ.ศ. 2518 ประจำกองบรรณาธิการ นิตยสารมหาราษฎร์ รายสัปดาห์ที่มีนายวีระ โอสถานนท์ (อดีต ร.ท.แห่งราชนาวีไทย ผู้ร่วมพยายามกระทำการรัฐประหารรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งต่อมาเรียกเหตุการณ์นี้ว่า "กบฎแมนฮัตตัน" เป็นผู้อำนวยการ พ.ศ. 2518-19 ผู้สื่อข่าวพิเศษ นิตยสาร ประชาชาติ รายสัปดาห์ ประจำที่สิงคโปร์ และกัวลาลัมเปอร์ พ.ศ.2520 นักศึกษา ทุนรัฐบาลประเทศสวีเดน หลังเหตุการณ์รัฐประหารเลือด "6 ตุลา 19" ได้ออกจากเมืองไทย ได้รับทุกเข้าศึกษาที่โรงเรียนกราฟิกแห่งกรุงสต็อกโฮล์ม (Stokholm Grafiska Skolan และต่อที่ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสต็อกโฮล์ม พ.ศ. 2520 รวมกลุ่มนักศึกษา นักหนังสือพิมพ์ ปัญญาชนไทยที่อยู่ในสวีเดน ร่วมทำหนังสือข่าว สมานฉันท์คนไทยในต่างแดน ออกจำหน่ายจ่ายแจกไปทั่วโลก ทำงานเป็น นักแปลและเรียบเรียง จากงานภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาสเวนสก้า  (Svenska หรือเรียกตามอังกฤษแบบไทยว่า ภาษาสวีเดน) และภาษาอังกฤษ ทั้งเรื่องสั้นและนวนิยาย พ.ศ. 2536 ใช้นามปากกา "สมฤทธิ์ บัวระมวล" ผลิตงานที่เด่นๆ เช่น "ตำนานเจ้ายุโรปเหนือ" "สปาร์ตาคุส" พ.ศ. 2550 รวบรวม เขียน แปล เรียบเรียง หนังสือ สารานุกรม คำคม ชีวิตคนดัง อันเป็นหนังสือว่าด้วยคติและประวัติชีวิตบุคคลชั้นนำของโลกในแขนงต่างๆ พ.ศ. 2551 ผู้อำนวยการ อัลบั้มเพลง "มหากาพย์ชาวนา" และเป็นผู้แต่งคำร้องทั้งอัลบั้ม (12 เพลง) พ.ศ. 2553 ได้รับรางวัลพระราชทานชนะเลิศ พระพิฆเนศทองพระราชทานครั้งที่ 7 จากสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ 2 รางวัล คือ รางวัลเพลงไทยพื้นบ้านภาคเหนือยอดเยื่ยม จากการแต่งเนื้อร้องเพลง "เมืองพานต้นธารเจ้าพระยา" และ รางวัลเพลงไทยพื้นบ้านภาคใต้ยอดเยี่ยม จากการแต่งเนื้อร้องเพลง "ปักษ์ใต้แดนทอง" พ.ศ. 2554 ผลงานในนามปากกา "แก้วคำทิพย์ ไชย" จากต้นฉบับภาษาอังกฤษเรื่อง "เจ้าน้อยฟอนเติลรอย" ของ ฟรานเซส ฮอดจ์ สัน เบอร์เนตต์ ได้รับเลือกจากคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ) เป็น "หนังสืออ่านนอกเวลา สาระการเรียนรู้ภาษาไทย" ลำดับที่ 1 ของระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4-6 พ.ศ. 2559 ได้รับรางวัลพระราชทานชนะเลิศ พระพิฆเนศทองพระราชทานครั้งที่ 8 จากสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ รางวัลเพลงไทยพื้นบ้านภาคอีสานยอดเยี่ยม จากการแต่งเนื้อร้องเพลง "น้ำของมหานทีแห่งชีวิต" พ.ศ. 2559 ได้รับพระราชทานในพระลัญจกรสมเด็จพระสังฆราช (สญส) โล่รางวัลเกียรติยศ "ตาชั่งทอง" บุคคลสงเคราะห์ดีเด่นแห่งปี ในงานประทานโล่รางวัล บุคคลสงเคราะห์ดีเด่นแห่งปี (ครั้งที่ 5) ชีวิตครอบครัว ภรรยาชื่อ สุพร (ศรีอุทัยสุข) ดำรงเจริญ บัญชีบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2519 (รุ่นพระเทพฯ) เริ่มทำงานที่องค์การสหประชาชาติประจำประเทศไทย สถานทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศสวีเดน และปัจจุบันดำรงตำแหน่ง Deputy head of administration ของสถานเอกอัครราชทูตสหภาพยุโรป ประจำประเทศไทย มีบุตรร่วมกัน 2 คน คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คมธรรม ดำรงเจริญ เกิดที่ สต๊อกโฮล์ม สวีเดน เริ่มเรียนที่โรงเรียนพญาไท ราชวินิตบางเขน สวนกุหลาบวิทยาลัย และ ครุศาสตร์บัณฑิตเกียรตินิยม (ภาควิชาดนตรีตะวันตก) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทุนจากรัฐบาลอิตาลี ศึกษาต่อที่ มหาวิทยาลัย ฟิเรนเซ (Universita degle studi di Firenze, Musicologia, Italia) แล้วต่อจบปริญญาโทที่ มหาวิทยาลัย ตูร์ ประเทศฝรั่งเศส (Universite Francois Rabelais de Tours, Master de Recherche de Musique et Musicolgie (mention), France) เป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยศิลปากร และอาจารย์พิเศษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นางสาวแพรใจ ดำรงเจริญ เกิดที่สต็อกโฮล์ม สวีเดน เริ่มเรียนที่โรงเรียนพญาไท หอวัง เตรียมอุดมศึกษา และ บัญชีบัณฑิต เกียรตินิยม (หลักสูตรนานาชาติ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จบปริญญาโทที่ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร (MBA : University of Cambridge, Unitedkingdom.) เคยทำงานเป็น Financial Acconting Analyst ของ Exxon Mobil Ltd. ที่สำนักงานใหญ่ Texas, U.S.A ต่อมาเปลี่ยนงานทำเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เป็นผู้จัดการโครงการภาคพื้นอาเซียปาซิฟิกของ Ecolab, U.S.A

loading