s

ภาพยนต์วิจารณ์

ผู้เขียน: กฤษดา เกิดดี

สำนักพิมพ์: The Writer' s Secret

หมวดหมู่: หนังสือบทความ สารคดี , หนังสือสารคดี

0 รีวิว เขียนรีวิว

244.80 บาท

288.00 บาท ประหยัด 43.20 บาท (15.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 9 แต้ม

หนังสือที่ทำให้การดูหนัง อร่อย ขึ้น < แสดงน้อยลง หนังสือที่ทำให้การดูหนัง อร่อย ขึ้น
  • ส่วนลด:
    ลด 15%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com Top Up Mid-Month Sale! ลด 15%

244.80 บาท

288.00 บาท
288.00 บาท
ประหยัด 43.20 บาท (15.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 9 แต้ม

จำนวน :

1

จำนวนหน้า
277 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
12.6 x 18.4 x 1.5 CM
น้ำหนัก
0.26 KG
บาร์โค้ด
9786167751900

รายละเอียด : ภาพยนต์วิจารณ์

ภาพยนต์วิจารณ์

ทำไม "ภาพยนตร์" จึงต้องถูก "วิจารณ์" "คุณค่า" ของภาพยนตร์ ตัดสินกันด้วยอะไร ภาพยนตร์ไทย กับภาพยนตร์ต่างประเทศ เปรียบเทียบกันได้หรือไม่ ภาพยนตร์ที่ดี vs ภาพยนตร์ที่สนุก ภาพยนตร์อินดี้ vs ภาพยนตร์ที่มวลชนชื่นชอบ ฯลฯ

 


คำนำ : ภาพยนต์วิจารณ์

เมื่อสำรวจหนังสือเกี่ยวกับการวิจารณ์ภาพยนตร์ ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ตั้งแต่ปลายทศวรรษ 2520 จนถึงกลางทศวรรษ 2550 (ดูรายชื่อใน อัญชลี ชัยวรพร, 2557 : 23-24, ดูบรรณานุกรมบทแรก) พบว่าส่วนใหญ่ หรือเกือบทั้งหมดเป็นหนังสือรวมบทวิจารณ์ที่มุ่งเน้นผลการวิเคราะห์ โดยมิได้เน้นที่การตัดสินคุณค่าภาพยนตร์ รวมถึงแบบอย่างของการตัดสินคุณค่า ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญอีกส่วนของการวิจารณ์ แม้แต่ในการวิเคราะห์วิจารณ์ก็ยังขาดการกล่าวถึงกรอบแรวคิดทฤษฎีที่ใช้มนการวิจารณ์ ("แล่เนื้อเถือหนัง" ของ ประชา สุวีรานนท์ อาจเป็นกรณียกเว้น โดยมีการเกริ่นนำเกี่ยวกับกรอบแนวคิดที่ใช้วิเคราะห์)

ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจึงมีความประสงค์ที่จะเขียนหนังสือเกี่ยวกับการวิจารณ์ภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาครอบคลุมทั้งการตัดสินคุณค่าและการวิเคราะห์ โดยมีทั้งหลักเกณฑ์และแนวทางการตัดสินคุณค่า และกรอบแนวติดทฤษฎีในการวิเคราะห์วิจารณ์ ตลอดจนแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์

จากความประสงค์ตามที่ได้กล่าวไป หนังสือเล่มนี้จึงแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกเป็นหลักเกณฑ์และแนวทางการตัดสินคุณค่าภาพยนตร์ ส่วนที่สองเป็นกรอบแนวคิดทฤษฎีทางด้านการวิเคราะห์วิจารณ์ และส่วนที่สาม ผู้เขียนได้คัดเลือกบทวิจารณ์ภาพยนตร์ลักษณะต่าง ๆ เพื่อให้เข้าใจหลักและแนวทางการวิจารณ์ได้ดียิ่งขึ้น

บางแรวคิดทฤษฎีที่นำมาใช้และบางตัวอย่างที่นำมาอ้างถึงอาจดูเก่าแก่ จนทำให้หลายคนคิดว่าผู้เขียนยังคงติดอยู่ในสวนจูราสสิค ผู้เขียนยอมรับว่าการอ้างแนวคิดของพระยาอนุมานราชธน (เอกสารปี พ.ศ.2503) และนำ The Wild Bunch (1969) มาเป็นตัวอย่าง อาจทำให้หลายคนคิดเช่นนั้นได้ และนอกจากความเก่า อาจมีบางคนเห็นว่าชื่อพระยาอนุมานราชธน กับ นวพล ธำรงรัตฤทธิ์ ฟังดูไม่เข้ากันอย่างยิ่ง ซึ่งผู้เขียนก็ตระหนักถึงเรื่องนี้เช่นกัน


สารบัญ : ภาพยนต์วิจารณ์

    • ความหมายและความสำคัญของการวิจารณ์ และการวิจารณ์ภาพยนตร์
    • จากคำถาม 3 ข้อของ เกอเธ่ถึงการตัดสินคุณค่าภาพยนตร์
    • การตัดสินคุณค่าด้วยหลักการวิจารณ์ศิลปะ 6 ประการ
    • การจัดสินคุณค่าการกำกับภาพยนตร์ บทภาพยนตร์ การถ่ายภาพ และการลำดับภาพ
    • การตัดสินคุณค่าด้วยการเปรียบเทียบ
    • การตัดสินคุณค่ากับประเด็นเรื่องความบันเทิง และรายได้
    • การวิจารณ์แนวรูปแบบนิยม
    • การวิจารณ์แนวประพันธกร
    • การวิจารณ์แนวเปรียบเทียบตระกูล
    • การวิจารณ์แนวอิงบริบท

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
loading