s

ในหลวงรัชกาลที่9กับ14ตุลาคม เหตุเกิดในกรุงรัตนโกสินทร์

ผู้เขียน: วสิษฐ เดชกุญชร (Vasit Dejkunjorn)

สำนักพิมพ์: มูลนิธิ 14 ตุลา

หมวดหมู่: หนังสือพระราชนิพนธ์ , หนังสือพระราชประวัติราชวงศ์

0 รีวิว เขียนรีวิว

142.50 บาท

150.00 บาท ประหยัด 7.50 บาท (5.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 5 แต้ม

142.50 บาท

150.00 บาท
150.00 บาท
ประหยัด 7.50 บาท (5.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 5 แต้ม

จำนวน :

1

จำนวนหน้า
132 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
14.5 x 20.9 x 0.8 CM
น้ำหนัก
0.17 KG
บาร์โค้ด
9786169186069

รายละเอียด : ในหลวงรัชกาลที่9กับ14ตุลาคม เหตุเกิดในกรุงรัตนโกสินทร์

ในหลวงรัชกาลที่9กับ14ตุลาคม เหตุเกิดในกรุงรัตนโกสินทร์

สปิริต หรือ วิญญาณอย่างที่นิสิตนักศึกษาได้แสดงให้เห็นในเวลาวิกฤตคราวนั้น ผมเห็นว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องธำรงรักษาเอาไว้ ถ้าหากว่านิสิตนักศึกษาปรารถนาจะมีส่วนในการสร้างสรรค์ประเทศชาติทั้งในระยะนี้ และในอนาคต และถ้าหากว่านิสิตนักศึกษาตั้งใจจะใช้พลังแรง ทั้งร่างกายทั้งความคิด เข้าร่วมกัน ประสบการณ์ของคนที่เป็นผู้ใหญ่กว่า ตามพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระกรุณาพระราชทานเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2516 ถ้าหากว่าเราตีราคาสิทธิเสรีภาพกันอย่างสูงส่ง จนกระทั่งเรายอมบาดเจ็บและเสียชีวิตเพื่อแลก และจนกระทั่งได้สิทธิเสรีภาพนั้นมาแล้วเช่นนี้ ก็ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องเริ่มต้นแสดงความเคารพสิทธิเสรีภาพของกันและกันเสียที การดูหมิ่นหรือคุกคามสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น เท่ากับเป็นการเริ่มต้นยุคของความกดขี่ข่มเหงที่เราภูมิใจนักหนา ว่าเราเพิ่งจะทำลายลงได้สำเร็จ และใครจะยอมก็ย่อมเกิด ผมไม่ยอม


