ทฤษฎีสังคมวิทยา

ผู้เขียน: สุภางค์ จันทวานิช

สำนักพิมพ์: ศูนย์หนังสือจุฬา/chula

หมวดหมู่: หนังสือเตรียมสอบ แนวข้อสอบ , ปริญญาตรี

0 รีวิว เขียนรีวิว

144.00 บาท

160.00 บาท ประหยัด 16.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 5 แต้ม

แม้ทฤษฎีส่วนใหญ่จะถูกพัฒนาขึ้นมาในโลกตะวันตก ก็ยังมีสาระที่นํามาปรับประยุกต์ในการช่วยอธิบายสังคมไทยได้ < แสดงน้อยลง แม้ทฤษฎีส่วนใหญ่จะถูกพัฒนาขึ้นมาในโลกตะวันตก ก็ยังมีสาระที่นํามาปรับประยุกต์ในการช่วยอธิบายสังคมไทยได้
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com World Book Day ลด 10%*

144.00 บาท

160.00 บาท
160.00 บาท
ประหยัด 16.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 5 แต้ม

จำนวน :

1

  • โปรโมชั่นพิเศษ:
    • Naiin.com World Book Day ช้อปครบ 3 เล่ม ลด 15%*
จำนวนหน้า
340 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
20.9 x 14.5 x 1.5 CM
น้ำหนัก
0.4 KG
บาร์โค้ด
9789740322825

รายละเอียด : ทฤษฎีสังคมวิทยา

ทฤษฎีสังคมวิทยา

ทฤษฎีสังคมวิทยาเป็นทฤษฎีพื้นฐานสําหรับทําความเข้าใจสังคม แม้ทฤษฎีส่วนใหญ่จะถูกพัฒนาขึ้นมาในโลกตะวันตก ก็ยังมีสาระที่นํามาปรับประยุกต์ในการช่วยอธิบายสังคมไทยได้ ดังตัวอย่างของทฤษฎีหลังสมัยใหม่ (Post Modernism) ในบทที่ 9 ของหนังสือนี้ที่ใช้อธิบายภาวะหลังสมัยใหม่ โดยจําเป็นต้องเท้าความกลับไปยังภาวะสมัยใหม่เพื่อให้เห็นความแตกต่าง เมื่อนํามาใช้ทําความเข้าใจปรากฏการณ์ทางสังคมของไทยก็จะพบว่าสังคมไทยนั้นมีทั้งแง่มุมที่ยังเป็นสมัยใหม่หรือก่อนสมัยใหม่ (premodernity) ด้วยซ้ำในบางแง่ แต่ก็ยังคงมีอีกบางแง่มุมที่อาจอธิบายได้โดยใช้แนวคิดบางแนวใน ทฤษฎีหลังสมัยใหม่ เช่นในเรื่องการเมืองและอํานาจ สังคมไทยยังคงเป็นการเมืองที่อํานาจอยู่ที่ชนชั้นสูงและเป็นการใช้อํานาจจากบนสู่ล่างตามลักษณะก่อนสมัยใหม่ แต่ในขณะเดียวกัน สภาพที่เกิดขึ้นก็สะท้อนให้เห็นสภาวะหลังสมัยใหม่ว่าไม่มีอํานาจแบบเบ็ดเสร็จ ความสัมพันธ์เชิงอํานาจไม่ตายตัว เกิดอํานาจที่เป็นเครือข่าย ในขณะเดียวกันก็ไม่มีกลุ่มปัญญาชนแบบชนชั้น (organic intellectual) ที่เป็นตัวแทนชนชั้นแรงงานอย่างชัดเจนดังที่นักทฤษฎีนีโอมาร์กซิสต์ระบุไว้ในการต่อสู้ทางชนชั้น และเกิดการสร้างความหมายใหม่ให้แก่สิ่งเดิมในลักษณะที่เรียกว่าการรื้อสร้าง (deconstruction) ตามแนวคิดหลังสมัยใหม่ไปพร้อม ๆ กัน

การศึกษาทฤษฎีทางสังคมวิทยาจึงช่วยให้ผู้ศึกษาไม่ว่าจะอยู่ในศาสตร์ใดและระดับการศึกษาใดสามารถปรับประยุกต์ใช้แนวคิดและทฤษฎีต่าง ๆ มาทําความเข้าใจสภาวะทางสังคมซึ่งล้วนแต่มีความลักลั่น ซับซ้อน พาดผ่านกาลเวลา และท้าทายชวนให้คิดอธิบายและหาคําตอบว่าทําไมจึงเป็นเช่นนี้ บางครั้งอาจอธิบายได้โดยหลายทฤษฎี ผู้เขียนได้พยายามทําคําอธิบายของแต่ละทฤษฎีให้ง่ายแก่การเข้าใจ และชวนให้ผู้อ่านเกิดความสนใจที่จะค้นคว้าอ่านเพิ่มเติมเพื่อให้แตกฉานยิ่งขึ้น

สุภางค์ จันทวานิช


สารบัญ : ทฤษฎีสังคมวิทยา

    • บทที่ 1 บทนำ
    • บทที่ 2 ทฤษฎีสังคมวิทยาคลาสสิค: ก้องต์ ดูร์ไคม์ เวเบอร์
    • บทที่ 3 ทฤษฎีมาร์กซิสม์
    • บทที่ 4 สำนักชิคาโก้ สำนักปรากฏการณ์วิทยาและสำนักปฏิพันธ์เชิงสัญลักษณ์
    • บทที่ 5 ทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่นิยม
    • บทที่ 6 ทฤษฎีนีโอมาร์กซิสม์
    • บทที่ 7 พื้นฐานความคิดหลังสมัยใหม่: ภาวะสมัยใหม่ นิทเช่ และบาร์ตส์
    • บทที่ 8 ทฤษฎีหลังโครงสร้างนิยม
    • บทที่ 9 ทฤษฎีหลังสมัยใหม่ (โพสน์โมเดิร์น)
    • บทที่ 10 บทส่งท้าย

เนื้อหาปกหลัง : ทฤษฎีสังคมวิทยา

“นักสังคมวิทยาไม่อาจลอยตัวอยู่กับทฤษฎีทางวิชาการโดยไม่สัมผัสกับความเป็นจริงอันโหดร้าย นักสังคมวิทยาในแนวสังคมวิทยาสาธารณะเห็นว่า นักสังคมวิทยาต้องเลือกข้าง ในสังคมที่เศรษฐกิจทุนนิยมได้บีบคั้นคนจนและคนด้อยโอกาส ให้ร่นไปอยู่ชายขอบของสังคม นักสังคมวิทยาย่อมต้องมีบทบาทในการสร้างประชาสังคม และช่วยปกป้องผลประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์”

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
loading