ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน (พิมพ์ใหม่)

ผู้เขียน: วินทร์ เลียววาริณ

สำนักพิมพ์: 113

หมวดหมู่: วรรณกรรม , เรื่องสั้น

0 รีวิว เขียนรีวิว

175.50 บาท

195.00 บาท ประหยัด 19.50 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 7 แต้ม

ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน เป็นการจำลองเหตุการณ์ทางการเมืองเด่นๆ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปีแรกของระบอบประชาธิปไตยในไทยจนถึงปี พ.ศ. 2535 < แสดงน้อยลง ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน เป็นการจำลองเหตุการณ์ทางการเมืองเด่นๆ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปีแรกของระบอบประชาธิปไตยในไทยจนถึงปี พ.ศ. 2535
  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com World Book Day ลด 10%*

Tags: นวนิยาย

175.50 บาท

195.00 บาท
195.00 บาท
ประหยัด 19.50 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 7 แต้ม

จำนวน :

1

  • โปรโมชั่นพิเศษ:
    • Naiin.com World Book Day ช้อปครบ 3 เล่ม ลด 15%*
จำนวนหน้า
304 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
14.5 x 21.1 x 1.3 CM
น้ำหนัก
0.35 KG
บาร์โค้ด
9786167455037

รายละเอียด : ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน (พิมพ์ใหม่)

ประชาธิปไตยไทยเกิดที่ฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2470 ณ หอพักแห่งหนึ่งในกรุงปารีส การประชุมครั้งนั้นโดยคณะผู้ก่อการเจ็ดคน ทั้งทหารและพลเรือน เป็นต้นกำเนิดของคณะราษฎรที่ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองสยามในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 สองปีถัดมาที่ชายแดนไทย-ลาว ชายสองคนดวลปืนกันเป็นครั้งแรก คนหนึ่งเป็นตำรวจ คนหนึ่งเป็นโจรร้าย การประลองปืนจบลงในเวลาไม่กี่นาที แต่การต่อสู้ของชายทั้งสองกินเวลายาวนานต่อมาถึงหกสิบปี และเกี่ยวพันกับชะตากรรมของเมืองไทยซึ่งเต็มไปด้วยการเผชิญหน้าของเส้นขนานที่ไม่มีวันบรรจบกัน



รีวิวโดยบุ๊คเมท : ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน (พิมพ์ใหม่)

