พุทธานุสสติ หัวใจกรรมฐาน

ผู้เขียน: พระครูสิทธิสังวรฺ (วีระ ฐานวีโร)

สำนักพิมพ์: สัมปชัญญะ

หมวดหมู่: ธรรมะ ศาสนา และปรัชญา , ธรรมะ ศาสนา และปรัชญา

0 (0) เขียนรีวิว

90.00 บาท

100.00 บาท ประหยัด 10.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 3 คะแนน

อานิสงส์แห่งผลบุญในการปฏิบัติกรรมฐานสามารถพิสูจน์ได้ด้วยตนเอง < แสดงน้อยลง อานิสงส์แห่งผลบุญในการปฏิบัติกรรมฐานสามารถพิสูจน์ได้ด้วยตนเอง
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com September Peak Sale หนังสือลดเลย 10%

90.00 บาท

100.00 บาท
100.00 บาท
ประหยัด 10.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 3 คะแนน

จำนวน :

1

จำนวนหน้า
110 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
14.5 x 20.9 x 0.6 CM
น้ำหนัก
0.143 KG
บาร์โค้ด
9786167340845

รายละเอียด : พุทธานุสสติ หัวใจกรรมฐาน

ข้าพเจ้าได้เรียบเรียงหนังสือ "พุทธานุสสติหัวใจกรรมฐาน" พื้นฐานเบื้องต้น ของสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อเปิดประตูไปสู่กรรมฐานอื่นๆ ได้ง่าย เป็นกรรมฐานตามแบบดังเดิมของสมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน ที่พระองค์ท่านได้สืบทอดมาแต่สมัยอยุธยาสำหรับให้ท่านทั้งหลายฝึกสมถกรรมฐานอย่างง่าย ให้เข้าใจง่ายเป็นวิธีฝึกสมถกรรมฐาน ให้ค่อยเป็นค่อยไป ตั้งแต่จิตเดิม ที่ไม่เคยตั้งสมาธิได้เลย จนถึงขั้นตั้งสมาธิได้ เป็นลำดับๆ ไป

ปัจจุบันนี้มีสำนักฝึกกรรมฐานเกิดขึ้นมากมาย บางแห่งก็ปฏิบัติถูกต้องตามแบบแผน บางแห่งก็ปฏิบัติไม่ถูกต้องตามแบบแผน ตามหลักที่พระพุทธเจ้าทรงวางแบบแผนไว้ ถ้าปฏิบัติถูกแบบแผน จิตก็จะดำเนินไปในทางสัมมาสมาธิ เป็นสมาธิที่ถูกต้อง และสามารถที่จะดำเนินภาวนาสมาธิขั้นสูงต่อไปได้

ถ้าปฏิบัติไม่ถูกแบบแผน จิตก็ไม่สามารถดำเนินไปในทางสัมมาสมาธิ จิตที่ฝึกผิดทางจะเป็นมิจฉาสมาธิ ทำให้เกิดจิตหลอน จิตหลอนมีอุปทานมากมาย เช่น สำคัญตนว่ารู้จริงบ้าง เห็นจริง หรือสำคัญตนว่าได้สำเร็จมรรคผลแห่งนิพาน

การฝึกกรรมฐานโดยวิธีนำจิต และอ่านหนังสือกรรมฐานที่บอกสภาวธรรมไว้บ่อยๆ มามากๆ จะทำให้จิตเกิดอุปทาน จะรู้ตามสภาวธรรมที่เป็นจริงนั้นยาก เพราะอุปาทาน การนึกคิดมากั้นขวางทางปัญญา ปัจจุบันมีเด็กหน่ม เด็กสาว และผู้คนชาย-หญิงในวัยต่างๆ เข้ามาฝึกสมาธิตามสำนักต่างๆ เป็นจำนวนมาก ครั้งแรก ถ้าฝึกสมถกรรมฐานผิดวิธี ทางดำเนินของจิตก็จะเสีย เรียกว่า ทางเดินของจิตไม่สะอาด จะแก้ทางยาก คือเกิด ทิฏฐิ มานะ มีมานะถือตัว ถือสำนักอย่างแรงกล้า ก็จะไม่สามารถจะแก้ทิฏฐิ คือความเห็นผิด และมานะการถือตัวนี้ได้ง่ายๆ

