เริ่มต้นใหม่จากจุดเริ่มต้น : ทฤษฎีสังคมมาร์กซิสในศตวรรษที่ 21

ผู้เขียน: เก่งกิจ กิติเรียงลาภ

สำนักพิมพ์: ILLUMINATIONS EDITIO

หมวดหมู่: หนังสือบทความ สารคดี , หนังสือสารคดี

0 รีวิว เขียนรีวิว

190.00 บาท

200.00 บาท ประหยัด 10.00 บาท (5.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 21 แต้ม

แนวคิดสังคมนิยม คอมมิวนิสต์ หรือแม้แต่มาร์กซิสต์ถูกยกขึ้นมาพูดถึงอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในขบวนการเยาวชนปลดแอกที่ชูสัญลักษณ์ค้อนเคียวหรือ RT < แสดงน้อยลง แนวคิดสังคมนิยม คอมมิวนิสต์ หรือแม้แต่มาร์กซิสต์ถูกยกขึ้นมาพูดถึงอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในขบวนการเยาวชนปลดแอกที่ชูสัญลักษณ์ค้อนเคียวหรือ RT

Tags: Marxism , คอมมิวนิสต์ , เยาวชนปลดแอก , สังคมศาสตร์ , สังคมการเมือง , เหตุการณ์ทางการเมือง

190.00 บาท

200.00 บาท
200.00 บาท
ประหยัด 10.00 บาท (5.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 21 แต้ม

จำนวน :

1

จำนวนหน้า
294 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
12 x 18 x 1.6 CM
น้ำหนัก
0.271 KG
บาร์โค้ด
9786168215340

รายละเอียด : เริ่มต้นใหม่จากจุดเริ่มต้น : ทฤษฎีสังคมมาร์กซิสในศตวรรษที่ 21

เริ่มต้นใหม่จากจุดเริ่มต้น : ทฤษฎีสังคมมาร์กซิสในศตวรรษที่ 21

หนังสือเล่มนี้ชื่อว่า "เริ่มต้นใหม่จากจุดเริ่มต้น" ซึ่งไม่ใช่การเล่นคำหรือการเล่นสำนวน
แต่มีนัยยะถึงการกลับมาตั้งคำถามพื้นฐานอย่างน้อย 2 คำถามที่ผู้คนต่างก็มีคำตอบ
สารพัดคำตอบมาตลอดศตวรรษที่ 20 นั่นคือ หนึ่ง ระบบการผลิตแบบทุนนิยมที่เรา
อยู่ในปัจจุบันนี้มีลักษณะเช่นไร มีพัฒนาการมาอย่างไร และเราจะอธิบายจุดเปลี่ยน
ของมันได้ในแง่มุมไหนบ้าง กับ สอง หากเราต้องการจะต่อสู้กับมันหรือปลดแอก
ตัวเราออกจากระบบทุนนิยมที่กดขี่ขูดรีดเราอยู่ เราจะมีเครื่องมืออะไรบ้าง

คำตอบเบื้องต้นของหนังสือเล่มนี้ คือการกลับมาเริ่มต้นถามคำถามเหล่านี้ใหม่ที่
จุดเริ่มต้น หากคอมมิวนิสต์ล้มเหลวไปแล้วในศตวรรษที่แล้ว เราจะสรรค์สร้าง
คอมมิวนิสต์ขึ้นมาใหม่ได้อย่างไร และด้วยเครื่องมืออะไรบ้าง แน่นอนว่าเงื่อนไข
พื้นฐานของการตอบคำถามดังกล่าวก็วางอยู่บนคำถามพื้นฐาน 2 คำถามข้างต้น
นั่นคือ ระบบเศรษฐกิจการเมืองที่เราอาศัยอยู่ในปัจจุบันมีลักษณะเช่นไร
อะไรคือจุดอ่อนและจุดเปราะบางที่สุดของมัน กับเราจะประกอบสร้างตัวตน
หรือความเป็นองค์ประธานเพื่อต่อสู้กับมันได้อย่างไร

 

 


สารบัญ : เริ่มต้นใหม่จากจุดเริ่มต้น : ทฤษฎีสังคมมาร์กซิสในศตวรรษที่ 21

    • บทนำ : เริ่มต้นจากจุดจบ

    • บทที่ 1 จากฐานคิดของ Analytical Marxism สู่การศึกษาเรื่องชนชั้น และข้อเสนอว่าด้วยความเป็นไปได้ของสังคมนิยมของอีริค โอลิน ไรท์

    • บทที่ 2 จิออจิโอ อกัมเบน กับชีวิตที่เปลือยเปล่า องค์อธิปัตย์ในสภาวะสมัยใหม่ และเวลาแห่งการปลดปล่อย

    • บทที่ 3 การกลับมาของอันโตนิโอ เนกรีในศตวรรษที่ 21 : จากเฮเกลสู่สปิโนซาและข้อเสนอว่าด้วย "ส่วนรวม" และคอมมิวนิสม์

    • บทที่ 4 จาก "มหการเมือง" สู่ "ต้นแบบความคิดคอมมิวนิสต์" ในความคิดของอแลง บาดิยู

