ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 3

ผู้เขียน: ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช

สำนักพิมพ์: ม.ธรรมศาสตร์

หมวดหมู่: หนังสือเตรียมสอบ แนวข้อสอบ , ปริญญาตรี

0 รีวิว เขียนรีวิว

340.00 บาท

400.00 บาท ประหยัด 60.00 บาท (15.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 13 แต้ม

หนังสือตำราที่ได้รับรางวัล โครงการส่งเสริมการสร้างตำรา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ < แสดงน้อยลง หนังสือตำราที่ได้รับรางวัล โครงการส่งเสริมการสร้างตำรา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ส่วนลด:
    ลด 15%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com Top Up Mid-Month Sale! ลด 15%

340.00 บาท

400.00 บาท
400.00 บาท
ประหยัด 60.00 บาท (15.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 13 แต้ม

จำนวน :

1

จำนวนหน้า
376 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
18.4 x 26 x 1.8 CM
น้ำหนัก
0.716 KG
บาร์โค้ด
9786163142191

รายละเอียด : ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 3

โครงการส่งเสริมการสร้างตำรา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2520 โดยมรวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้คณาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ผลิตตำราที่มีคุณภาำมากขึ้น

คณะกรรมการส่งเสริมการสร้างตำราประกอบด้วยบุคคลทมี่อธิบายดีีแต่งตั้ง มีหร้าที่พิจารณากำหนดนโยบายและวิธีการที่จะอำนวยความสะดวกแก่คณาจารย์ในการจัดพิมพ์ดำราที่มีคุณภาพ โดยคณะกรรมการฯ จะพิจารณาคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ตรวยสอบคุณภาพของต้นฉบับตำรา หนังสือแปล และหนังสือประกอบการศึกษาที่คณาจารย์มหาวิทยาลับธรรมศาสตร์เสนอเพื่อพิจารณาจัดพิมพ์ ในกรณีที่ผู้ทรงคุณวุฒิและคณะกรรมการฯ มีความเห็นว่าสตันฉบับหนังสือดังกล่าวมีคุณภาพดีหรือดีมาก จะได้รับกสรตีพิมพ์ในฐานะหนังสือที่ได้รับรางวัลโดบสำรักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

หนังสือ ความรู้ทั่วไปกี่ยวกับกฏหมาย แต่โดย รองศาสตรจารย์ประสิทธิ์ปิวาวัฒนพานิช เป็นผลงานที่ผู้ทรงคุณวุฒืและคณะกรรมการส่งเสรืมการสร้างตำรามีมติให้ได้ีรับรางวัลขั้นดี ใน ปี พ.ศ. 2544


คำนำ : ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 3

การศึกษาวิชานิติศาสตร์ผู้เรียนจะต้องศึกษาทำความเข้าใจทั้งในส่วนที่เป็นทฤษฎีทั่วไปเกี่ยวกับกฏหมายและในส่วนที่เป็นวิชานิติศาสตร์โดยแท้ ซึ่งเป็นการศึกษาเล่าเรียนตัวบทกฏหมายและคำพิพากษาฏีกา ทั้งสองส่วนมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด หากผู้เรียนจะศึกษาแต่ตัวบทกฎหมายเพียงอย่างเดียวก็จะไม่มีกรอบความคิดหรือมีนิติวิธีเพียงพอที่จะแก้ไขปัญหาข้อกฏหมายที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าได้ แต่ครั้นจะศึกษาเฉพาะทฤษฎีทั่วไปของกฎหมายก็เพียงพออีกเช่นกัน เพราะการศึกษาเนื้อหาของกฏหมายแต่ละเรื่อง แต่ละสาขาว่ามีหลักเกณฑ์อย่างไร ฉะนั้น จะเป็นนักกฏหมายได้ต้องศึกษาวิชานิติศาสตร์โดยแท้ด้วย แต่ถ้าจะเป็นนักกฏหมายที่ดีต้องศึกษาทั้งสองส่วน เพราะเนื้อหาของภาคทั่วไปและภาคเฉพาะนั้นเกี่ยวเนื่องกันอยู่อย่างใกล่ชิด จะศึกษาส่วนหนึ่งส่วนใดแยกออกเป็นเอกเทศมิได้

