รีวิว : วิธีพาตัวเองออกจากกล่องใบเล็ก (Leadership and Self-Deception)

หนึ่งในอาการของคนที่อยู่ใน "กล่อง"...สมมุติว่าเราไม่ชอบใครในที่ทำงาน เราก็จะหาพวก พยายามหาโอกาสพูดคุยกับคนอื่น เพื่อหาเหตุผลที่ทำให้คนนั้นดูไม่ดี ชักชวนเพื่อนร่วมงานคนอื่นให้ไม่ชอบคนนั้นไปด้วย ซึ่งหากเพื่อนร่วมงานคนไหนคล้อยตามที่เราบอก นั่นก็หมายความว่า เขาลงมาอยู่ใน "กล่อง" กับเราแล้วนั่นเอง.เนื้อหาข้างต้น เป็นเพียงตัวอย่างเหตุการณ์ที่อยู่ในหนังสือ..วิธีพาตัวเองออกจาก "กล่อง" ใบเล็ก (Leadership & Self-Deception : Getting out of the Box) เล่มนี้ก่อนอื่นเลยมาดูกันก่อนว่า "กล่อง" ในที่นี้คืออะไร?.คำว่า “กล่อง” คล้ายๆ กับเป็นการเปรียบเทียบเชิงนามธรรมของคนที่มองแต่มุมมองของตัวเอง เป็นการเอากล่องมาครอบตัวเองไว้ หรือเอาตัวเองไปอยู่ในกล่องสร้างกำแพงปิดกั้นผู้อื่น..ทำให้มองไม่เห็นจิตใจ หรือความคิดในแง่มุมของผู้อื่น เห็นผู้อื่นเป็นเพียงสิ่งของ ไม่ใช่คน.ซึ่งเล่มนี้ ผู้เขียนเน้นยํ้าในประเด็นปัญหาที่เกิดจากคน และการแก้ปัญหาในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะที่ทำงาน.โดยจุดเริ่มต้นของปัญหา อาจจพเกิดจากการที่เรา>>กำลังหลอกตัวเอง<< (ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Self-Deception)ซึ่งเป็นอาการที่คนเรามักจะปฏิเสธตัวเองว่ามีปัญหา เลยไปมองสิ่งรอบๆ ตัว ทำให้มันบิดเบือนไป หรือพยายามหาเหตุผลมาเข้าข้างตนเอง กล่าวโทษสิ่งอื่นภายนอก ว่าเป็นปัญหาแทน.เพราะฉะนั้น หากเราอยากที่จะแก้ปัญหาเราต้องเห็นและยอมรับตัวเองก่อนว่า กำลังอยู่ใน “กล่อง”เราจึงจะสามารถก้าว เดินออกมาจาก “กล่อง” นั้นได้.จุดเด่นของหนังสือ How To เล่มนี้ อีกอย่าง ก็คือ การเล่าเรื่องแบบผ่านเหตุการณ์ ฉากสมมุติต่างๆมีตัวละครเป็นผู้บริหารระดับสูง เจริญก้าวหน้าแค่ในเรื่องงาน แต่ล้มเหลวเรื่องคนและความสัมพันธ์ ทำออกมาได้น่าสนใจและอ่านเพลินมากๆ โดยเนื้อความหลักๆ หรือใจความสำคัญทั้งหมดนั้น สรุปได้ว่า ต้องหยุดต่อต้านคนอื่น แล้วมองว่าเค้าเป็นมนุษย์เหมือนกับเรา พูดง่ายๆ คือ ‘เอาใจเขามาใส่ใจเรา’ นั่นเอง