นวนิยายกับการเมือง : บทวิเคราะห์เรื่องผีๆ สางๆ ของ ดอน ไผ่งาม

ผู้เขียน: ตวงศักดา กะตะศิลา

สำนักพิมพ์: เดือนกระจ่าง

หมวดหมู่: หนังสือเตรียมสอบ แนวข้อสอบ , ปริญญาตรี

0 รีวิว เขียนรีวิว

63.00 บาท

70.00 บาท ประหยัด 7.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 2 แต้ม

  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:E-Book ลดทุกเล่ม ทั้งเว็บ 10% วันที่ 1 - 31 พ.ค. 67

63.00 บาท

70.00 บาท
70.00 บาท
ประหยัด 7.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 2 แต้ม

จำนวน :

1

  • โปรโมชั่นพิเศษ:
    • E-Book ช้อป E-Book และ E-Magazine ครบ 3 เล่ม ลด 15% วันที่ 6 - 31 พ.ค. 67
จำนวนหน้า
42 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาดไฟล์
2.43 MB
ประเภทไฟล์
PDF, EPUB
บาร์โค้ด
9000079235

รายละเอียด : นวนิยายกับการเมือง : บทวิเคราะห์เรื่องผีๆ สางๆ ของ ดอน ไผ่งาม

เรื่องสั้นและนวนิยายบอกอะไรเกี่ยวกับสังคมการเมือง
     ในงานเขียนเล่มหนึ่งๆ ย่อมสะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดของผู้เขียน และสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ในสังคมนั้นๆ ได้เช่นกัน มีบางคนกล่าวว่า “การอ่านนิยายคือเรื่องเพ้อฝัน” ก็นิยายมันก็หาใช่เรื่องจริง มันคือเรื่องที่แต่งขึ้นมา ยิ่งเป็นเรื่องผีๆ สางๆ ด้วยแล้ว บางคนกลับมองเรื่องราวเหล่านี้เป็นสิ่งไร้สาระ อัลแบรฺต์ กามูส์ เขียนปรัชญาเกี่ยวกับความไร้สาระในเรื่อง เทพตำนานซีซิบ แก่นของเรื่อง คือ ความไร้สาระ คือความขัดแย้ง เป็นการปะทะกันระหว่างการต้องการเหตุผลภายในจิตใจคน ตัวอย่างที่ กามูส์ได้ยกขึ้นมาอธิบาย เช่น แนวคิดเรื่องของการฆ่าตัวตายของดอสโตเยฟสกีแท้จริงแล้วคือความคิดไร้สาระ หากเรามองแบบง่ายๆ โดยไม่ลึกซึ้งอะไร ความไรสาระก็คือเรื่องราวที่ไม่มีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ประกอบคำอธิบาย เมื่อไม่นานมานี้มีข่าวคราวเรื่องราวเกี่ยวกับบั้งไฟพญานาค โดยมีชายผู้หนึ่งเป็นผู้ไปเสาะแสดงหาคำอธิบายเกี่ยวกับเรื่องราวเหล่านี้ จนเป็นข่าวดัง ซึ่งแน่นอน เรื่องราวที่พิสูจน์ยังไม่ได้ ผู้เขียนไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นเรื่องไร้สาระ
     ประเด็นต่อมา เรื่องราวของผี มีนักวิชาการให้คำจำกัดความว่า “ผี” คือวิญญาณของผู้เสียชีวิตไปแล้ว ดวงวิญญาณต่างล่องลอยไปสู่อีกภพหนึ่ง ซึ่งแน่นอนสิ่งเหล่านี้ยังพิสูจน์ไม่ได้ สิ่งเร้นลับในโลกใบนี้ยังหาคำตอบไม่ได้อีกหลายๆ อย่าง แม้ว่าผีจะไม่สามารถพิสูจน์ได้ชัดตามหลักวิทยาศาสตร์ แต่ผีก็ยังคงอยู่กับสังคมทุกยุคทุกสมัยทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศไทยต่างก็มีผีอยู่มากมาย หากเราแยกประเภทจำแนกออกแต่ละภาค ล้วนผีมีเอกลักษณ์แตกต่างกันไปตามแต่ละท้องที่ และมีลักษณะรูปร่างที่แปลกกันออกไป
     เรื่องผี ของดอน ไผ่งามนี้ ผู้เขียนต้องการนำประเด็นหรือโครงสร้างของเรื่องมาวิเคราะห์ประมวลผลโดยอาศัยหลักการทางทฤษฎีเป็นแว่นส่องขยาย แต่ทั้งนี้พยายามอย่างยิ่งที่จะไม่ทำให้สิ่งเหล่านี้ต้องเป็นยาขมที่อ่านยาก ใช้ภาษาในลักษณะง่ายๆ ในเล่มนี้จะกล่าวถึงการแสดงออกของตัวละคร โครงสร้างรวมไปถึงบริบทสภาพแวดล้อมต่างๆ และแนวคิดที่ดอน ไผ่งามพยายามสื่อออกมา โดยใช้ปากตัวละครเป็นตัวขับเคลื่อนแนวคิดนั้น
     ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า งานชิ้นเล็กๆ นี้จะพอฉายให้เห็นภาพผีและสังคมการเมืองตามหลักการขั้นพื้นฐานทางทฤษฎีอันเป็นสารัตถะเล็กๆ น้อยได้บ้างตามสมควร

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
loading