    • บทที่ 5 ทฤษฎีมาร์กซิสต์แบบจิตวิเคราะห์ของสลาวอย ชิเชค : พ่อและกฎของพ่อกับ "ปิตุฆาต" ในฐานะอาชญากรรมที่จำเป็น

    • บทที่ 6 บทสรุป : กลับมาที่จุดเริ่มต้น


เนื้อหาปกหลัง : เริ่มต้นใหม่จากจุดเริ่มต้น : ทฤษฎีสังคมมาร์กซิสในศตวรรษที่ 21

หนังสือเล่มนี้ชื่อว่า "เริ่มต้นใหม่จากจุดเริ่มต้น" ซึ่งไม่ใช่
การเล่นคำหรือการเล่นสำนวน แต่มีนัยยะถึงการกลับมา
ตั้งคำถามพื้นฐานอย่างน้อย 2 คำถามที่ผู้คนต่างก็มี
คำตอบสารพัดคำตอบมาตลอดศตวรรษที่ 20 นั่นคือ
หนึ่ง ระบบการผลิตแบบทุนนิยมที่เราอยู่ในปัจจุบันนี้มี
ลักษณะเช่นไร มีพัฒนาการมาอย่างไร และเราจะอธิบาย
จุดเปลี่ยนของมันได้ในแง่มุมไหนบ้าง กับ สอง หากเรา
ต้องการจะต่อสู้กับมันหรือปลดแอกตัวเราออกจากระบบ
ทุนนิยมที่กดขี่ขูดรีดเราอยู่ เราจะมีเครื่องมืออะไรบ้าง
คำตอบเบื้องต้นของหนังสือเล่มนี้คือการกลับมาเริ่มต้น
ถามคำถามเหล่านี้ใหม่ที่จุดเริ่มต้น หากคอมมิวนิสต์
ล้มเหลวไปแล้วในศตวรรษที่แล้ว เราจะสรรค์สร้าง
คอมมิวนิสต์ขึ้นมาใหม่ได้อย่างไร และด้วยเครื่องมือ
อะไรบ้าง แน่นอนว่าเงื่อนไขพื้นฐานของการตอบคำถาม
ดังกล่าวก็วางอยู่บนคำถามพื้นฐาน 2 คำถามข้างต้น
นั่นคือ ระบบเศรษฐากิจการเมืองที่เราอาศัยอยู่ในปัจจุบัน
มีลักษณะเช่นไร อะไรคือจุดอ่อนและจุดเปราะบางที่สุด
ของมัน กับเราจะประกอบสร้างตัวตนหรือความเป็น
องค์ประธานเพื่อต่อสู้กับมันได้อย่างไร



รีวิวโดยสำนักพิมพ์ : เริ่มต้นใหม่จากจุดเริ่มต้น : ทฤษฎีสังคมมาร์กซิสในศตวรรษที่ 21

หนังสือเล่มนี้พิมพ์ครั้งแรกในปี 2560 ในขณะที่ยังไม่มีร่องรอย
หรือวี่แววของการลุกขึ้นสู้ครั้งใหญ่ของคนรุ่นใหม่ดังที่เกิดขึ้นในปี
2563 ที่ผ่านมา การพิมพ์ครั้งที่ 2 โดย Illuminations Editions
นี้เกิดขึ้นในปี 2564 ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังจากปรากฏการณ์การลุกขึ้น
สู้กับระบอบเผด็จการทหารและระบอบกษัตริย์นิยมที่นำโดยเยาวชนคนรุ่นใหม่

การลุกขึ้นสู้ครั้งนี้เป็นสิ่งที่ทั้งคาดเดาได้ในระดับหนึ่งหากมอง
จากมุมของการกดขี่ ในความหมายที่ว่าหากมีการกดขี่อย่างรุนแรง
ก็ย่อมมีการต่อต้าน แต่กลับเป็นสิ่งที่คาดเดาไม่ได้จากมุมของผู้ถูก
กดขี่เนื่องด้วยเราไม่เห็นการจัดตั้งขบวนการหรือการเคลื่อนไหวระลอก
ใหญ่อย่างต่อเนื่องมาก่อนหน้านี้ ภายใต้กระแสการตื่นตัวดังกล่าวนี้

แนวคิดสังคมนิยม คอมมิวนิสต์ หรือแม้แต่มาร์กซิสต์ถูกยกขึ้นมา
พูดถึงอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในขบวนการเยาวชนปลดแอก
ที่ชูสัญลักษณ์ค้อนเคียวหรือ RT ขึ้นมาเพื่อยกระดับความขัดแย้ง
ให้มีมีติทางชนชั้นและขยายวงมากขึ้น

แน่นอนว่าการชูสัญลักษณ์ค้อนเคียวนำมาซึ่งความขัดแย้งภายในหมู่นัก
กิจกรรมและนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยจำนวนมาก แต่มันก็สร้างความตื่นตัว
ให้กับสังคมไทยที่จะค้นหาหรือถกเถียงกันว่าคอมมิวนิสต์มันดีหรือไม่ดีอย่างไร
โดยเฉพาะการกลับมาอ่านงานเขียนและงานแปลของพวกนักคิดฝ่ายซ้าย
ในหมู่นักกิจกรรมและคนรุ่นใหม่

 

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
loading