ตัวเลือกสินค้า

เวอร์จิเนีย วูล์ฟ

เรียงตาม แนะนำ

  • เรียงตาม แนะนำ
  • เรียงตาม ราคาขาย
  • เรียงตาม วันที่ขาย
  • เรียงตาม ชื่อสินค้า
  • เรียงตาม ขายดี
  • เรียงตาม ให้คะแนน

แสดง 1 ถึง 4 จาก 4 รายการ

Virginia Woolf
(๑๘๘๒ – ๑๙๔๑)
     ชาวอังกฤษ นักเขียนนวนิยายแนวทดลอง นักวิจารณ์ นักเขียนเรื่องสั้น นักเขียนความเรียง ชั้นนำในยุคสมัยของเธอ 
     เกิดในย่าน Hyde Park Gate ปี ๑๘๘๒ เจ็บป่วยทางจิตใจครั้งแรกจากความตายของพ่อของเธอ Sir Leslie Stephen ในปี ๑๙๐๔ หลังจากนั้นย้ายมาอยู่ย่าน Bloombery เกิดกลุ่มวรรณกรรมในชื่อเดียวกันจากกลุ่มเพื่อนนักเขียนและศิลปินที่คบหา รวมทั้งร่วมกับสามี Leonard Woolf ตั้งสำนักพิมพ์ Hogarth Press ที่มีชื่อเสียงขึ้นในปี ๑๙๑๗ ด้วย
     เธอทำงานในช่วงสงบจากการเจ็บป่วยทางจิตใจเป็นระยะๆ มีผลงานอย่างต่อเนื่อง นวนิยายสองเรื่องแรกยังเป็นในรูปแบบตามนิยมกันมาก่อนหน้า จนเมื่อ Jacob’s Room ปรากฏขึ้นในปี ๑๙๒๒ จึงได้รับการกล่าวขวัญว่าเป็นงานที่มีนวัตการอย่างสูง จากนั้น Mrs Dolloway (๑๙๒๕) ก็ได้รับการวิจารณ์ว่าพัฒนาขึ้นอย่างมากด้วยวิธีเขียนที่ใช้บทสนทนาภายใน (Interior Monologue) หรือกระแสสำนึก (Stream of Consciousness) และเน้นบุคลิกตัวละครมากกว่าเค้าโครงเรื่อง 
     หลังจากนั้นมาก็มี To the Lighthouse (๑๙๒๗) The Waves (๑๙๓๑) Between the Acts (๑๙๔๑) และอื่นๆ นอกจากนั้นเธอยังมีงานเขียนประเภทความเรียง ข้อเขียนแนวสตรีนิยม งานเชิงชีวประวัติ และเรื่องสั้น ตลอดจนบทความวิจารณ์อื่นอย่างต่อเนื่องมากมายด้วย จากการเจ็บป่วยทางด้านจิตใจอย่างต่อเนื่องยาวนาน ในที่สุดเธอก็ฆ่าตัวเองด้วยการจมน้ำตาย ในปี ๑๙๔๑.
     จากผู้แปล ดลสิทธิ์ บางคมบาง Mrs Dalloway เคยเป็นภาพยนตร์มาเมื่อหลายปีก่อน นำแสดงเป็น Mrs Dalloway โดยดารารุ่นใหญ่ Vanessa Redgrave และเมื่อไม่นานมานี้ก็มีภาพยนตร์ดัดแปลงและเสริมต่อเรื่องราวจากวรรณกรรมเรื่องเดียวกันนี้ ในชื่อ The Hours นำแสดงเป็น Virginia Woolf ผู้เขียน โดยดาราดัง Nicole Kidman ซึ่งเป็นที่ต้อนรับไม่น้อย และนักอ่านคอวรรณกรรมคงได้ผ่านตากันมาแล้ว  ว่าไปแล้วชื่อของ Virginia Woolf เป็นที่กล่าวขวัญและรู้จักกันดีในแวดวงวรรณกรรมไทยมาเนิ่นนาน ในฐานะนักเขียนแนวกระแสสำนึก (Stream of Consciousness) ผู้มีผลงานอันน่าทึ่ง เป็นที่กล่าวขวัญและอยู่ในความนิยมของนักอ่านทั่วโลกมานานยาว เพียงแต่ผลงานของเธอไม่มีผู้ใดแปลออกมาเป็นภาษาไทยเท่านั้น 