ถ้าแก้ทิฏฐิ มานะ คือการยึดติดสำนัก ยึดติดครูบาอาจารย์ติดกรรมฐานของเก่าไม่ได้ บุคคลผู้นั้นก็ไม่สามารถที่จะเรียนรู้อะไรได้เลย หรือไม่สามารถเพิ่มเติมการเรียนรู้ได้ จะรู้เพียงแค่นั้น เพราะไม่แก้มัดตัวเองคือไม่แก้ทิฏฐิ เกี่ยวกับความเห็นผิด มานะ ความถือตัว

การที่จะรู้ว่า การฝึกกรรมฐานอย่างไหนผิดทาง อย่างไหนถูกทางโดยมีคนชี้นำ ของสำนักนั้นปฏิบัติถูกทาง สำนักนี้ปฏิบัติผิดทาง อย่างนี้เป็นการบอกกล่าวที่ผิด ที่ถูกทางก็คือ ให้ผู้ปฏิบัติๆ ไปในแต่ละสำนักกรรมฐานต่างๆ และผู้ปฏิบัติจะรู้ได้ด้วยตนเอง ว่าปฏิบัติกรรมฐานแบบไหนผิด ปฏิบัติแบบไหนถูก เหตุที่จะรู้ได้ เพราะการปฏิบัติสมถกรรมฐานเป็นการฝึกจิต ฝึกใจ เมื่อฝึกจิตได้ จิตจึงมีหน้าที่ รู้สิ่งถูก รู้สิ่งผิด

เมื่อฝึกสมถกรรมฐาน แบบถูกต้องได้แล้ว จิตสงบระงับดีแล้วจะทำให้จิตไม่ตกใจง่าย มีสติเข้มแข็งมากขึ้นกว่าแต่ก่อน เรียนหนังสือก็ดี ความจำก็ดี เพราะจิตมีสมาธิตั้งมั่นแล้ว เมื่อจิตมีสมาธิตั้งมั่นแล้วก็เป็นบาทฐานแห่งปัญญา และวิปัสสนาๆ ก็เกิดอย่างถูกต้อง เพราะมีสมถะที่เป็นสัมมาสมาธิเป็นบาทฐาน การเข้าใจว่าตัวเองได้มรรค ได้ผลแล้วจะไม่มี เพราะไม่มีการนำจิต การไปยึดติดสำนัก ยึดติดครูบาอาจารย์ก็ไม่มีอีก เพราะเกิดปัญญาวิปัสสนาว่า ไม่เที่ยง ถ้าคิดว่าสิ่งนี้เที่ยง สิ่งนี้มีตัวตน ก็จะยึดติดในสิ่งต่างๆ


สารบัญ : พุทธานุสสติ หัวใจกรรมฐาน

    • พื้นฐานเบื้องต้นสมถกรรมฐานและปัสสนากรรมฐานอย่างง่าย
    • พละ 5
    • อินทรีย์ 5
    • นิโรธสมาบัติ
    • ความระงับไปแห่งสังขาร การปรุงแต่ง 3
    • เครื่องสักการะพระรัตนตรัย
    • บททำวัตรพระกรรมฐาน
    • อธิบายบททำวัตรกรรมฐาน
    • คำกล่าวขมาโทษ
    • พระพุทธเจ้าตรัสการศึกษาตามลำดับ
    • ลำดับการตั้งสมาธิจิตในห้องพระพุทธเจ้า
    • คำอาราธนาพระกรรมฐาน (อธิฐานสมาธินิมิต)
    • คำอธิบายเวลากำหนดจิต
    • อธิบายคำอาราธนาสมาธินิมิต
    • วิธีนั่งเข้าที่ภาวนา
    • ก่อนนั่งสมาธิภาวนา
    • หลังเลิกนั่งภาวนา
    • วิธีแจ้งพระกรรมฐาน

