เทคนิควิธีการสอนประวัติศาสตร์

ผู้เขียน: เฉลิม มลิลา นิติเขตต์ปรีชา

สำนักพิมพ์: ศูนย์หนังสือจุฬา/chula

หมวดหมู่: หนังสือเตรียมสอบ แนวข้อสอบ , ปริญญาตรี

0 รีวิว เขียนรีวิว

314.50 บาท

370.00 บาท ประหยัด 55.50 บาท (15.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 12 แต้ม

ปลูกฝังวิชาและวิทยาการ แนวความคิดและอุดมการณ์ทางประวัติศาสตร์ให้แก่ครูอาจารย์ที่สอนประวัติศาสตร์ ผู้สนใจ และนักศึกษาที่จะเป็นครูอาจารย์ในอนาคต < แสดงน้อยลง ปลูกฝังวิชาและวิทยาการ แนวความคิดและอุดมการณ์ทางประวัติศาสตร์ให้แก่ครูอาจารย์ที่สอนประวัติศาสตร์ ผู้สนใจ และนักศึกษาที่จะเป็นครูอาจารย์ในอนาคต
  • ส่วนลด:
    ลด 15%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com Top Up Mid-Month Sale! ลด 15%

Tags: การเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ , ประวัติศาสตร์ , เทคนิคการสอนประวัติศาสตร์ , สื่อการเรียนการสอน

314.50 บาท

370.00 บาท
370.00 บาท
ประหยัด 55.50 บาท (15.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 12 แต้ม

จำนวน :

1

จำนวนหน้า
0 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
26 x 18.9 x 1.5 CM
น้ำหนัก
0.633 KG
บาร์โค้ด
9789740334965

รายละเอียด : เทคนิควิธีการสอนประวัติศาสตร์

เทคนิควิธีการสอนประวัติศาสตร์

เป็นเครื่องพิสูจน์ได้ว่า หนังสือเทคนิควิธีการสอนประวัติศาสตร์เล่มนี้มีจุดมุ่งหมายที่ตรงกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติและการปฏิรูปการศึกษา มีคุณค่าและความสำคัญของสาระและเนื้อหาที่มุ่งส่งเสริมสติปัญญาของผู้เรียน ด้วยการนำเอาเทคนิค กลวิธี ทฤษฎี กลวิธีการสอนแบบต่างๆ จากในเล่มมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับสภาพการเรียนการสอนได้อย่างดีเยี่ยม โดยวิธีสอนแม่บทโดยวิธีการทางประวัติศาสตร์

  • ขั้นกำหนดปัญหาหรือข้อสมมุติฐาน
  • ขั้นตอนแสวงหาความรู้โดยการรวมหลักฐาน
  • ขั้นวิเคราะห์และประเมินคุณค่าข้อมูล
    • การประเมินคุณค่าภายใน
    • การประเมินคุณค่าภายนอก
  • ขั้นตีความและสังเคราะห์
  • ขั้นตอนนำเสนอข้อมูล

ทั้งหมดนี้จะกลายเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งถ้าผู้เรียนและผู้สอนได้มีการวางแผนและกระทำอย่างถูกวิธีทุกขั้นตอนและครบตามกระบวนการแล้ว จะสามารถส่งเสริมการเรียนรู้และเป็นปัจจัยเร้าผู้เรียนให้เปลี่ยนพฤติกรรมไปตามแนวทางที่ได้กำหนดไว้ในรูปของผลการเรียนรู้

 


คำนำ : เทคนิควิธีการสอนประวัติศาสตร์

สำหรับจุดเด่นของหนังสือเล่มนี้ อยู่ที่่ว่าผู้เขียนได้ตั้งความหวังและำำพยายามที่จะปลูกฝังหลักวิชาและวิธีการตลอดจนแนวความคิด ความศรัทธา และอุดการณ์ทางประวัติศาสตร์ให้แก่ครูประวัติศาสตร์ผู้สนใจ และนักศึกษาซึ่งจะเป็นครูผู้สอนประวัติศาสในอนาคตโดยครูประวัติศาสตร์จะต้องตระหนักในความจริงที่ว่า การเรียนการสอนประวัติศาสตร์ควนจะกระทำอย่างมีจุดมุ่งหมาย กล่าวคือ ควรจะยึดแนวทางปรัชญาทางการศึกษาและปรัชญาประวัติศาสตร์ผสมผสานกัน อนึ่ง การปลูกฝังการเรียนรู้ประวัติศาสตร์นี้ควรมุ่งส่งเสริมสติปัญญาของผู้เรียน ด้วยการพัฒนาการเรียนการสอนจากการเรียนรู้ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ไปสู่ขั้นที่ลึกซึ่งกว่า คือ มโนทัศน์ในทางประวัติศาสตร์ ซึ่งมีคุณค่ากว่าและสามารถนำไปใช้ได้ คุณสมบัติของหนังสือเล่มนี้ ทำให้ข้าพเจ้าแน่ใจว่า ผู้เขียนคงปรารถนาอย่างแน่นอน ทั้งนี้เพราะได้สรุปความสำคัญของประวัติความเป็นมาของการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ เทคนิค กลวิธีการสอนประวัติศาสตร์แบบต่างๆ ตลอดจนแผนการสอนประวัติศาสตร์ที่ดี ฯลฯ


