รายละเอียด : กบฏชาวนา มูลฐานจิตสำนึกในอินเดียยุคอาณานิคม
กบฏชาวนา มูลฐานจิตสำนึกในอินเดียยุคอาณานิคม
ชาวกบฏจะเลือกทำลายหรือปรับใช้สัญลักษณ์ของเจ้าผู้ปกครองเสียเองนี่คือการพลิกแพลง การพลิกแพลงนี้ปรากฏซ้ำๆ ในกบฏต่างๆ ผ่านภาษาการเคลื่อนไหว พวกที่เคยสังกัดยศต่ำต้อยที่สุด บัดนี้มียศเหนือทุกๆ คน การพลิกแพลงเช่นนี้เรียกว่า พลิกฟ้าคว่ำแผ่นดิน
กบฏชาวนา: มูลฐานจิตสำนึกในอินเดียยุคอาณานิคม เขียนโดย รณชิต คูหา และแปลเป็นภาษาไทยอย่างทั้งราบรื่นและแหลมคมโดย ปรีดี หงษ์สตัน เป็นตัวอย่างของประวัติศาสตร์ฉบับประชาชนที่สะท้อนว่า ประชาชนกระทำอะไร ประชาชนถูกกระทบโดยอำนาจโหดร้ายป่าเถื่อนอย่างไร และประชาชนต่อต้านความโหดร้ายป่าเถื่อนของผู้มีอำนาจอย่างไร แทนที่จะเล่าเขียนว่า ยุคอาณานิคมอังกฤษในอินเดียวเป็นช่วงที่อังกฤษได้ครอบงำควบคุมอินเดียอย่างมิชิด คูหากลับเขียนประวัติศาสตร์อินเดียยุคอาณานิคมอังกฤษฉบับใหม่ เป็นฉบับประชาชน โดยการเขียนประวัติศาสตร์ของกบฏชาวนาจากมุมมองชาวนาและโดยการวางเอาชาวนาเป็นผู้กระทำหลักของเรื่อง และความคิดและจิตสำนึกของชาวนาเองเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดมีกบฏ และการเปลี่ยนแปลงในสังคมการเมือง และทำให้ประวัติศาสตร์เดินหน้าต่อไป ประวัติศาสตร์ที่ผู้อ่านจะได้พบในเล่มนี้ไม่ใช่ของผู้มีอำนาจ แต่เป็นของผู้ที่กำลังจะไปคว้าเอาอำนาจนั้นมา
ไทเรล ฮาเบอร์คอร์น
สารบัญ : กบฏชาวนา มูลฐานจิตสำนึกในอินเดียยุคอาณานิคม
- การกลับด้าน
- ความคลุมเครือ
- ลักษณะร่วม
- ความเป็นปึกแผ่น
- การแพร่กระจาย
- อาณาเขต
- บทส่งท้าย
ข้อมูลเพิ่มเติม : กบฏชาวนา มูลฐานจิตสำนึกในอินเดียยุคอาณานิคม
- สำนักพิมพ์ : ILLUMINATIONS
- บาร์โค้ด : 9786168215272
- จำนวนหน้า : 616
- ขนาด : 14.2 x 21 x 3.2 CM
- น้ำหนัก : 0.64 KG
- หมวดหมู่ : หนังสือบทความ สารคดี หนังสือสารคดี