ขุนช้าง ขุนแผน (ฉ.ชำระใหม่)

ผู้เขียน: สุนทรภู่

สำนักพิมพ์: สำนักพิมพ์แสงดาว/saengdao

หมวดหมู่: นิยาย , นิยายสืบสวนสอบสวน นิยายลี้ลับ

0 รีวิว เขียนรีวิว

621.00 บาท

690.00 บาท ประหยัด 69.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 24 แต้ม

กลอนเสภาขุนช้างขุนแผน หนึ่งในวรรณคดีเอกของประวัติศาสตร์ไทย < แสดงน้อยลง กลอนเสภาขุนช้างขุนแผน หนึ่งในวรรณคดีเอกของประวัติศาสตร์ไทย
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com World Book Day ลด 10%*

Tags: วรรณคดี

621.00 บาท

690.00 บาท
690.00 บาท
ประหยัด 69.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 24 แต้ม

จำนวน :

1

  • โปรโมชั่นพิเศษ:
    • Naiin.com World Book Day ช้อปครบ 3 เล่ม ลด 15%*
จำนวนหน้า
1060 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
16 x 21.9 x 5.6 CM
น้ำหนัก
1.207 KG
บาร์โค้ด
9786163880925

รายละเอียด : ขุนช้าง ขุนแผน (ฉ.ชำระใหม่)

ขุนช้าง ขุนแผน (ฉ.ชำระใหม่)

ประเพณีการขับเสภามีแต่ครั้งกรุงเก่า แต่จะมีขึ้นเมื่อใด แลเหตุใดจึงเอาเรื่องขุนช้างขุนแผน มาแต่งเป็นกลอนขับเสภา ทั้ง ๒ ข้อนี้ยังไม่พออธิบายปรากฎเป็นแน่ชัด แม้แต่คำที่เรียกว่า เสภา คำนี้มูลศัพท์จะเป็นภาษาใด แลแปลว่ากระไรก็ยังสืบไม่ได้ว่า เสภา นี้ นอกจากจะเรียกการขับร้องเรื่องขุนช้างขุนแผนอย่างเราเข้าใจกัน มีที่ใช้อย่างอื่น แต่เป็นชื่อเพลงปี่พาทย์ เรียกว่า เสภานอก เพลง๑ เสภาใน  เพลง๑ เสภากลาง เพลง๑ ชวนให้สันนิษฐานว่า เสภา จะเป็นชื่อลำนำที่เอามาใช้เป็นทำนองขับเรื่องขุนช้างขุนแผน แต่ผู้้ชำนาญดนตรีกล่าวยืนยันว่า ลำนำที่ขับเสภาไม่ได้ใกล้กับเพลงเสภาเลย ด้วยเหตุนี้จึงเป็นอันยังแปลไม่ออกว่า คำที่ว่า เสภา นี้ จะแปลว่าอะไร แต่มีเรื่องราวที่ปรากฎอยู่ในหนังสือต่างๆบ้าง ข้าพเจ้าเคยได้สดับคำผู้หลักผู้ใหญ่เล่ามาบ้าง สังเกตเห็นในกระบวนกลอนแลถ้อยคำที่ปรากฎอยู่ในหนังสือเสภาบ้าง ประกอบกับคำสันนิษฐาน เห็นมีเค้าเงื่อนพอจะคาดคะเนตำนานของเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ได้อยู่ ข้าพเจ้าจะลองเก็บเนื้อความมาร้อยกรองแสดงโดยอัตโนมัติ ประกอบด้วยเหตุผลซึ่งจะชี้แจงไว้ให้ปรากฏแก่ท่านทั้งหลาย 

ถ้าว่าโดยประเพณีการขับเสภา ถึงไม่ปรากฏเหตุเดิมแน่นอนก็พอสันนิษฐานได้ว่า มูลเหตคงเนื่องมาแต่เล่านิทานให้คนฟํง อันเป็นประเพณี มีมาแต่ดึกดำบรรพ์ทีเดียว แม้ในคัมภีร์สารัตถสมุจจัย ซึ่งแต่งมากว่า ๗๐๐ ปี ยังกล่าวในตอนอธิบายเหตุแห่งมงคลสูตรว่า ในครั้งพระพุทธการนั้น ตามเมืองในมัชฌิมประเทศมักมีคนไปรับจ้างเล่านิทานให้ฟังกันในที่ชุมชน เช่น ที่ศาลาพักคนเดินทาง เป็นต้น เกิดแต่คนทั้งหลายได้ฟังนิทานจึงโจษเป็นปัญหากันขึ้นว่าิอะไรเป็นมงคล เป็นปัญหาแพร่หลายไปจนถึงเทวดาไปทูลถาม พระพุทธองค์จึงได้ทรงแสดงมงคลสูตร ปรธเพณีการรับจ้างเล่านิทานให้คนฟัง ดังกล่าวมานี้ แม้ในสยามประเทศก็มีมาแต่โบราณ จนนับเป็นการมหรสพ อย่าง๑ ซึ่งมักมีในการงาน เช่น งานโกนจุก ในตอนค่ำเมื่อพระสวดมนต์แล้ว ก็หาคนไปเล่านิทานให้แขกฟัง เป็นประเพณีมาเก่าแก่ แลยังมีลงมาจนถึงชั้นกรุงรัตนโกสินทร์นี้ขับเสภา ก็คือเล่านิทานนั้นเองแลประเพณีมีเสภา ก็มีในงานอย่างเดียวกับที่เล่านิทานนั้น จึงเห็นว่าเนื่องมาจากเล่านิทานขับเสภาขึ้นแทนเล่านิทาน ก็ดูเหมือนพอจะเห็นเหตุได้ คือเพราะเล่านิทานฟังกันมานานๆ เข้า ออกจะจืด จึงมีคนคิดจะเล่าให้แปลกโดยกระบวนแต่งกลอน ว่าให้คล้องกันให้น่าฟังกว่าที่เล่านิทานอย่างสามัญ ประการ๑ เมื่อเป็นบทกลอน จึงว่าเป็นทำนองลำนำ ตามวิสัยการว่าบทกลอนให้ไพเราะขึ้นกว่าเล่านิทานอีกปรการ ๑ ข้อที่บังคับแต่เรื่องขุนช้างขุนแผน เรื่องเดียวนั้นคงจะเป็นด้วยนิทานเรื่องขุนช้างขุนแผน เป็นเรื่องที่ชอบกันแพร่หลายในครั้งกรุงเก่า ยิ่งกว่านิทานเรื่องอื่นๆ ด้วย เป็นเรืองสนุกจับใจ แลถือว่าเป็นเรื่องจริง จึงเกิดขับเสภาขึ้นด้วยประการฉะนี้


