ย้อยรอยประวัติศาสตร์ วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว

ผู้เขียน: พระครูสิทธิสังวรฺ (วีระ ฐานวีโร)

สำนักพิมพ์: สัมปะชัญญะ

หมวดหมู่: ธรรมะ ศาสนา และปรัชญา , ธรรมะ ศาสนา และปรัชญา

0 รีวิว เขียนรีวิว

61.75 บาท

65.00 บาท ประหยัด 3.25 บาท (5.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 6 แต้ม

พาท่านย้อนรอยประวัติศาสตร์วัดเเก้วฟ้า-ป่าเเก้ว ตั้งเเต่เริ่มสถาปนาจนกระทั่งถึงกาลอวสาน ตลอดจนประวัติพระพนรัตน์เเห่งวัดเเก้วฟ้า-ป่าเเก้ว สมัยกรุงศรีอยุธยาที่มีมาถึง ๒๔ พระองค์ < แสดงน้อยลง พาท่านย้อนรอยประวัติศาสตร์วัดเเก้วฟ้า-ป่าเเก้ว ตั้งเเต่เริ่มสถาปนาจนกระทั่งถึงกาลอวสาน ตลอดจนประวัติพระพนรัตน์เเห่งวัดเเก้วฟ้า-ป่าเเก้ว สมัยกรุงศรีอยุธยาที่มีมาถึง ๒๔ พระองค์

Tags: ประวัติศาสตร์ , พระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน

61.75 บาท

65.00 บาท
65.00 บาท
ประหยัด 3.25 บาท (5.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 6 แต้ม

จำนวน :

1

จำนวนหน้า
0 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
14.5 x 20.9 x 0.5 CM
น้ำหนัก
0.1 KG
บาร์โค้ด
9786167340876

รายละเอียด : ย้อยรอยประวัติศาสตร์ วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว

ย้อยรอยประวัติศาสตร์ วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว

วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว เป็นพระอารามฝ่ายอรัญวาสีใหญ่ในสมัยอยุธยาตอนต้น ตั้งอยู่บริเวณริมคลองคูจาม ตัดคลองตะเคียน ฝั่งตะวันออก อยู่หลังวัดพุทไธศวรรย์ เข้าไปในป่า สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ หรือพระเจ้าอู่ทอง (พ.ศ.๑๘๕๗-พ.ศ.๑๙๑๒) พระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกในราชวงศ์อู่ทองแห่งอาณาจักรอยุธยา ทรงสถาปนาเจ้าอาวาสวัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว เป็นที่พระนพรัตน์ พระสังฆราชฝ่ายซ้าย

พระภิกษุสมัยกรุงศรีอยุธยาทุกรูป ล้วนต้องมาขึ้นพระกรรมฐานโบราณมัชฌิมา แบบลำดับที่วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว กับพระนพรัตน์ พระสังฆราชฝ่ายซ้าย ถือเป็นประเพณีมาตลอด ๔๑๗ ปี แม้แต่สมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) ก็มาขึ้นพระกรรมฐานโบราณ มัชฌิมา แบบลำดับ โดยพระอุปัชฌาย์นำมาฝากกับพระนพรัตน์ (แก้ว)

วัดเล็กๆ ที่อยู่สองริมฝั่งคลองคูจาม เรียงรายตั้งแต่หลังพุทไธศวรรย์ลงไปถึงวัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว ล้วนเป็นวัดฝ่ายอรัญวาสีที่ขึ้นกับวัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว เจ้าคณะอรัญวาสีใหญ่ ทั้งสิ้น

วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว ถูกผู้คนลืมเลือนไปกว่า ๒๐๐ ปี เนื่องจากหลังกรุงศรีอยุธยาแตก วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้วกลายเป็นซากวัดร้างทรุดโทรม พระพุทธรูปวัดนี้สร้างด้วยศิลาทั้งสิ้น ไม่นิยมสร้างเป็นโลหะ พระอุโบสถเป็นอุทกเสมา โบสถ์มีน้ำล้อมรอบ ตามแบบคณะสงฆ์ป่าแก้ว ที่สืบต่อมาจากสุโขทัยและอโยธยา ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้อาราธนาคณะป่าแก้วมาจากลังกา แล้วไปตั้งที่เมืองพิษณุโลก วัดแก้วฟ้าจุฬามณีเพราะที่กรุงศรีอยุธยามีแล้ว คือวัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว


