เอนไซม์ในวิถีย่อยสลายสารมลพิษ

ผู้เขียน: อลิสา วังใน

สำนักพิมพ์: ศูนย์หนังสือจุฬา/chula

หมวดหมู่: หนังสือเตรียมสอบ แนวข้อสอบ , ปริญญาตรี

0 รีวิว เขียนรีวิว

405.00 บาท

450.00 บาท ประหยัด 45.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 16 แต้ม

การค้นคว้าวิจัยและการอ้างอิงเพื่อการวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม ชีวเคมี จุลชีววิทยา ฯลฯ และสำหรับการเพิ่มพูนความรู้แก่ผู้สนใจทั่วไป < แสดงน้อยลง การค้นคว้าวิจัยและการอ้างอิงเพื่อการวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม ชีวเคมี จุลชีววิทยา ฯลฯ และสำหรับการเพิ่มพูนความรู้แก่ผู้สนใจทั่วไป
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com World Book Day ลด 10%*

405.00 บาท

450.00 บาท
450.00 บาท
ประหยัด 45.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 16 แต้ม

จำนวน :

1

  • โปรโมชั่นพิเศษ:
    • Naiin.com World Book Day ช้อปครบ 3 เล่ม ลด 15%*
จำนวนหน้า
518 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
0 x 0 x 0 CM
น้ำหนัก
0 KG
บาร์โค้ด
9789740335740

รายละเอียด : เอนไซม์ในวิถีย่อยสลายสารมลพิษ

เอนไซม์ในวิถีย่อยสลายสารมลพิษ

หนังสือ "เอนไซม์ในวิถีย่อยสลายสารมลพิษ" เล่มนี้กล่าวถึงกลไกของจุลินทรีย์ (ในที่นี้เน้นแบคทีเรียเป็นหลัก) ในการตอบสนองความเป็นพิษของสารมลพิษในสิ่งแวดล้อม การที่จุลินทรีย์ใช้เอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาทางชีวภาพในการย่อยละลายสารมลพิษและ/หรือเปลี่ยนรูปสารมลพิษโดยเป็นรูปแบบหนึ่งของกลไกการเอาตัวรอดของจุลินทรีย์ในสิ่งแวดล้อมที่มีความเป็นพิษ ทั้งนี้ มนุษย์นำความสามารถดังกล่าวของจุลินทรีย์มาใช้ในระดับขยายขนาดเพื่อทำความสะอาดสิ่งแวดล้อมของเรา เนื่องจากจุลินทรีย์ต่างชนิดกันมีระบบเอนไซม์และวิถีการย่อยสลายสารที่แตกต่างกัน ดังนั้น เพื่อให้การบำบัดเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ดำเนินการควบคุมกระบวนการบำบัดสารมลพิษควรมีความรู้ความเข้าใจเรื่อง ชนิดของจุลินทรีย์ ชนิดของเอนไซม์ ลักษณะและรูปแบบของปฏิกิริยาปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการทำงานของเอนไซม์ในเร่งปฏิกิริยาการเปลี่ยนรูปสารมลพิษในวิถีการย่อยสลายสารเอนไซม์ในวิถีการย่อยสลายเหล่านี้เป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จของกระบวนการบำบัดสารมลพิษดังกล่าว


สารบัญ : เอนไซม์ในวิถีย่อยสลายสารมลพิษ

    • หลักการและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบำบัดสารมลพิษด้วยวิธีทางชีวภาพ
    • เอนไซม์ออกซิโดรีดักเทส : บทบาทต่อการบำบัดสารมลพิษอินทรีย์
    • เอนไซม์ทรานสเฟอเรส : บทบาทต่อการบำบัดสารมลพิษอินทรีย์
    • เอนไซม์ไฮดรอเลส : บทบาทต่อการบำบัดสารมลพิษอินทรีย์
    • วิธีและเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการย่อยสลายแอโรแมติกไฮดรอคาร์บอน

เนื้อหาปกหลัง : เอนไซม์ในวิถีย่อยสลายสารมลพิษ

ในปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้การบำบัดสารมลพิษที่ตกค้างในสิ่งแวดล้อมที่กระบวนการทางชีวภาพมากขึ้น เนื่องจากกระบวนการที่มีประสิทธิภาพเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกทั้งสามารถกำจัดสารมลพิษได้อย่างสมบูรณ์และยั่งยืนหลักการของการบำบัดสารมลพิษทางชีวภาพนี้อาศัยปฏิกิริยาต่างๆ ในวิถีเมแทบอลิซึมของจุลินทริย์โดยมีเอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาชีวภาพในการย่อยสลายสารมลพิษและ/หรือเปลี่ยนรูปสารมลพิษเหล่านั้นให้เป็นสารผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นมลพิษน้อยลงหรือหมดไป ดังนั้น ประสิทธิภาพและชนิดของเอนไซม์ที่เร่งปฏิกิริยาการย่อยสลายสารมลพิษดังกล่าวจึงจัดเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพโดยรวมของกระบวนการบำบัดสารมลพิษทางชีวภาพนี้ หนังสือ "เอนไซม์ในวิถีย่อยสลายสารมลพิษ" มีเนื้อหาครอบคลุมหลักการของการเร่งปฏิกิริยาของเอนไซม์ 6 กลุ่ม ซึ่งแบ่งตามระบบของ Internstional Union of Biochemistry and Molecular Biology (IUBMB) (บทที่ 1-6) โดยเน้นบทบาทหน้าที่และตัวอย่างของเอนไซม์ในแต่ละกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการเร่งปฏิกิริยาต่อสารตั้งต้นที่เป็นสารมลพิษในสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้นเนื่องจากสารมลพิษประเภทสารประกอบแอลิฟาติกไฮดรอคาร์บอน แอโรแมติกไฮดรอคาร์บอน และฮาโลจิเนตไฮดรอคาร์บอนเป็นสารมลพิษกลุ่มใหญ่ที่มีการปนเปื้อนตกค้างในสิ่งแวดล้อมต่างๆ ทั่วโลก ดังนั้น บทที่ 7-9 ได้นำเสนอรายละเอียดของวิถีการย่อยสลายสารมลพิษเหล่านี้ เอนไซม์ที่เกี่ยวข้องรวมทั้งรูปแบบความแตกต่างของวิถีการย่อยสลายสารมลพิษเหล่านี้ในจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ บทสุดท้ายเป็นบทสรุปบทบาทของเอนไซม์ในจุลินทรีย์ต่อการบำบัดสารมลพิษและศักยภาพของการใช้เอนไซม์ทั้งในรูปแบบของเอนไซม์ในวิถีเมแทบอลิซึมของเซลล์หรือเอนไซม์อิสระในกระบวนการบำบัดสารมลพิษหนังสือเล่มนี้เป็นพื้นฐานที่ดีต่อการสร้างความเข้าใจเรื่องหลักการการทำงานและรูปแบบการเร่งปฏิกิริยาของเอนไซม์ต่อสารมลพิษเป็นประโยชน์ต่อการเลือกชนิดของเอนไซม์และจุลินทรีย์เพื่อการประยุกต์ใช้ในกระบวนการบำบัดสารมลพิษอย่างมีประสิทธิภาพ หนังสือเล่มนี้สามารถใช้ในการเรียนการสอน การค้นคว้าวิจัยและการอ้างอิงเพื่อการวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม ชีวเคมี จุลชีววิทยา ฯลฯ และสำหรับการเพิ่มพูนความรู้แก่ผู้สนใจทั่วไป

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
loading