ตีศัพท์แตกกระจุย 4

ผู้เขียน: พนิตนาฏ ชูฤกษ์

สำนักพิมพ์: โรงเรียนดร.พนิตนาฏ

หมวดหมู่: หนังสือเตรียมสอบ แนวข้อสอบ , เรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

0 รีวิว เขียนรีวิว

175.50 บาท

195.00 บาท ประหยัด 19.50 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 7 แต้ม

เทคนิคพิชิตศัพท์ภาษาอังกฤษชั้นเซียน โดยไม่ต้องท่องจำ < แสดงน้อยลง เทคนิคพิชิตศัพท์ภาษาอังกฤษชั้นเซียน โดยไม่ต้องท่องจำ
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com World Book Day ลด 10%*

Tags: คำศัพท์ , เทคนิคภาษาอังกฤษ , ภาษาศาสตร์ , ภาษาอังกฤษ

175.50 บาท

195.00 บาท
195.00 บาท
ประหยัด 19.50 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 7 แต้ม

จำนวน :

1

  • โปรโมชั่นพิเศษ:
    • Naiin.com World Book Day ช้อปครบ 3 เล่ม ลด 15%*
จำนวนหน้า
176 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
14.5 x 20.8 x 0.9 CM
น้ำหนัก
0.225 KG
บาร์โค้ด
9786164133204

รายละเอียด : ตีศัพท์แตกกระจุย 4

ตีศัพท์แตกกระจุย 4

ครูเขียนเทคนิคการเดาศัพท์อย่างที่ครูเรียกว่าเทคนิคการตีศัพท์แตกกระจุย มากันตั้งมากมาย ก่อนลงมือฝึกครูก็จะขอสรุปสั้นๆ ให้อีกที นะคะว่า เรามีวิธีการเดาความหมายของคำศัพท์ได้ตั้งหลายอย่างเช่น ถ้าคำศัพท์ที่เราอยากรู้ความหมายไปปรากฏอยู่ในประโยคหรือ ข้อความใดๆ ก็ตาม เราก็ต้องพยายามหาคำซึ่งจะช่วยให้เราเดาความหมายของคำๆ นั้นให้ได้ (ซึ่งต่อไปนี้ครูจะเรียกตัวช่วยพวกนี้ว่าตัวกุญแจนะคะ) ครูเคยแนะนำให้รู้จักกับเจ้าตัวกุญแจต่างๆ ที่จะช่วยให้เราเดาความหมายของคำศัพท์ได้ ไปหลายแบบแล้วพอจำได้ไหมคะ ครูจะสรุปเพื่อทบทวนความจำให้นะคะ กลุ่มแรกเป็นตัวกุญแจที่ง่ายที่สุด เป็นตัวที่พวกเราเคยเห็นกันมาบ่อยๆ มาตั้งแต่เริ่มเรียนภาษาอังกฤษนั่นคือ v. to be ค่ะ แต่น่าเสียดายที่พวกเราหลายคนกลับไม่รู้จักใช้ประโยชน์ หลายคนไม่รู้เลยว่าเจ้า v. to be เป็นตัวกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้เรารู้จักความหมายของคำศัพท์ได้

นอกจาก v: to be ซึ่งผู้เขียนมักใช้บอกความหมายของคำศัพท์แล้ว ยังมี verb บางตัวที่สามารถหาความหมายของคำศัพท์แบบตรงๆ ตัวได้เหมือนกับ v. to be เช่น mean, define, refer to หรือ be called สรุปเป็นอันว่าถ้าเจอ verb เหล่านี้เป็นการอธิบายคำที่เราอยากรู้ความหมาย ตัวกุญแจในกลุ่มต่อไปคือ เครื่องหมาย หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า punctuation เครื่องหมายที่จะช่วยให้เราไขปริศนาคำศัพท์ได้ก็จะมี


คำนำ : ตีศัพท์แตกกระจุย 4

เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้อาจจะหนักซักหน่อย แต่ไม่ต้องกลัวค่ะ ถ้าอ่านมาครบทั้ง 3 เล่มแล้ว เราก็มีเครื่องมือพร้อมในการเดาความหมายของคำศัพท์แล้วค่ะ ครูขอแนะนำว่าเราควรจะวางแผนในการอ่านกันหน่อยดีไหม คุณอาจจะแบ่งการอ่านเป็นอ่านทุกวันๆ ละ 1 บท หรือถ้าใครขยันหน่อยก็อาจจะอ่านวันละ 2 บท เราก็จะอ่านหนังสือเล่มนี้จบได้ ภายในเวลาสิบกว่าวันอย่างสบายๆเลยค่ะ

พนิตนาฏ ชูฤกษ์


สารบัญ : ตีศัพท์แตกกระจุย 4

    • สรุปเทคนิค (อีกครั้ง) ก่อนลงมือ
    • จะเดาความหมาย ยังไงดี ตอนที่1
    • จะเดาความหมาย ยังไงดี ตอนที่2
    • จะเดาความหมาย ยังไงดี ตอนที่3
    • จะเดาความหมาย ยังไงดี ตอนที่4
    • จะเดาความหมาย ยังไงดี ตอนที่5
    • จะเดาความหมาย ยังไงดี ตอนที่6
    • จะเดาความหมาย ยังไงดี ตอนที่7

เนื้อหาปกหลัง : ตีศัพท์แตกกระจุย 4

การหาความหมายของคำว่า theocracy ในประโยคนี้สามารถใช้เทคนิคการเดาได้ถึงสองเทคนิคเลย เทคนิคแรกเราใช้ตัวกุญแจที่ผู้เขียนซ่อนไว้ในประโยคนี้คือ เครื่องหมาย comma (,) ซึ่งเป็นการใช้บอกความหมายของคำที่อยู่ข้างหน้าสังเกตไหมคะว่าข้างหลัง คำว่า theocracy มีกลุ่มคำอยู่หลังเครื่องหมาย comma (,) คือ a country with a govenment run by priests ก็แสดงว่า theocracy ก็คือ a country with a government run by priests เทคนิคที่สองเราอาจจะใช้วิธีตีศัพท์แตกกระจุย คือการตัดคำศัพท์ออกเป็นส่วนๆ เราสามารถตัดคำว่า theocracy ออกเป็น theo+cracy theo แปลว่า god คือพระเจ้า ส่วน cracy หมายถึง ระบบการปกครอง theocracy จึงหมายถึง ระบบการปกครองที่มีผู้นำเป็นพระเจ้า หรือ ผู้นำทางศาสนา ในที่นี้ก็หมายถึงคณะสงฆ์ค่ะ

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
loading