เปิดมุมมองใหม่ๆ ไปกับ OKRs เครื่องมือวัดผล กรอบการทำงานที่น่าดึงดูดและเหมาะกับคนยุคนี้ ที่จะช่วยให้พวกเขารู้สึกมีส่วนร่วม และก้าวหน้า ประสบความสำเร็จไปกับองค์กรได้ไม่ยาก

         ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเหล่าคนรุ่นใหม่นั้น คือ อนาคตขององค์กร พวกเขามีความกระตือรือร้น มีความคิดสร้างสรรค์ และพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงโลก พวกเขาเป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญของเศรษฐกิจ และองค์กรใดก็ตามที่ต้องการประสบความสำเร็จในระยะยาวก็จำเป็นที่จะต้องดึงดูดและรักษากลุ่มคนเหล่านี้ไว้ ..อย่างไรก็ตาม การดึงดูดและรักษาคนรุ่นใหม่ไว้ในองค์กรนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะพวกเขาเองก็มีความต้องการและทัศนคติในการทำงานที่แตกต่างจากคนรุ่นก่อนๆ อาทิเช่น พวกเขาต้องการมีส่วนร่วม รู้สึกเป็นเจ้าของ ไม่ถูกเมินเฉยต่อความสำคัญ และถ้าเห็นว่ามีพื้นที่ ที่ยังสามารถพัฒนาทักษะของตนเองต่อไปได้ ก็จะตอบโจทย์คนรุ่นใหม่มากขึ้น

 

OKRs คือ อะไร? ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่อย่างไร?

         OKRs ย่อมาจาก Objectives and Key Results เป็นระบบการบริหารการจัดการในการทำงาน ที่เน้นเรื่องการตั้งเป้าหมายและกำหนดตัววัดผล ติดตามผล โดยมีสิ่งสำคัญในการสร้างแรงจูงใจจากภายใน   

  • การวัดผลด้วย OKR จะต้องมีกรอบเวลาที่แน่ชัด สามารถประเมินผลได้
  • การตั้ง Target ของ OKR ต้องชัดเจน เข้าใจง่าย และที่สำคัญเป้าหมายต้องไม่ยากจนเกินไป ไม่งั้นพนักงานจะรู้สึกท้อถอยตั้งแต่แรกเริ่ม

       เป้าหมายหลัก (Objectives) คือ เป้าหมายที่ท้าทายแต่สามารถบรรลุได้ ขึ้นอยู่กับเป้าหมายการทำงานของพนักงานแต่ละคน รวมทั้งบทบาทต่อทีมและองค์กร

       ผลลัพธ์สำคัญ (Key Results) คือ ตัวชี้วัดที่ใช้ในการวัดความสำเร็จของเป้าหมายหลัก มักตั้งไว้ประมาณ 3-5 ข้อต่อ 1 เป้าหมาย โดยผลลัพธ์สำคัญควรมีตัวเลขที่ชัดเจน เช่น 1-10 หรือค่าเปอร์เซนต์ที่ 1-100%

       ระยะเวลาในการวัดผล อาจแตกต่างกันไปตามความเหมาะสมของแผนงานหรือทีมงาน แต่โดยทั่วไปจะวัดผลทุกเดือนหรือทุกไตรมาสธุรกิจ

 

ตัวอย่างเช่น เป้าหมายหลักของพนักงานฝ่ายขายคนหนึ่งอาจเป็นการ "เพิ่มยอดขายเป็นสองเท่าภายในปีหน้า" ผลลัพธ์สำคัญที่เกี่ยวข้องอาจรวมถึง

  • เพิ่มจำนวนลูกค้าใหม่เป็น 100 ราย
  • เพิ่มยอดขายต่อลูกค้าเป็น 10,000 บาท
  • เพิ่มยอดขายจากลูกค้าเก่าเป็น 20%

      เป้าหมายของ OKRs ไม่ได้เน้นที่การวัดผลความสำเร็จ มากเท่ากับ เน้นการสร้างแรงบันดาลใจและความมุ่งมั่นในการทำงาน บางครั้งถึงจะไม่ได้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 100% ก็ไม่ใช่ปัญหา เพราะสิ่งสำคัญ คือ ทุกคนในองค์กร ได้ตระหนักถึงเป้าหมายร่วมกัน และร่วมมือกันทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้นๆ