คำนำ : ขุนช้าง ขุนแผน (ฉ.ชำระใหม่)

ขุนช้าง ขุนแผน (ฉ.ชำระใหม่)

กลอนเสภาขุนช้างขุนแผน ถือเป็นหนึ่งในวรรณคดีเอกที่คนไทยทุกเพศทุกวัยและทุกคนรู้จักกันดี นั่นเป็นเพราะมีอายุมากกว่า ๔๐๐ ปี ซึ่งนับว่าเป็นวรรณคดีที่มีอายุยืนนานมากอีกเรื่องหนึ่ง และวรรณคดีเรื่องนี้ได้มีผู้แต่งอยู่หลายพระองค์และหลายท่าน อาทิ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังทรงดำรงพระยศ เป็น กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ สุนทรภู่ ครูแจ้ง  และต่อมา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพก็ทรงพระนิพนธ์ในตอนที่ขาดหายไปด้วยสำนวนที่ร้อยเรียงกันทั้งในเชิงเนื้อหา วรรณศิลป์ และพรรณนาโวหารได้อย่างกลมกลืนเป็นเนื้อความเดียวกัน

ในการจัดพิมพ์กลอนเสภาขุนช้างขุนแผน (ฉบับชำระใหม่) ครั้งนี้ สำนักพิมพ์แสงดาว ได้ยึดเอาตัวสะกดตามต้นฉบับพิมพ์ครั้งแรกในส่วนหนึ่ง ซึ่งแม้ว่จะดูไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกันก็ตาม แต่ก็จะได้อรรถรสในการอ่านอีกอารมณ์หนึ่ง อีกทั้งก็จะได้เห็นการพัฒนาของตัวสะกดอักษรไทย (อักขรวิธี) ว่ามีที่มาและเป็นไปอย่างไร ที่สำคัญก็จะได้เห็นสำนวนภาษา คำพังเพย คำเปรียบเทียบฯลฯ ที่คนในยุคปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงและใช้ผิดความหมาย ของแต่เดิมว่าเป็นอย่างไรบ้าง เป็นต้น


เนื้อหาปกหลัง : ขุนช้าง ขุนแผน (ฉ.ชำระใหม่)

ขุนช้าง ขุนแผน (ฉ.ชำระใหม่)

กลอนเสภา ขุนช้างขุนแผน นับเป็นวรรณคดีเอกที่คนไทยต่างรู้จักกันดี เพราะมีอายุมากกว่า ๔๐๐ ปี ถือเป็นวรรณคดีที่มีอายุยืนนานมากอีกเรื่องหนึ่งในกลุ่มวรรณคดีเอกแห่งชาติ นอกจากนี้ยังเป็นที่นิยมของคนอ่านทุกยุคสมัย ทุกระดับชนชั้น และทุกสถาบันการศึกษา แล้วยังนับเป็นเอกสารชั้นต้นให้กับนักวิชาการทุกสาขาวิชาชีพให้ได้มีการวิเคราะห์ในแง่มุมต่างๆ อาทิ ด้านวรรณศิลป์ ขนบธรรมเนียมประเพณี สถาปัตยกรรม และกฎหมายโบราณ เป็นต้น

วรรณคดีกลอนเสภา ขุนช้างขุนแผน (ฉบับชำระใหม่) ที่จัดพิมพ์ใหม่นี้ได้มีการตรวจสอบจากหลายสำนวน อาทิ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ (ฉบับพิมพ์ครั้งแรก) ฉบับสำนวนเก่า ฉบับครูแจ้ง ฉบับครูสมิท และฉบับวัดเกาะ พร้อมทั้งได้ทำ อธิบายคำศัพท์ ให้ผู้อ่านได้เข้าใจมากขึ้น

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
loading