...เป็นหนึ่งในหนังสือที่ชอบมากๆ เรียกว่าเก็บเงินซื้อเป็นล็อตต้นๆ ที่ได้งานทำเป็นเรื่องเป็นราว
ปกนี้เป็นฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 ปัจจุบันมีปกใหม่แล้วคะ
ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน เป็นนวนิยายปี 2537 ที่รังสรรค์ขึ้นโดยคุณวินทร์ เลียววาริณ ซึ่งสามารถคว้ารางวัลมากมายจากงานนี้เรื่องนี้ ไม่ว่าจะเป็นรางวัลดีเด่นจากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ ปี 2538, รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน(ซีไรต์) ปี 2540 และหนังสือดีสำหรับเด็กและเยาวชน (อายุ 16-18 ปี) พ.ศ. 2541-2542
เรื่องราวที่เกิดขึ้นภายในนวนิยายเรื่องนี้เป็นการเชื่อมโยงเหตุการณ์จริงของประวัติศาสตร์การเมืองไทยตั้งแต่ยุคปฏิวัติการปกครองในปี 2475 จนถึงเหตุการณ์ "พฤษภาทมิฬ" ในปี 2535 ประยุกต์กับการสร้างพล็อตนิยายที่มีเรื่องราวสอดคล้องกันระหว่าง เหตุการณ์จริง กับเหตุการณ์ของ "ตัวละครสมมุติ" ในเรื่องซึ่งผู้เขียนได้จินตนาการขึ้น โดยใช้เหตุการณ์ทางการเมืองครั้งสำคัญ 11 เหตุการณ์ ถ่ายทอดเป็น 11 เรื่องสั้น ตามปีที่เกิดเหตุการณ์ขึ้นจริง
โดยเล่าเรื่องราวผ่าน 2 ตัวละครหลักคือ "ตุ้ย พันเข็ม" และ "เสือย้อย" ที่มีอุดมการณ์เกี่ยวกับประชาธิปไตย และความรักในระบอบความเป็นชาติคล้ายคลึงกัน แต่วิธีการในการแสดงออกซึ่งอุดมการณ์เหล่านั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
ในภาคของ "ตุ้ย พันเข็ม" จะถ่ายทอดอุดมการณ์ของตนเองในแบบของผู้พิทักษ์สันติราษฏร์ ผู้ถือกฎหมาย คนของภาครัฐที่ทำเพื่อประชาชนและประเทศชาติ และมีแนวคิดว่า "ความอยุติธรรมหาทางออกได้ด้วยกฎหมาย"
ส่วนในภาคของ "เสือย้อย" ที่อยู่ในคราบของโจร ไม่เห็นด้วยว่า "กฎหมายจะสามารถขจัดความอยุติธรรมบนโลกนี้ได้" ซึ่งในเรื่อง... บทบาทของเสือย้อยที่มีต่อการช่วยเหลือประเทศชาติไม่ต่างกันกับ "ตุ้ย พันเข็ม" เลย เพียงแต่วิธีการที่เขาใช้ไม่ได้เดินตามกฎหมายที่สังคมกำหนดไว้เท่านั้นเอง
วิธีคิดที่แตกต่าง มุมมองที่แตกต่าง นำมาซึ่งวิธีการในการเลือกปฏิบัติที่แตกต่าง แม้ภายใต้อุดมการณ์เดียวกัน ตัวละคร "ตุ้ย พันเข็ม" กับ "เสือย้อย" จึงเปรียบเสมือน "เส้นขนานของประชาธิปไตย" สะท้อนภาพใน "มุมสว่าง" และ"มุมมืด" ของคนที่เรียกตนว่า "นักประชาธิปไตย" แท้จริงแล้วควรเป็นเช่นไร
ดิฉันอ่านเรื่องนี้มาตั้งแต่ตอน ปวส.3 (ม.6) ในฉบับแรก (มีฉบับปรับปรุงใหม่ที่ผู้เขียนได้ตัดทอน - เพิ่มเติม ดัดแปลงรายละเอียดบางส่วน เพื่อให้เรื่องกระชับและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น) ในตอนที่ดิฉันอ่านเป็นช่วงเวลาที่ผ่านเหตุการณ์ "พฤษภาทมิฬ" มาได้ประมาณ 5-6 ปีแล้ว อรรถรสที่ได้จึงเพื่อความบันเทิงเพียงเท่านั้น
แต่พอมาถึงการเมืองยุคทุนนิยม การล่มสลายของรัฐบาลทุนนิยม การประท้วง การเรียกร้องอำนาจประชาธิปไตยคืนสู่ประชาชน ทำให้ดิฉันนึกถึงนวนิยายเรื่องนี้อีกรอบ (รอบนี้ดิฉันได้อ่านฉบับปรับปรุงใหม่ 2546) และเริ่มทำความเข้าใจกับลำดับเหตุการณ์ของประชาธิปไตยในไทย ตั้งแต่ยุคการเปลี่ยนแปลงการปกครองจนถึงเหตุการณ์ "พฤษภาทมิฬ" ซึ่งเป็นเรื่องราวสิ้นสุดลงในเรื่อง