สารบัญ : เทคนิควิธีการสอนประวัติศาสตร์

    • ปฐมนิเทศการเรียนการสอนและธรรมชาติวิชาประวัติศาสตร์
    • ขอบเขต จุดมุ่งหมาย และประวัติความเป็นมาของการเรียนการสอนประวัติศาสตร์
    • ปรัชญาการศึกษาและปรัชญาประวัติศาสตร์
    • การวิเคราะห์กลักสูตรและแบบเรียนประวัติศาสตร์
    • ทฤษฎีและหลักการทางจิตวิทยาเพื่อการเรียนการสอน

เนื้อหาปกหลัง : เทคนิควิธีการสอนประวัติศาสตร์

ด้วยเหตุผลที่ว่าผู้เขียนได้ตั้งความหวังและพยายามที่จะปลูกฝังหลักวิชาและวิทยาการตลอดจนแนวคิดและอุดมการณ์ทางประวัติศาสตร์ให้แก่ครูอาจารย์ที่สอนวิชาประวัติศาสตร์ ผู้สนใจ และนักศึกษาที่จะเป็นครูอาจารย์ในอนาคต ซึ่งต้องตระหนักว่าการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ควรกระทำอย่างมีจุดมุ่งหมาย มีคุณค่าความสำคัญเป็นบรรทัดฐาน

ณ วันนี้ได้ผ่านมากว่า 38 ปี

จึงเป็นเครื่องพิสูจน์ได้ว่า หนังสือเทคนิควิธีการสอนประวัติศาสตร์เล่มนี้มีจุดมุ่งหมายที่ตรงกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติและการปฏิรูปการศึกษา มีคุณค่าและความสำคัญของสาระและเนื้อหาที่มุ่งส่งเสรืมสติปัญญาของผู้เรียน ด้วยการนำเอาเทคนิค กลวิธี ทฤษฎี กลวิธีการสอนแบบต่างๆ จากในเล่มมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับสภาพการเรียนการสอนได้อย่างดีเยี่ยม



รีวิวโดยสำนักพิมพ์ : เทคนิควิธีการสอนประวัติศาสตร์

ระบบและกระบวนงานการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ในปัจจุบัน นับว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบและสภาพการณ์ไปมาก นับตั้งแต่ได้มีความพยายามที่จะบุกเบิกความก้าวหน้าในทางวิชาการให้กับวิชาและวงการประวัติศาสตร์ โดยนักวิชาการหลายท่าน ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะการมีอุดมการทางประวัติศาสตร์ หรือเพราะมีึความรับผิดชอบในฐานะอาจารย์ผู้สอนประวัติศาสตร์ในสถาบันระดับมหาวิทยาลัต่างๆ หรืออาจะเป็นเพราะบรรดาศิษย์ทั้งหลายของท่านและผู้สนใจประวัติศาสตร์ได้ไต่ถามปรับทุกข์และปรารถเพื่อหาแนวทางและกลวิธีที่จะแก้ไขหรือขจัด "ปัญหาความเสื่อมศรัทธาและน่าเบื่อหน่ายต่อการเรียนการสอนอย่างปราศจากคุณค่าและแนวทางในการศึกษาประวัติศาสตร์ตามโรงเรียนทั่วๆ ไปของทั้งผู้สอนและผู้เรียนเป็นจำนวนมาก" ให้คลี่คลายไปในทางที่เบาบางลง และอาจจะเป็นด้วยเหตุผลเพื่อการพัฒนาวิชาการประวัติศาสตร์เป็นส่วนรวมด้วย

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
loading