 

จุดเด่นที่ทำให้ OKRs แตกต่างจาก KPIs คือ

  • การประเมินผลในระยะสั้น (ความถี่ในการทบทวน)...KPIs มักใช้สำหรับการวัดผลระยะยาว เช่น 1 ปี ในขณะที่ OKRs มักใช้สำหรับการวัดผลระยะสั้น เช่น 3 เดือน หรือ 6 เดือนช่วยให้พนักงานสามารถปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และหัวหน้างานสามารถเข้าไปช่วยวิเคราะห์ปัญหาได้อย่างตรงจุดประสงค์ (OKRs จะทบทวนบ่อยกว่าเป็นรายเดือนหรือรายไตรมาส ในขณะที่ KPIs จะทบทวนปีละครั้ง)
  • ความเชื่อมโยงกับผลตอบแทน OKRs จะไม่เชื่อมโยงกับผลตอบแทนของพนักงาน ในขณะที่ KPIs จะส่งผลโดยตรงกับผลตอบแทนของพนักงาน
  • การประกาศผล OKRs จะประกาศผลให้ทุกคนในองค์กรได้รับรู้ ในขณะที่ KPIs จะไม่มีการประกาศ

  • การมีส่วนร่วม การกำหนดค่า OKRs จะมาจากระดมความคิดของพนักงานผู้ปฏิบัติงานเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่ KPIs จะเป็นการคิดแบบ Top-down ซึ่งตรงนี้จะทำให้ พนักงานที่เป็นคนรุ่นใหม่ รู้สึกมีส่วนร่วมในองค์กร มีคุณค่า มีตัวตน ได้กำหนดทิศทางของการทำงานด้วยตนเอง

 

      จึงอาจจะกล่าวได้ว่า OKRs ก็เป็นอีกหนึ่งในเครื่องมือสำคัญของการทำงาน ที่อาจจะช่วยให้องค์กร ตอบสนองความต้องการต่างๆของเหล่าพนักงานยุคนี้ได้ ไม่มากก็น้อย เนื่องจาก OKRs ช่วยให้คนรุ่นใหม่รู้สึกมีเป้าหมาย มีส่วนร่วมในการทำงาน และรู้สึกเป็นเจ้าของผลงาน ตระหนักถึงความสำคัญของบทบาทตนเองในการทำงาน แถมยังมีความไม่เครียดและกดดันเท่า KPIs ที่เป็นการกำหนดจากผู้บริหาร และมีผลต่อผลตอบแทนต่างๆ ในการทำงาน

 

     ด้วยเหตุนี้ คนรุ่นใหม่จึงอาจชอบ OKRs เพราะสามารถพัฒนาทักษะและเติบโตในอาชีพการงานได้ ในบรรยากาศที่ดีขึ้น และในปัจจุบัน มีองค์กรต่างๆ ทั่วโลกเริ่มใช้ OKRs เพื่อดึงดูดและรักษาคนรุ่นใหม่ ตัวอย่าง เช่น Google ก็ถือว่าเป็น บริษัทชั้นนำที่เริ่มมีการนำหลัก OKRs มาใช้ตั้งแต่แรกๆ และตัวองค์กรก็ประสบความสำเร็จอย่างมากในการดึงดูดและรักษาคนรุ่นใหม่ไว้ได้อีกด้วย

 

-----------------------------------------------------------------

สำหรับคนที่สนใจเนื้อหา สาระ ที่เกี่ยวกับ OKRs เพิ่มเติม >> เราก็ยังมี หนังสือ/E-Book แนะนำอีก เช่น

 

ตั้งเป้าชัด วัดผลได้ด้วย OKRs   <<คลิกชื่อหนังสือ

       กล่าวถึงระบบ OKRs และหนังสือเล่าให้ฟังว่าแต่ละบริษัทนำ OKRs ไปใช้อย่างไร แต่ละองค์กรควรศึกษา ทดลองนำไปใช้ และปรับให้เข้ากับองค์กรของตนได้อย่างไร โดยผู้เขียน คือ John Doerr (จอห์น ดัวร์) เป็นผู้สนับสนุน และนำระบบ OKRs มาใช้ในบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำ เช่น Google, Intel, Amazon และ Airbnb และเผยแพร่แนวคิด หลักการของ OKRs ให้กับองค์กรต่างๆ ทั่วโลก

