นโยบายของไทยต่อสิงคโปร์

ผู้เขียน: สุรพงษ์ ชัยนาม

สำนักพิมพ์: สยามปริทัศน์/SIAMPARITUT

หมวดหมู่: หนังสือบทความ สารคดี , หนังสือสารคดี

0 รีวิว เขียนรีวิว

247.00 บาท

260.00 บาท ประหยัด 13.00 บาท (5.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 27 แต้ม

นโยบายต่างประเทศไทยต่อประเทศเพื่อนบ้านในยุคสงครามเย็น : สี่กรณีศึกษาเปรียบเทียบ < แสดงน้อยลง นโยบายต่างประเทศไทยต่อประเทศเพื่อนบ้านในยุคสงครามเย็น : สี่กรณีศึกษาเปรียบเทียบ

247.00 บาท

260.00 บาท
260.00 บาท
ประหยัด 13.00 บาท (5.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 27 แต้ม

จำนวน :

1

จำนวนหน้า
264 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
14.4 x 21 x 1.5 CM
น้ำหนัก
0.318 KG
บาร์โค้ด
9789743159961

รายละเอียด : นโยบายของไทยต่อสิงคโปร์

นโยบายของไทยต่อสิงคโปร์

งานวิจัยเรื่อง นโยบายต่างประเทศไทยต่อประเทศเพื่อนบ้านในยุคสงครามเย็น : สี่กรณีศึกษาเปรียบเทียบ โดยผู้เขียนซึ่งเป็นอดีตข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของกระทรวงการต่างประเทศ อาศัยข้อมูลปฐมภูมิจากกระทรวงการต่างประเทศและประสบการณ์ตรงของผู้วิจัยในฐานะนักการทูตอาชีพ นับว่าเป็นข้อมูลจาก "คนใน" ที่มีประสบการณ์อย่างโชกโชนเกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้ผู้อ่านซึ่งเป็น "คนนอก" ได้เห็นการวิเคราะห์ความสัมพันธ์/นโยบายต่างประเทศไทยต่อประเทศเพื่อนบ้านอย่างเป็นระบบ คุณูปการที่สำคัญของหนังสือเล่มนี้คือการวิเคราะห์อย่างลึกซึ้ง โดยผู้เขียนใช้ภาษาง่ายๆ อธิบายถึงความสลับซับซ้อนของเหตุการณ์และประเด็นที่อ้างอิงถึงได้อย่างดี โดยเน้นเรื่องอิทธิพลของปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกในบริบทของยุคสงครามเย็นที่มีต่อการกำหนดและการดำเนินนโยบายต่างประเทศและการทูตของไทย ตลอดจนอิทธิพลของความขัดแย้งและความร่วมมือระหว่างประเทศมหาอำนาจตลอดช่วงประมาณ 45 ปีของยุคสงครามเย็น และอิทธิพลของปัจจัยภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งเป็นตัวแปรคงที่และมักเป็นปัจจัยชี้ขาดต่อการตัดสินใจด้านนโยบายต่างประเทศของไทยที่มีต่อประเทศเพื่อนบ้านในยุคสงครามเย็น

ศาสตราจารย์ นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ


สารบัญ : นโยบายของไทยต่อสิงคโปร์

    • ความสัมพันธ์ไทย - สิงคโปร์ : บทนำ
    • นโยบายต่างประเทศของสิงคโปร์ต่อไทย
    • นโยบายต่างประเทศของไทยต่อสิงคโปร์
    • ปัญหาและอุปสรรคต่อความสัมพันธ์ไทย-สิงคโปร์
    • บทสรุป

เนื้อหาปกหลัง : นโยบายของไทยต่อสิงคโปร์

สิ่งสําคัญซึ่งยากจะหาได้จากงานศึกษาค้นคว้าในแนวนี้โดยทั่วไป คือ มุมมองของผู้ปฏิบัติซึ่งเป็นนักการทูตที่ทรงคุณความรู้ทางวิชาการ (scholar-diplomat) เช่น อดีตเอกอัครราชทูต สุรพงษ์ ชัยนาม ผู้เขียนหนังสือชุดนี้ “ทฤษฎี” และ “ปฏิบัติ” จําเป็นจะต้องไปด้วยกันเสมอ...ในการศึกษาค้นคว้าผู้เขียนได้อาศัยข้อมูลปฐมภูมิ (primary sources) ประกอบกับประสบการณ์ตรงของผู้เขียนในฐานะนักปฏิบัติดังกล่าวเป็นหลัก หนังสือชุดนี้จึงมีคุณค่าอันหาได้ยากยิ่ง แม้กระทั่งในปัจจุบัน - ดร.วิวัฒน์ มุ่งการดี

จุดเด่นอีกประการหนึ่งของโครงการวิจัยชุดนี้อยู่ที่ผู้วิจัยเป็นผู้มีบทบาทในฐานะนักการทูต...จึงเป็นผู้ที่ได้รู้เห็น มีส่วนร่วม และติดตามอยู่ในวงในของฝ่ายที่เป็นภาคปฏิบัติโดยตรง งานวิจัยยังได้รับประโยชน์จากการเข้าถึงเอกสารชั้นต้นซึ่งเป็นเอกสารภายในของกระทรวงการต่างประเทศและของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง...และนําข้อมูลจากเอกสารชั้นต้นเหล่านี้มาวิเคราะห์ด้วยสายตาแหลมคมของนักวิจัยผู้เป็นนักการทูตที่เข้าใจบริบทและเกมการเมืองระหว่างประเทศในช่วงเวลานั้นเป็นอย่างดี - รศ. ดร.ศุภมิตร ปิติพัฒน์

ชุดหนังสือของท่านทูตสุรพงษ์ไม่เพียงแต่ให้มุมมองด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจากนักการทูตโดยตรง แต่ยังจะช่วยให้เกิดบทสนทนาและการถกเถียง ที่ย่อมจะมีส่วนในการขยับขยายเส้นขอบฟ้าทางวิชาการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและการทูต ทั้งยังเชื่อมโยงโลกทางวิชาการกับโลกปฏิบัติเข้าด้วยกัน โดยไม่ละทิ้งการตั้งคําถามเชิงวิพากษ์ต่อนโยบายต่างประเทศของไทย - ผศ. ดร.จิตติภัทร พูน

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
loading