ภูมิปัญญาอินเดียโบราณ: ประวัติศาสตร์และปรัชญาทางสายกลางแบบพุทธ พราหมณ์ เชน

ผู้เขียน: สุมาลี มหณรงค์ชัย

สำนักพิมพ์: สยามปริทัศน์/SIAMPARITUT

หมวดหมู่: หนังสือบทความ สารคดี , ประวัติศาสตร์

0 รีวิว เขียนรีวิว

266.00 บาท

280.00 บาท ประหยัด 14.00 บาท (5.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 30 แต้ม

ปรัชญาและประวัติศาสตร์มีวิธีการศึกษาและประเด็นศึกษาที่แตกต่างกัน แต่สามารถประสานเข้าด้วยกันอย่างทัดเทียม จนนําไปสู่ ภูมิปัญญาชุดอินเดียโบราณ < แสดงน้อยลง ปรัชญาและประวัติศาสตร์มีวิธีการศึกษาและประเด็นศึกษาที่แตกต่างกัน แต่สามารถประสานเข้าด้วยกันอย่างทัดเทียม จนนําไปสู่ ภูมิปัญญาชุดอินเดียโบราณ

266.00 บาท

280.00 บาท
280.00 บาท
ประหยัด 14.00 บาท (5.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 30 แต้ม

จำนวน :

1

จำนวนหน้า
376 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
14.2 x 20.9 x 2.1 CM
น้ำหนัก
0.448 KG
บาร์โค้ด
9789743159992

รายละเอียด : ภูมิปัญญาอินเดียโบราณ: ประวัติศาสตร์และปรัชญาทางสายกลางแบบพุทธ พราหมณ์ เชน

ภูมิปัญญาอินเดียโบราณ: ประวัติศาสตร์และปรัชญาทางสายกลางแบบพุทธ พราหมณ์ เชน

การศึกษาภูมิปัญญาอินเดียโบราณผ่านการใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับวิธีการทางปรัชญาหลายรูปแบบ ทําให้บางท่านอาจสงสัยหรือเข้าใจผิดว่า ผู้เขียนต้องการเขียนเรื่องประวัติปรัชญาอินเดีย (History of Indian Philosophy) ปรัชญาเชิงประวัติศาสตร์ (Historical Philosophy) หรือประวัติศาสตร์ภูมิปัญญา (Intellectual History) แต่หนังสือวิจัยเล่มนี้ไม่ใช่เช่นนั้น เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ ต้องการแสดงความสําคัญของประวัติศาสตร์และปรัชญาอินเดียโบราณ ในฐานะเป็นเนื้อหาสองส่วนที่เสมอกัน แต่สอดรับและสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น ไม่เน้นเนื้อหาทางปรัชญานําประวัติศาสตร์ หรือให้เนื้อหาทางประวัติศาสตร์นําปรัชญา ปรัชญาและประวัติศาสตร์มีวิธีการศึกษาที่แตกต่างกัน ประเด็นศึกษาก็ไม่เหมือนกัน แต่ทั้งประเด็นศึกษาและวิธีการ อันหลากหลายสามารถประสานเข้าด้วยกันอย่างทัดเทียมจนนําไปสู่ ภูมิปัญญาชุดอินเดียโบราณ

สุมาลี มหณรงค์ชัย


สารบัญ : ภูมิปัญญาอินเดียโบราณ: ประวัติศาสตร์และปรัชญาทางสายกลางแบบพุทธ พราหมณ์ เชน

    • บทนำ สู่ประวัติศาสตร์และปรัชญาอินเดีย
    • ภาคแรก ปรัชญาในประวัติศาสตร์
    • บทที่ ๒ ประวัติศาสตร์อินเดียยุคพระเวท, วิถีแห่งสมณะ
    • บทที่ ๓ ปรัชญาอุปนิษัท, พรหมันกาบทฤษฎีวิวัฒนาการ, อาศรม ๔ กับวิถีแห่งสันยาสิน
    • บทที่ ๔ ปรัชญาฤาษีโบราณ, ปรัชญาสางขยะ, ปรัชญานยายะ-ไวเศษิกะ, ปรัชญาของฤาษีกับวิถีของพราหมณ์
    • บทที่ ๕ ปรัชญาอาชีวกกับโลกายัต, ปรัชญาอาชีวก, ปรัชญาโลกายัต
    • บทที่ ๖ ปรัชญานิครนถ์ (เชนยุคต้น), อณูกรรมกับโมกษะ
    • บทที่ ๗ ปรัชญาพุทธยุคต้น, "วิญญาณ" อมตะกับ "จิต" แบบพุทธ, จิต กรรม และความพ้นทุกข์ (นิพพาน/นิรวาณ), ทัศนะเรื่องกรรมของพราหมณ์ เชน และพุทธ
    • ภาคสอง ประวัติศาสตร์ในปรัชญา
    • บทที่ ๘ สังคมอินเดียหลังพุทธกาล-ทางสายกลางแบบพุทธ, สภาพสังคมในยุคทองของพุทธศาสนา, ทางสายกลางแบบพุทธศาสนา, สภาพสังคมในยุคเสื่อมของพุทธศาสนา

เนื้อหาปกหลัง : ภูมิปัญญาอินเดียโบราณ: ประวัติศาสตร์และปรัชญาทางสายกลางแบบพุทธ พราหมณ์ เชน

หลายครั้งด้วยกันที่ตำราประวัติศาสตร์ปรัชญาใช้ประวัติศาสตร์แต่เพียงผังลำดับเวลา แต่ ภูมิปัญญาอินเดียโบราณ : ประวัติศาสตร์และปรัชญา เล่มนี้ใช้ประวัติศาสตร์เป็นส่วนสำคัญของการอธิบายพัฒนาการของความคิดทางปรัชญา - นิธิ เอียวศรีวงศ์

หนังสือ ภูมิปัญญาอินเดียโบราณ : ประวัติศาสตร์และปรัชญา ของ ดร.สุมาลี มหณรงค์ชัย เปิดมิติการรับรู้และความเข้าใจในเรื่องของภูมิปัญญาอินเดียอย่างที่ไม่เคยรู้และอ่านมาก่อน - ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
loading