วิชาการในฐานะอาชีพ

ผู้เขียน: มักซ์ เวเบอร์ (MAX WEBER)

สำนักพิมพ์: สมมติ/Sommot

หมวดหมู่: หนังสือบทความ สารคดี , หนังสือสารคดี

0 รีวิว เขียนรีวิว

135.00 บาท

150.00 บาท ประหยัด 15.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 5 แต้ม

เราจะทำในสิ่งที่ไม่มีที่สิ้นสุด และไม่มีทางถึงจุดสิ้นสุดกันไปทำไม? < แสดงน้อยลง เราจะทำในสิ่งที่ไม่มีที่สิ้นสุด และไม่มีทางถึงจุดสิ้นสุดกันไปทำไม?
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com World Book Day ลด 10%*

135.00 บาท

150.00 บาท
150.00 บาท
ประหยัด 15.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 5 แต้ม

จำนวน :

1

  • โปรโมชั่นพิเศษ:
    • Naiin.com World Book Day ช้อปครบ 3 เล่ม ลด 15%*
จำนวนหน้า
164 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
13.2 x 20.9 x 1.1 CM
น้ำหนัก
0.178 KG
บาร์โค้ด
9786167196701

รายละเอียด : วิชาการในฐานะอาชีพ

มักซ์ เวเบอร์ มีชื่อเต็มว่า คาร์ล อีมิล มักซ์มิเลียน เวเบอร์ ( Karl Emil Maximilian Weber ) เขาเกิดในวันที่ 21 เมษายน ค.ศ.1864 เป็นลูกชายคนโตของพี่น้องจำนวนทั้งหมด 8 คน เขาสำเร็จปริญญาเอกชิ้นที่สอง ( Habilitation ) เรื่องประวัติศาสตร์การกสิกรรมของโรมันในปี ค.ศ. 1891 ทำให้สามารถสอนหนังสือในมหาวิทยาลัยได้ ในปี ค.ศ. 1893 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ด้านกฏหมายและเศษฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเบอร์ลิน และได้แต่งงานกับญาติทางฝ่ายแม่คือ มารีแอน สนิทเกอร์ ( Marianne Schnitger ) ในปีถัดไปเขาได้ถูกเชิญให้ไปเป็นอาจารย์ในคณะรัฐศาสตร์ ( Staatwissenschaft ) ที่มหาวิทยาลัยไฟร์บวร์ก ( Friburg ) เขาได้กล่าวปาฐกถาเรื่อง "The National State and Economic Policy" ในการรับตำแหน่ง (inaugural Iecture ) ต่อมาในปี ค.ศ. 1897 พ่อที่เขาทำตัวเหินห่างได้ระยะหนึ่งเสียชีวิต หลังจากนั้นไม่นาน เข้าได้ย้ายไปสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์ก แต่ปีต่อมา เขามรอาการหดหู่ทางจิตจนต้องขอหยุดพักการสอน เขาเริ่มฟื้นตัวจากอาการหดหู่้ในปี ค.ศ.1902 และได้เดินทางไปร่วมการประชุมทางวิทยาศาสตร์ที่เมืองเซนต์ หลุยส์ ( St. Louis ) ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ.1904 เขายอมรับตำแหน่ง 'ศาสตราจารย์ผู้ทรงเกียรติ' จากมหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์ก ทำให้ไม่ต้องสอนหนังสืออีกต่อไป 


คำนำ : วิชาการในฐานะอาชีพ

คงไม่มียุคใดสมัยใดที่สังคมไทยมีความขัดแย้งวุ่นวายทั้งทางความคิดและการปฏิบัติได้เท่ากับปัจจุบันนี้ ภาพที่เราพบได้เป็นปกติก็คือ ไม่ว่าเกิดปรากฏการณ์ใดขึ้นมา อย่างน้อยที่สุด เราจะมีสองทัศนะที่แตกต่างตรงกันข้ามกันเลย และทั้งสองทัศนะนี้พร้อมจะห้ำหั่นทำทุกอย่าง เพื่อที่จะทำให้ความเห็นของตนเหนือกว่าอีกฝ่าย การไม่เห็นพ้องต้องกันลักษณะนี้หยั่งรากลึกลงไปและนับวันจะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น แน่นอนความขัดแย้งเช่นนี้ เกิดขึ้นในแทบทุกสังคม จึงไม่ใช่เรื่องผิดปกติแต่อย่างใด แต่ลักษณะเฉพาะที่มีความขัดแย้งของสังคมไทยคือการที่เราขาดเหตุผล คือเราไม่เคยสงสัยหรือตั้งคำถามกับสิ่งที่เราสมาทานหรือไม่เคยตรวจทานความคิดความเชื่อที่เรามีแม้แต่น้อย เหตุผลที่เรามีจึงไม่ใช่เหตุผลที่แท้ เป็นเพียงแต่คำอ้างที่นำมาแก้ต่างให้ความคิดความเชื่อของตนเท่านั้น...

สารบัญ : วิชาการในฐานะอาชีพ

    • เสียงกู่เรียกของนักวิชาการกับความเงียบงันของศาสตร์ในโลกสมัยใหม่: แนะนำวิชาการในฐานะอาชีพของ มักซ์ เวเบอร์
    • วิชาการในฐานะอาชีพ
    • บทอธิบายเพิ่มเติม ข้อสังเกตบางประการต่อแนวคิด value-freedom ของมักซ์ เวเบอร์

เนื้อหาปกหลัง : วิชาการในฐานะอาชีพ

[...] วิชาการนั้นมีความหมายในแบบเฉพาะที่แตกต่างจากอาณาจักรบริเวณอื่นๆในวัฒนธรรม 'การเติมเต็ม' ทางวิชาการนั้นได้สร้างคำถามใหม่ๆ ขึ้นมาเสมอ มันเรียกร้องที่จะถูกก้าวข้ามไปและกลายเป็นสิ่งล้าสมัย ใครก็ตามที่ต้องการจะรับใช้วิชาการจำเป็นต้องยอมรับข้อเท็จจริงนี้... การถูกก้าวข้ามไปในทางวิชาการไม่ได้เป็นเพียงชะตากรรมของเรา แต่มันคือเป้าหมายของเรา เราไม่สามารถทำงานโดยปราศจากการดำรงชีวิตด้วยความหวังว่าผู้อื่นจะมีความก้าวหน้าเหนือเรา ในทางหลักการแล้ว ความก้าวหน้าเหล่านี้จะดำเนินต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

เราจะทำในสิ่งที่ไม่มีที่สิ้นสุด และไม่มีทางถึงจุดสิ้นสุดกันไปทำไม?

[...] อะไรคือความสำเร็จที่มีความหมายซึ่งเขาสามารถคาดหวังได้จากกิจกรรมที่ถูกสาปให้ล้าสมัยในที่สุด? อะไรคือเหตุผลที่ทำให้เขาพร้อมที่จะทำงานในกิจกรรมเฉพาะทางที่ไม่มีวันจบสิ้นอันนี้

มักซ์ เวเนอร์ ( Max Weber )

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
loading