     ในการแปลครั้งนี้จึงเป็นความพยายามของผู้แปลในอันจะให้นักอ่านชาวไทยได้รู้จักตัวเนื้องานของนักเขียนคนสำคัญคนหนึ่งของศตวรรษที่ยี่สิบผู้นี้ และ คุณนายดัลโลเวย์ เล่มที่ท่านถืออยู่นี้จึงเป็นผลงานเล่มแรกของเธอที่ได้รับการแปลเป็นภาษาไทย
     Virginia Woolf เป็นนักเขียนชาวอังกฤษ ร่วมสมัยเดียวกันพอดีกับ James Joyce นักเขียนชาวไอริช ซึ่งมีผลงาน A portrait of an Artist as a Young Man และ The Dubliners แปลเป็นภาษาไทยมาก่อนหน้านี้แล้ว โดยทั้งคู่นี้ต่างเกิดในปี ๑๘๘๒ และเสียชีวิตในปี ๑๙๔๑ ด้วยกัน
นักเขียนแนวกระแสสำนึกอีกคนในฟากยุโรปตะวันออก ที่ร่วมสมัยเดียวกันกับ Virginia Woolf และมีผลงานแปลเป็นภาษาไทยหลายเล่มหลายสำนวนด้วยกัน เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักอ่านคอวรรณกรรม ได้แก่ Franz Kafka (๑๘๘๓ – ๑๙๒๔) 
     นักอ่านที่ผ่านการอ่านงานเขียนของ Kafka มาก่อนหน้านี้ โดยเฉพาะในสำนวนแปลของผู้แปลในชื่อเล่ม ในความนิ่งนึก คงจะพอคุ้นเคยกับการอ่านงานเขียนในแนวกระแสสำนึก (Stream of Consciousness) มาบ้าง และคงพบมาแล้วถึงความแตกต่างจากงานเขียนของนักเขียนอื่นโดยทั่วไป 
     คุณนายดัลโลเวย์ เล่มนี้ก็เช่นนั้น และอาจเป็นปัญหาอยู่บ้างสำหรับนักอ่านที่ยังไม่คุ้น แต่ผู้แปลเชื่อว่า เมื่อได้อ่านลึกเข้าไปในตัวเรื่องแล้ว เขาจะพบว่านี่เป็นประสบการณ์ในการอ่านที่แตกต่างอย่างยิ่ง โดยผู้อ่านจะสัมผัสได้ถึงชีวิตภายในของตัวละคอนได้ลึกกว่างานประเภทอื่นๆที่เขาได้เคยอ่านมา ทั้งเหมือนจะเสริมให้เขาต้องใช้จิตนาการที่ลึกมากขึ้นในการจะรับรสวรรณกรรมให้เป็นไปโดยเต็ม  และก่อนเข้าสู่การอ่าน ผู้แปลขอชี้แจงเกี่ยวกับการใช้วรรค -ซึ่งนักอ่านบางคนอาจเห็นว่ามีมากเกินไป น่าจะรวบเข้าด้วยกันได้โดยไม่เสียความ- ว่า ผู้แปลใช้วรรคด้วยความมุ่งหมาย ๑) แยกคำไม่ให้สับสน ๒) คั่นความที่แทรกเข้ามา ๓) ทอดเสียงท้ายคำที่ทิ้งวรรคให้ไปรับกับคำที่ตามมา ๔) เป็นจังหวะให้กับเสียงของความคิด เช่นจังหวะของคลื่นทะเล ตามจังหวะของกระแสสำนึก ดังนั้นในการอ่านจึงอาจต้องทอดสายตาไปหาคำที่รับความกันกับคำในท้ายวรรคอยู่บ้าง ซึ่งจากการอ่านไปได้สักระยะก็จะจับกฎเกณฑ์ได้โดยง่าย  ผู้แปลหวังไว้กับตัวเองว่าจะมีโอกาสนำผลงานของ Virginia Woolf เรื่องอื่นๆมาเสนออีกได้ในโอกาสข้างหน้า
loading