คำนำ : ในหลวงรัชกาลที่9กับ14ตุลาคม เหตุเกิดในกรุงรัตนโกสินทร์

ในการพิจารณาหัวข้อปาฐกถา 14 ตุลา ปีนี้ คณะกรรมการมูลนิธิ 14 ตุลา เห็นเป็นเอกฉันท์อย่างรวดเร็ว เมื่อมีผู้เสนอว่าควรพูดเรื่อง "ในหลวงรัชกาลที่ 9 กับ 14 ตุลา" เพื่อรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่ทรง "ดับร้อน" ให้แก่บ้านเมืองและนิสิตนักศึกษาประชาชนเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2516 ด้วยพระบารมี ต่อมา เมื่อมีการพิจารณาองค์ปาฐก คณะกรรมการมูลนิธิก็เห็นพ้องกันเป็นเอกฉันท์อย่างรวดเร็วเช่นกัน เมื่อมีผู้เสนอว่าผู้ที่ควรเป็นองค์ปาฐกคือ พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร เพราะเป็นนายตำรวจที่มีบทบาทสำคัญในเหตุการณ์วันนั้น และเคยเขียนบันทึกเหตุการณ์เกี่ยวเนื่องกับวันนั้นไว้อย่างละเอียดในหนังสือชื่อ "เหตุเกิดในรัตนโกสินทร์" บัดนี้เหตุการณ์ผ่านไปแล้ว 44 ปี เราน่าจะได้ฟัง "ปากคำประวัติศาสตร์" จากบุคคลที่เกี่ยวข้องโดยตรงท่านนี้อีกครั้ง ในขณะที่บุคคลท่านนี้ยังมีชีวิตอยู่ และมีหลักฐานว่าท่านยังมีบทบาทในสังคม และยังเขียนหนังสืออยู่เป็นประจำแม้สังขารจะล่วงเข้าสู่วัยชราแล้ว และพวกเราก็ไม่ผิดหวังเลย โดยการรักษาสุขภาพอย่างดีเยี่ยม และโดยความมั่นคงอยู่ในศีลในสัตย์ ในวัยย่างเข้า 88 ปี พล.ต.อ.วิสิษฐ เดชกุญชร สามารถแสดงปาฐกถาได้อย่างสง่างาม และอย่างน่าอัศจรรย์ด้วยการเดินทางมาล่วงหน้า ก่อนเวลาเริ่มตรงเวลา และเลิกตรงตามเวลาที่กำหนด สามารถพูดจากความทรงจำโดยไม่ต้องมีโน๊ตตรงหน้า เสนอเนื้อหาสาระสำคัญได้อย่างกระชับ ชัดเจน คำพูดแต่ละประโยคสามารถถอดเทปออกพิมพ์เผยแพร่ได้โดยแทบจะไม่ต้องแก้ไขเลย ยังปรากฎภาพที่งดงามในวันที่ 14 ตุลาคมปีนี้ คือ ภาพความสนิทสนมรักใคร่ไมตรีระหว่างองค์ปาฐกถา กับคนต่างวัยที่เคยร่วมเหตการณ์วิกฤตครั้งนั้นมาด้วยกัน เช่น ชัยวัฒน์ สุรวิชัย หนึ่งใน "13 กบฏ" และ ประสาน มฤคพิทักษ์ ตัวจักรสำคัญที่ทำให้เกิดการชุมนุทต่อด้าน "ทรราชย์" จนนำไปสู่เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ 14 ตุลา รวมทั้งคนสำคัญในภาคประชาสังคมรุ่นต่อมาอย่าง รสนา โตสิตระกูล เป็นต้น

ด้วยจิตคารวะ

นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน


สารบัญ : ในหลวงรัชกาลที่9กับ14ตุลาคม เหตุเกิดในกรุงรัตนโกสินทร์

    • คำนำ
    • ในหลวงรัชกาลที่ 9 กับ 14 ตุลา
    • เหตุเกิดในกรุงรัตนโกสินทร์
    • ประวัติ พลตำรวจเอก วสิษฐ เดชกุญชร
    • อนุสรณ์ ๑๔ ตุลา ๑๖ ตุลา และมูลนิธิ ๑๔ ตุลา

เนื้อหาปกหลัง : ในหลวงรัชกาลที่9กับ14ตุลาคม เหตุเกิดในกรุงรัตนโกสินทร์

สปิริต หรือ วิญญาณอย่างที่นิสิตนักศึกษาได้แสดงให้เห็นในเวลาวิกฤตคราวนั้น ผมเห็นว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องธำรงรักษาเอาไว้ ถ้าหากว่านิสิตนักศึกษาปรารถนาจะมีส่วนในการสร้างสรรค์ประเทศชาติทั้งในระยะนี้ และในอนาคต และถ้าหากว่านิสิตนักศึกษาตั้งใจจะใช้พลังแรง ทั้งร่างกายทั้งความคิด เข้าร่วมกัน ประสบการณ์ของคนที่เป็นผู้ใหญ่กว่า ตามพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระกรุณาพระราชทานเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2516 ถ้าหากว่าเราตีราคาสิทธิเสรีภาพกันอย่างสูงส่ง จนกระทั่งเรายอมบาดเจ็บและเสียชีวิตเพื่อแลก และจนกระทั่งได้สิทธิเสรีภาพนั้นมาแล้วเช่นนี้ ก็ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องเริ่มต้นแสดงความเคารพสิทธิเสรีภาพของกันและกันเสียที การดูหมิ่นหรือคุกคามสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น เท่ากับเป็นการเริ่มต้นยุคของความกดขี่ข่มเหงที่เราภูมิใจนักหนา ว่าเราเพิ่งจะทำลายลงได้สำเร็จ และใครจะยอมก็ย่อมเกิด ผมไม่ยอม

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
loading