คำนำ : ย้อยรอยประวัติศาสตร์ วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว

 


สารบัญ : ย้อยรอยประวัติศาสตร์ วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว

    • ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับวัดป่าเเก้วเเห่งกรุงศรีอยุธยา
    • ย้อยรอยประวัติศาสตร์ วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว
    • ศรีพระอริยสงฆ์ผู้สืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา เเบบลำดับ
    • ภาคผนวก

เนื้อหาปกหลัง : ย้อยรอยประวัติศาสตร์ วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว

ย้อยรอยประวัติศาสตร์ วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว

มังคะลัง กัมมัฏฐานัง จิตตัง ประสิทธิเม คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม

รูปหล่อสมเด็จพระนพรัต วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว หล่อด้วยโลหะปิดทองถอดได้ครึ่งองค์ ประดิษฐานอยู่หน้าอุโบสถ วักษัตตราธิราช เชิญมาจากวัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว (วัดเจ้าฟ้า หรือวัดแก้วฟ้า ก็เรียก โบราณเรียกว่า วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว อยู่หลังวัดพุทไธศวรรย์ คลองคูจาม หมู่บ้านดงตาล ต.สำเภาล่ม อ.เมืองอยุธยา ชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อแก่ โบราณเรียกว่าหลวงปู่เฒ่า พระนามเดิมว่า รอด

 



รีวิวโดยสำนักพิมพ์ : ย้อยรอยประวัติศาสตร์ วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว

ย้อยรอยประวัติศาสตร์ วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว

หนังสือเรื่อง ย้อยรอยประวัติศาสตร์ วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว เล่มนี้ รวบรวมเเละเรียบเรียงโดยพระครูสิทธิสังวร (วีระ ฐานวีโร) พระอาจารย์ผู้สืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา เเบบลำดับ องค์ปัจจุบัน เเห่งวัดราชสิทธิธาราม หนังสือเล่มนี้ได้กล่าวถึงข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับวัดป่าเเก้วเเห่งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นที่สถิตของ พนรัตน์ (วนรัต) สมัยกรุงศรีอยุธยา นอกจากนั้น ยังพาท่านย้อนรอยประวัติศาสตร์วัดเเก้วฟ้า-ป่าเเก้ว ตั้งเเต่เริ่มสถาปนาจนกระทั่งถึงกาลอวสาน ตลอดจนประวัติพระพนรัตน์เเห่งวัดเเก้วฟ้า-ป่าเเก้ว สมัยกรุงศรีอยุธยาที่มีมาถึง ๒๔ พระองค์

หนังสือเล่มนี้นอกจากจะมีคุณค่าทางพระพุทธศาสนาเเล้ว ยังมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ชาติไทยอย่างยิ่ง เนื่องจากวัดเเก้วฟ้า-ป่าเเก้วเป็นวัดที่สร้างขึ้นตั้งเเต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น มีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจหลายประการซึ่งยังหาข้อยุติไม่ได้ ดังนั้นทางสำนักพิมพ์จึงใคร่ขอเรียนเชิญทุกท่าน ร่วมย้อนรอยประวัติศาสตร์ วัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว ไม่เเน่ใจว่าข้อมูลบางอย่างอาจจะเปลี่ยนประวัติศาสตร์ชาติไทยที่ท่านเคยเชื่อไปตลอดกาล

สำนักพิมพ์ขอกราบขอพระครูสิทธิสังวร (วีระ ฐานวีโร) ที่มอบต้นฉบับให้สำนักพิมพ์จัดพิมพ์ เเละขอขอบคุณอาจารย์จตุพร โดมไพรวัลย์ที่ได้ช่วยขัดเกลาเนื้อหาให้น่าอ่านสมบูรณ์ยิ่งขึ้น บุญกุศลอันเกิดจากหนังสือ เล่มนี้ ขออุทิศให้พ่อ-เเม่ ครู อุปัชฌาย์ อาจารย์ เทวดา ทั้งสิบหกชั้นฟ้า สิบห้าชั้นดิน เเละเจ้ากรรมนายเวร จงมาขอรับบุญกุศลครั้งนี้ด้วยเทอญ...

สำนักพิมพ์สัมปชัญญะ

มิถุนายน ๒๕๕๙

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
loading