ในส่วนที่เป็นภาคทั่วไปนั้นจะศึกษาข้อความคิดทั่วไปเกี่ยวกับสถาบันสังคม บ่อเกิดของกฏหมาย การแบ่งประเภทของกฏหมาย ตลอดจนนิติวิธีเกี่ยวกับการตีความกฏหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บทที่หนึ่ง ผู้เขียนพยายามอธิบายการเกิดขึ้นและพัฒนาการของสถาบันสังคมตั้งแต่ครอบครัวเรื่อยมาจนกระทั่งถึงรัฐสมัยใหม่ โดยในเรื่องนี้จะมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดในสังคมสำหรับภาคเฉพาะนั้นจะศึกษากฏหมายแพ่งบางเรื่อง กฏหมายรัฐธรรมนูญ รวมทั้งกฏหมายขัดกันและกฏหมายระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นส่วนที่ตำราความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฏหมายไม่ค่อยกล่าวถึงสำหรับวิธีการเขียนหนังสือเล่มนี้ผู้เขียนใช้วิธีการศึกษาเชิงเปรียบเทียบกันกฏหมายต่างประเทศ ว่าในเรื่องนั้นๆ กฏหมายไทยแตกต่างหรือเหมือนกับกฏหมายต่างประเทศ อย่างไร และวิเคราะห์ข้อความคิด ว่า บทกฏหมายปัจจุบันมีความหมายแคบกว้างเพียงใด

 


สารบัญ : ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 3

    สถาบันทางสังคม : จากครอบครัวสู่รัฐ

    บ่อเกิดของกฏหมาย

    • บ่อเกิดของกฏหมายที่มิได้บัญญัติขึ้น
    • บ่อเกิดของกฏหมายที่บัญญัติขึ้น

    การแบ่งประเภทของกฏหมาย

    ขอบเขตการบังคับให้กฏหมาย

    การตีความกฏหมาย

    ธรรมเนียมปฏิบัติทางกฏหมายของซีวิลลอว์และคอมมอนลอว์

    ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฏหมายแพ่ง 1

    ความรุ้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฏหมายแพ่ง 2

    กฏหมายรัฐธรรมนูญ

    กฏหมายขัดกัน

    กฏหมายระหว่างประเทศ

     


เนื้อหาปกหลัง : ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 3

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฏหมาย

ส่วนที่หนึ่ง : ในภาคทั่วไปนั้น จะศึกษาถึงประวัติความเป็นมาของสถาบันสังคมตั้งแต่ีครอบครัวสู่รัฐสมัยใหม่และวิวัฒนาการของแบบแผนที่ใช้ควบคุมความประพฤติของสมาชิกโดยเริ่มจากกฏหมายประเพณีมาสู่กฏหมายสมัยใหม่ ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจว่ากฏหมายมิใช่เกิดจากคำสั่งของรัฏฐาธิปัตย์อย่างเดียว แต่เกิดจากกฏเกณฑ์ทางศีลธรรมและการให้เหตุผลกี่ประเภทและใช้เกณฑ์อะไรเป็นเครื่องพิจารณา อีกทั้งยังได้อธิบายขอบเขตการบังคับใช้กฏหมายแต่ละแขนงต่อไปส่วนบทสุดท้ายของภาคทั่วไปได้กล่าวถึงธรรมเนียมปฏิบัติทางกฏหมาย หรือระบบกฏหมายสมัยใหม่คือ ระบบซีวิลลอว์

ส่วนที่สอง : สำหรับภาพเฉพาะนั้นได้ศึกษาเกี่ยวกับเนื้อหาสาระของกฏหมายต่างๆ เช่น กฏหมายแพ่ง กฏหมายรัฐธรรมนูญ กฏหมายขัดกัน เป็นต้น ส่วนนี้ผู้อ่านได้ศึกษาหลักเกณฑ์ที่สำคัญของกฏหมายต่างๆ โดยผู้เขียนได้เปรียบเทียบกฏหมายไทยกับระบบกฏหมายที่สำคัญคือระบบกฏหมายพื้นยุโรปและกฏหมายอังกฤษ เพื่อจะได้เป็นประโยชน์สำหรับการศึกษาค้นคว้าต่อไป

ตำราเล่มนี้ได้ให้รายชื่อหนังสืออ้างอิงภาษาอังกฤษไว้หลายเล่ม อันจะเป็นประโยชน์ผู้สนใจที่ค้นหว้าต่อไปในหัวข้อหนึ่งหัวข้อใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
loading