ประวัติศาสตร์ไทยฉบับสังเขป

ผู้เขียน: David K. Wyatt

สำนักพิมพ์: ศูนย์หนังสือจุฬา/chula

หมวดหมู่: หนังสือบทความ สารคดี , ประวัติศาสตร์

0 รีวิว เขียนรีวิว

425.00 บาท

500.00 บาท ประหยัด 75.00 บาท (15.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 17 แต้ม

หนังสือเล่มนี้ตั้งเป้าหมายไปยังผู้อ่านทั่วๆ ไป ผู้ที่ได้พัฒนาความสนใจของตนต่อประเทศไทย < แสดงน้อยลง หนังสือเล่มนี้ตั้งเป้าหมายไปยังผู้อ่านทั่วๆ ไป ผู้ที่ได้พัฒนาความสนใจของตนต่อประเทศไทย
  • ส่วนลด:
    ลด 15%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com Top Up Mid-Month Sale! ลด 15%

425.00 บาท

500.00 บาท
500.00 บาท
ประหยัด 75.00 บาท (15.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 17 แต้ม

จำนวน :

1

จำนวนหน้า
640 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
20.9 x 14.7 x 3.8 CM
น้ำหนัก
0.79 KG
บาร์โค้ด
9786167202389

รายละเอียด : ประวัติศาสตร์ไทยฉบับสังเขป

ประวัติศาสตร์ไทย ฉบับสังเขป เป็นการนำเสนอเรื่องราวในประวัติศาสตร์ของดินแดนประเทศไทย ในลักษณะ “ประวัติศาสตร์ช่วงยาว” ด้วยกาลเวลาที่ลึกลงในอดีตนับหมื่นปีมาแล้ว ถอยขึ้นมาเรื่อยๆ จนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 (ถึง พ.ศ.2545 ) 2002 ประวัติศาสตร์ไทย ฉบับสังเขป มีทั้งหมด 11 บท บทที่ 1 เบื้องแรกของประวัติศาสตร์ไท-ไต นำเสนอเรื่องการตั้งบ้านแปงเมืองหมู่บ้านของคนไท-ไต เรื่องกลุ่มคนในน่านเจ้า และกลุ่มคนในแผ่นดินใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในคริสต์ศตวรรษที่ 9-10 บทที่ 2 คนไท-ไต กับอาณาจักรโบราณต่างๆ คือ ทวารวดี ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา และนครโยนกในลุ่มน้ำโขง ที่อยู่ท่ามกลางจักรวรรดิพระนคร และจักรวรรดิพุกาม บทที่ 3 ศตวรรษของคนไท-ไต ซึ่งคนไท-ไตเจริญถึงขั้นก่อตั้งอาญาจักรได้ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 13 นั่นคือล้านนา สุโขทัย และนครศรีธรรมราช และติดต่อสัมพันธ์กับโลกภายนอก บทที่ 4 -5 อยุธยาผงาด และรุ่งเรืองเป็นราชอาณาจักร พร้อมกับล้านนา ล้านช้าง และก้าวพ้นจากโลกคนไท-ไตสู่โลกสากล ด้วยการค้านานาชาติ แต่เกิดปัญหาการแย่งชิงผลประโยชน์ และนำไปสู่การแตกแยก จนถึงขึ้นสูญสิ้นราชอาณาจักรที่เรืองรองมาถึง 417 ปี บทที่ 6 กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น พร้อมๆ กับความพยายามรื้อฟื้นความเป็นราชอาณาจักรขึ้นมาใหม่ บทที่ 7 สมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ที่แรงกดดันของลัทธิจักรวรรดินิยม ผลักดันให้เกิดการปฏิรูปสู่ความทันสมัยแบบตะวันตก พร้อมกับการสร้างความเป็นปึกแผ่นของการปกครองในระบอบกษัตริย์ บทที่ 8 กำเนิดลัทธิชาตินิยมชนชั้นนำ ที่ใช้อุดมการณ์ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นหม้อหลอมกลุ่มคนนานาชาติพันธุ์ให้เป็น คนสยาม พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบกษัตริย์เป็นระบอบประชาธิปไตย บทที่ 9 อำนาจของทหาร ซึ่งเป็นการขัดแย้ง แย่งชิงกันในกลุ่มคนที่ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบกษัตริย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย บทที่ 10 การพัฒนาและการปฏิวัติที่ว่าด้วยการพัฒนาตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม พร้อมๆ กับการครองอำนาจของทหาร และตามมาด้วย การโค่นล้มอำนาจทหารของนิสิตนักศึกษาและประชาชน บทที่ 11 บทสุดท้ายจบลงด้วยความรุ่งโรจน์สดใสด้วยความฝันที่จะเป็นเสือตัวที่ 5 ในเอเชีย พร้อมๆกับการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายทางการเมือง ต้นฉบับภาษาอังกฤษของหนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกใน พ.ศ.2525 (1982) ผ่านไป 20 ปี เดวิด เค.วัยอาจ ได้ศึกษาเพิ่มเติม และนำมาปรับปรุงเป็นฉบับตีพิมพ์ครั้งที่สอง ใน พ.ศ. 2546 (2003) 3 ปีก่อนที่ท่านจะถึงแก่กรรม แม้หนังสือเล่มนี้จะมีอายุครบ 30 ปีในปีนี้ (พ.ศ.2555 (2012)) และเป็นที่รู้จักอ้างอิงกันในหมู่นักวิชาการของไทย แต่ก็เพียงระดับหนึ่ง / กลุ่มหนึ่งเท่านั้น การแปลเป็นภาษาไทยและการตีพิมพ์เผยแพร่ยังจำเป็นอย่างยิ่งยวด ที่ย่อมทำให้หนังสือเล่มนี้ก้าวข้ามอุปสรรคทางด้านภาษา อันเป็นเส้นขวางกั้นความงอกงามของวงการอ่านหนังสือวิชาการของผู้คนในสังคมไทย

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
loading