จากเรื่องที่อ่าน แม้จะเป็นนิยาย แต่ก็อิงประวัติศาสตร์ทางการเมืองอยู่ไม่น้อย ผนวกกับเหตุการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน และจากลำดับเหตุการณ์ต่างๆ จากการรัฐประหารยึดอำนาจครั้งแล้วครั้งเล่า การเป็นรัฐบาลไม่ครบยุคครบสมัย การยุบสภาก่อนครบวาระ ด้วยเหตุผลที่คล้ายคลึงกัน "คอร์รัปชั่น" ที่กลายเป็นวงจรอุบาทว์ เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าทำให้ดิฉันเกิดความรู้สึกอย่างหนึ่ง "คอร์รัปชั่น ตัวการสำคัญที่ทำให้การเมืองไทยไม่แข็งแรง"
และอีกปัจจัยหนึ่ง ในความรู้สึกส่วนตัว ดิฉันมองว่า ที่การเมืองไทยไม่แข็งแรง อาจเป็นเพราะประชาธิปไตยไทยมีจุดเริ่มต้นที่รวดเร็วมาก ทำให้มีการรัฐประหารยึดอำนาจบ่อยครั้ง เปลี่ยนรัฐบาลใหม่ก่อนกำหนด ยุบสภาหนี้ปัญหาคอร์รัปชั่น การเมืองไทยเป็นเช่นนี้ตลอดกว่า 70 ปีที่เรามีประชาธิปไตยมา
และอีกหนึ่งเหตุผลในการสั่นคลอนความมั่นคงทางการเมืองและประเทศชาติ คงหนีไม่พ้นเรื่องของ "ความไม่สามัคคี" ซึ่งมีหลายเหตุการณ์ในหนังสือเรื่องนี้ ก็แสดงชัดว่า ความแตกความสามัคคี เป็นที่มาของจุดเสื่อมในสังคม ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่เลย ในทุกยุคทุกสมัยในอดีตอันเนิ่นนาน เรื่องการขาดความสามัคคีก็เป็น อาวุธร้ายในการทำลายล้างประเทศชาติ
การประท้วงกันไม่รู้จบ มากมายหลายฝ่าย จนไม่รู้ฝ่ายไหนเป็นฝ่ายไหน มองไม่ออกว่าใครทำเพื่อใคร ทำเพื่อประชาชน เพื่อประเทศชาติอย่างที่กล่าวอ้างจริงหรือไม่? จนถึงภาพความรุนแรงที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานนี้ ดิฉันเริ่มถามตัวเองว่า ประชาธิปไตยคืออะไร? แบบที่เราเป็นอยู่ แบบที่เราเห็นกันอยู่ เรียกว่า ประชาธิปไตยหรือไม่?
ดิฉันเริ่มสับสนและเริ่มนึกถึงนิยายเรื่องนี้อีกครั้ง เพราะดิฉันคิดถึง "ตุ้ย พันเข็ม" ตัวแทนความดีของกฎหมายของคนถือกฎหมาย มีอำนาจอยู่ในมือแล้วทำเพื่อประเทศชาติอย่างแท้จริง
และดิฉันคิดถึง "เสือย้อย" ตัวแทนของคนในมุมมืด คนที่อยู่ในคราบของโจร แต่ทำเพื่อประเทศชาติในแบบ และวิธีการของเขา
เขาทั้ง 2 สองคน แตกต่างกันด้วยวิธีการ แต่มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน คือ ความรักประเทศชาติ
แต่คนที่อยู่ในคราบของนักบริหารบ้านเมือง นักเอ่ยอ้างว่าตัวเป็นผู้เรียกร้องสิทธิเพื่อประชาธิปไตยในปัจจุบัน ดิฉันไม่แน่ใจว่า เขายืนกันคนละมุม คนละที่ แต่ยังทำประโยชน์เพื่อประเทศชาติเหมือนกันหรือไม่ หรืออยู่คนละฝั่งคนละฟาก และยังทำเพื่อผลประโยชน์ของพวกพ้องตัวเองอยู่เท่านั้นด้วย
"เส้นขนานของประชาธิปไตย" ในโลกของนวนิยายคุณวินทร์ ดิฉันขออนุญาตตีความเอาเองว่า ทั้ง 2 เส้นขนานเป็นวิถีทางที่มีผลดีต่อส่วนรวมทั้งสิ้น 
แต่ "เส้นขนานของประชาธิปไตย" บนโลกแห่งความเป็นจริง ดิฉันไม่อาจแน่ใจได้เลยว่ามีเรื่องใดบ้างที่เป็นผลดีต่อส่วนรวม?

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
loading