เนื้อหาปกหลัง : พุทธานุสสติ หัวใจกรรมฐาน

การนั่งสมาธิครั้งแรก ต้องรู้วิธีการนั่งที่เหมาะสม สะดวกสบายดังแบบแผนที่ปรากฏว่า พึงนั่งคู่บัลลังก์ขัดสมาธิ (เท้าขวาทับเท้าซ้าย) ตั้งกายให้ตรง ตั้งสติไว้ให้มั่นในรอบหน้า (ใต้นาภี 2 นิ้ว) ผู้ปฏิบัติต้องมีสติ หายใจเข้าว่า   พุท หายใจออกว่า โธ เมื่อรู้วิธีนั่งเรียบร้อยแล้ว พึงควบคุมใจของตนเองให้มั่นอยู่ในอารมณ์เดียว อันเป็นอารมณ์ปัจจุบัน พยายามทำใจให้สงบเป็นสมาธินิ่งนาน ไม่ดิ้นรนกวัดแกว่ง ไปสู่อารมณ์อื่น

อานิสงส์แห่งผลบุญในการปฏิบัติกรรมฐานสามารถพิสูจน์ได้ด้วยตนเอง



รีวิวโดยผู้เขียน : พุทธานุสสติ หัวใจกรรมฐาน

ข้าพเจ้าได้เรียบเรียง พื้นฐานเบื้องต้น สมถกรรมฐาน และวิปัสสนาอย่างง่าย ในห้องพระพุทธานุสสติกรรมฐาน อันเป็น ยอดหัวใจสมถกรรมฐาน เป็นบทเบื้องต้นของกรรมฐานทั้งปวง ตามแนวปฏิบัติของ สมเด็จพระสังฆราช สุก ไกเถื่อน ขึ้นมา เพื่อให้ท่านทั้งหลายที่สนใจในการปฏิบัติธรรมได้ทราบแนวทาง และเหตุผลพระกรรมฐานตามแนวของพระสังฆราช ไก่เถื่อน อีกทั้งยังเป็นการผดุงรักษาการปฏิบัติกรรมฐานแบบลำดับ อันเป็นพระกรรมฐานประจำวัด ที่ได้รับการสถาปนาให้เป็นวัดอรัญวาสี ให้ดำรงไว้มั่นคงถาวรสืบไป

พระครูสิทธิสังวร (วีระ ฐานวีโร)

เจ้าคณะ ๕ วัดราชสิทธารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร



รีวิวโดยสำนักพิมพ์ : พุทธานุสสติ หัวใจกรรมฐาน

หนังสือ "พุทธานุสสติหัวใจกรรมฐาน" เล่มนี้ถือว่าเป็นบันไดขั้นพื้นฐานเบื้องต้นของสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานทั่วๆ ไป ปัจจุบันมีเด็กรุ่นใหม่นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปหันเข้ามาฝึกตามสำนักกรรมฐานต่างๆ มากมาย มีการปฏิบัติถูกบ้างผิดบ้างตามที่อาจารย์ผู้สอนแต่ละสำนักได้ร่ำเรียนมา ซึ่งทำให้ผู้ปฏิบัติเกิดสับสนและเกิดข้อข้องใจ

สำนักพิมพ์ได้รับมอบหมายจากพระครู่สิทธิสังวร (วีร ฐานวีโร) พระอาจารย์ผู้สืบทอดวิชาพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับองค์ปัจจุบัน ให้จัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ขึ้นมา ซึ่งเป็นต้นตำรับของสมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน อย่างถูกต้องตามหลักและแบบแผนโบราณกาลเพื่อให้ผู้ปฏิบัติได้ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติอย่างถูกต้อง

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%