 

คู่มือประยุกต์ใช้ระบบการบริหารผลงาน ด้วยแนวคิดแบบ OKRs    <<คลิกชื่อหนังสือ

 

       คู่มือเล่มนี้นำเสนอแนวทาง ขั้นตอนการนำระบบ OKRs ไปปรับใช้จริง ตั้งแต่การกำหนด OKRs ระดับองค์กรไปจนถึงระดับผู้ปฏิบัติงาน โดยเน้นที่การตอบโจทย์หลักขององค์กร คือ การสร้างกำไรและการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยเน้นการประยุกต์ใช้ OKRs ให้มีประสิทธิภาพจนองค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้

 

ใช้ OKRs อย่างไรให้สำเร็จ    <<คลิกชื่อหนังสือ

 

       หนังสือเล่มนี้รวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับ OKRs ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งหลักการและแนวทางการนำไปใช้จริง สามารถใช้เป็นคู่มือที่จะช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมายและสร้างความสุขของพนักงานไปพร้อมกัน

 

OKRs ชีวิต ปรับมุมคิด พิชิตเป้าหมาย   <<คลิกชื่อหนังสือ

 

       บ่งบอกว่า OKRs คือ เครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้องค์กรและบุคคลบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ โดยกำหนดเป้าหมายหลักที่ท้าทายแต่สามารถบรรลุได้ และกำหนดผลลัพธ์สำคัญเพื่อวัดความสำเร็จของเป้าหมายหลัก แนวคิด OKRs นี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าประสบความสำเร็จมาแล้วในหลายองค์กร รวมถึงองค์กรขนาดใหญ่อย่าง Google และ Intel การนำแนวคิด OKRs ไปใช้กับบุคคลจะช่วยให้สามารถกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนและวัดผลได้ รวมถึงสร้างแรงบันดาลใจในการทำงานและบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้

 

OKRs เติบโต 10 เท่า ด้วยการตั้งเป้าแล้วทำได้จริง  <<คลิกชื่อหนังสือ

 

        เครื่องมือขับเคลื่อนองค์กรที่มีประสิทธิภาพ หนังสือบอกว่า ไม่ยุ่งยากซับซ้อนเหมือน KPIs ซึ่งแนวคิด OKRs นี้จะช่วยจัดลำดับความสำคัญ ช่วยให้ทีมงานและองค์กรขับเคลื่อนไปอย่างมีประสิทธิภาพ ...เติบโตทั้งคน ทีม และองค์กร ด้วยเทคนิค “บริหารผลงาน” และ “สื่อสารเป้าหมาย” แบบใช้ได้จริง เคลียร์จบทุกปัญหาที่ทุกคนเจอเมื่อต้องเขียน OKRs เพื่อได้ผลลัพธ์ของงานที่เป็นรูปธรรมและวัดค่าได้ ซึ่งเป็นแนวคิดในการกำหนดและติดตามความสำเร็จของธุรกิจคุณ

 

Personal OKRs ชีวิตจะสำเร็จตามเป้าหมาย ถ้าวัดผลได้เป็นระบบ  <<คลิกชื่อหนังสือ

 

         เขียนโดย ศ.ดร.นภดล ร่มโพธิ์ กล่าวถึงแนวคิดและหลักการของ OKRs ให้เอามาใช้ในชีวิตส่วนตัวแบบ Personal OKRs ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยกำหนดเป้าหมายและวัดผลความสำเร็จของเป้าหมายส่วนตัวของชีวิต เหมาะสำหรับบุคคลทั่วไปที่ต้องการบรรลุเป้าหมายในชีวิต โดยผู้อ่านสามารถนำแนวคิดและหลักการของ Personal OKRs ไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับตนเองได้ จุดเด่นของเล่มนี้ คือ OKRs ไม่จำเป็นต้องเอาไปใช้แค่ในชีวิตการทำงาน แต่ใช้ในการตั้งเป้าหมายเล็กๆ กับเรื่องส่วนตัวได้