รายละเอียด : มหามงคลเหนือเกล้าฯ ธ สถิตในดวงใจ ตลอดกาล
มหามงคลเหนือเกล้าฯ ธ สถิตในดวงใจ ตลอดกาล
ในคราวที่พระองค์ทรงผนวชเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๙ นับเป็นพระราชกรณียกิจทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญที่สุด ทรงผนวชด้วยพระราชศรัทธาตั้งมั่นในพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง แม้จะผ่านการศึกษาจากต่างประเทศก็มิได้เป็นบุคคลที่เรียกว่า "หัวใหม่" ซึ่งไม่ค่อยเห็นความสำคัญของศาสนา แต่ได้ทรงเห็นคุณค่าของพระศาสนา ทรงผนวชด้วยพระราชศรัทธาประกอบด้วยพระปัญญา และได้ทรงปฏิบัติพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด...อาทิ เมื่อเสด็จฯ ไปทั้งในวัดและนอกวัดไม่ทรงฉลองพระบาท เสด็จไปด้วยพระบาท เปล่าทุกแห่งได้ทรงปฏิบัติกิจวัตรต่าง ๆ อย่างสมบูรณ์ และทรงรักษาเวลามาก เมื่อตีระฆังลงโบสถ์ในวันปกติทุกเช้า-เย็น เวลา ๐๘.๐๐ น. และเวลา ๑๗.๐๐ น. ก็จะเสด็จลงโบสถ์ทันที ทำให้พระภิกษุสามเณรทั้งวัดบวนนิเวศพากันรักษาเวลาอย่างเคร่งครัด
คำนำ : มหามงคลเหนือเกล้าฯ ธ สถิตในดวงใจ ตลอดกาล
ในวโรกาสครบ ๖๐ ปีแห่งการครองราชย์ขององค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นับเป็นห้วงเวลาที่เป็นมหามงคลยิ่งของคนไทยทุกคน
ปฐมบรมราชโองการ "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม" เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓ ปรากฏเป็นจริงซึ่งคนไทยทุกคนทราบซึ่งกันดี
วันหนึ่งผู้เขียน (พ.สุวรรณ) และภรรยาได้ไปชมนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ณ ตึกมนุษย์นาควิทยาทาน วัดบวรนิเวศวิหาร กทม. ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๙-๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๙
ผู้เขียน (พ.สุวรรณ) ตั้งใจไปชมนิทรรศการดังกล่าวใน วันธรรมดา เพื่อหลีกเลี่ยงความแออัด เนื่องจากทราบข่าวจากหนังสือพิมพ์ว่า มีประชาชนไปชมนิทรรศการฯ กันอย่างล้นหลาม ตลอดทั้งวัยปรากฏว่าวันนั้นยังมีประชาชนมาชมนิทรรศการฯ กันอย่างเนืองแน่ พอ ๆ กับวันหยุด และเข้าคิวเพื่อลงนามถวายพระพรนั้น คนข้าง ๆ ผู้เขียนเอ่ยถามว่า "มาวัดบวรฯบ่อยไหม"
สารบัญ : มหามงคลเหนือเกล้าฯ ธ สถิตในดวงใจ ตลอดกาล
- มหามงคลปีติ : รับสั่ง "ฉันจะอยู่ถึง ๑๒๐ ปี"
- บทบวงสรวงบูรพกบัษตราธิราชเจ้า
- พระราชดำรัสวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙
- สุดปีติ "ในหลวง" หายประชวร
- อาหารพระราชทาน
- หากพระองค์อยู่ถึง ๑๓๐ ปี ประเทศไทยจะดีขึ้นมาก
- ทรงสร้าง "พระสมเด็จจิตรลดา"
- ทรงผนวชพระราชกรณียกิจทางพุทธศาสนาที่สำคัญที่สุด
ข้อมูลเพิ่มเติม : มหามงคลเหนือเกล้าฯ ธ สถิตในดวงใจ ตลอดกาล
- สำนักพิมพ์ : เคล็ดไทย
- บาร์โค้ด : 9786167166735
- จำนวนหน้า : 216
- ขนาด : 14.5 x 20.8 x 1.3 CM
- น้ำหนัก : 0.356 KG
- หมวดหมู่ : หนังสือพระราชนิพนธ์ หนังสือพระราชประวัติราชวงศ์