คิดจะชนะ ต้องกล้าเบียดแซงฯ

ผู้เขียน: ชอว์น ดี. มูนและซู แดธ-ดักลาส

สำนักพิมพ์: ดีเอ็มจี/DMG Book

หมวดหมู่: จิตวิทยา การพัฒนาตัวเอง , การพัฒนาตัวเอง how to

0 รีวิว เขียนรีวิว

54.00 บาท

60.00 บาท ประหยัด 6.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 12 แต้ม

  • ส่วนลด:
    ลด 10%
  • โปรโมชั่น:E-Book Lympics ลดทุกเล่ม ทั้งเว็บ 10% วันที่ 28 มี.ค. - 30 เม.ย. 67

54.00 บาท

60.00 บาท
60.00 บาท
ประหยัด 6.00 บาท (10.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 12 แต้ม

จำนวน :

1

  • โปรโมชั่นพิเศษ:
    • E-Book ช้อป E-Book และ E-Magazine ครบ 3 เล่ม ลด 15% วันที่ 9 เม.ย. - 5 พ.ค. 67
จำนวนหน้า
369 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาดไฟล์
35.93 MB
ประเภทไฟล์
PDF
บาร์โค้ด
9000037837

รายละเอียด : คิดจะชนะ ต้องกล้าเบียดแซงฯ

กระบวนทัศน์* ใหม่ : ทุกคนเป็นผู้นำในวัฒนธรรมแห่งชัยชนะ ถ้าคุณไม่มีความได้เปรียบทางธุรกิจ จงอย่าแข่งขัน -แจ็ก เวลช์- ชื่อโคช แอนสัน ดอร์แรนซ์ อาจไม่เป็นที่จดจำนอกวงการฟุตบอลหญิง แต่ใครก็ตามที่ได้มีโอกาสเฉียดเข้าใกล้วงการนี้ หรือแม้แต่ลีกฟุตบอลชั้นสูง เป็นต้องรู้จักโคชดอร์แรนซ์แห่งมหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา (UNC) ในฐานะคู่แข่งที่ดุดันผู้สร้างวัฒนธรรมแห่งชัยชนะอันเลื่องลือ ไม่เพียงได้ตำแหน่งโคชดีเด่นแห่งปีประจำชาติถึง 7 ครั้ง จนกลายเป็นโคชฟุตบอลที่ยอดเยี่ยมที่สุดตลอดกาล แต่เขายังเป็นหนึ่งในโคชผู้เก่งกาจที่สุดในกีฬาทุกประเภท จนถึงจุดหนึ่ง ทีมของเขาชนะติดต่อกันถึง 103 เกม ตอนที่เริ่มเขียนหนังสือเล่มนี้ ทีมของเขามีอัตราการชนะสูงถึง 0.935 รวมถึงนักกีฬาหญิงจำนวน 13 คนที่เขาฝึกสอนมา ก็ได้รางวัลนักกีฬาดีเด่นประจำชาติจากทั้งสิ้น 20 ตำแหน่ง ความสำเร็จส่วนบุคคลนี้สืบเนื่องไปสู่ความสำเร็จของทีม ทีมฟุตบอลหญิงแห่ง UNC กวาดรางวัลชนะเลิศประจำประเทศถึง 21 ครั้ง (และตั้งใจจะชนะต่อไปเรื่อยๆ) เมื่อถามโคช ดีน สมิธ ตำนานโคชบาสเกตบอลชายแห่ง UNC เรื่องที่ฟุตบอลเป็นกีฬาอันดับหนึ่งในช่วงต้นฤดูกาลแข่งขันของแคโรไลนา และรู้สึกอย่างไรเมื่อกีฬาอื่นนอกจากบาสเกตบอลกลายเป็นอันดับหนึ่ง เขาตอบว่า “ที่นี่เป็นวิทยาลัยสำหรับนักฟุตบอลหญิงครับ พวกเราแค่พยายามตามพวกเธอให้ทัน” ------------------------------- * กระบวนทัศน์ (Paradigm) หมายถึง กรอบความคิดหรือแนวทางทั่วไปที่ใช้ในการมองโลก หรือหมายถึง ระบบคิด วิธีคิด หรือแบบของการคิดที่ใช้เป็นแนวในการศึกษาวิจัยเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือเป็นแนวในการจัดระบบในสังคม โคชดอร์แรนซ์สร้างกรอบสำหรับการมีส่วนร่วมและการทำงานร่วมกัน ส่วนนักกีฬาก็ใช้ความสามารถส่วนบุคคลภายในกรอบนั้น นักกีฬาของเขาเข้าใจบทบาทหน้าที่ พวกเธอรับผิดชอบหน้าที่ส่วนของตนและถักทอเป็นแบบแผนโดยรวมของทีม พวกเธอตระหนักได้อย่างรวดเร็วว่า ความทุ่มเทระดับใดจึงจำเป็นสำหรับระบบของโคชดอร์แรนซ์ และพวกเธอต้องฝึกซ้อมในแต่ละวันเพื่อเติมเต็มความคาดหวังนั้น เห็นได้ชัดว่า โคชดอร์แรนซ์มีเสน่ห์ดึงดูดนักกีฬาผู้มีความสามารถไม่ธรรมดาให้เข้าร่วมโปรแกรมของเขา เขามีทั้งชัยชนะต่อเนื่องและวัฒนธรรมการเล่นที่สุดยอดเป็นแม่เหล็กดึงดูดบรรดาผู้มีความสามารถชั้นนำ แต่โปรแกรมส่วนใหญ่ก็มีผู้มีความสามารถที่น่าตื่นตะลึงเข้าร่วม ผลลัพธ์ระยะสั้นและระยะยาวต้องการมากกว่าแค่ความสามารถ แต่ต้องการความเป็นผู้นำในทุกระดับ ต้องการภาษากลางสำหรับการสื่อสาร ต้องการผู้มีส่วนร่วมที่มีการลำดับความสำคัญและจุดหมายร่วมกันอย่างชัดเจน ต้องการความเชื่อใจและความภักดีภายใน (และภายนอก) ทีม สรุปก็คือ “ต้องการวัฒนธรรมแห่งชัยชนะ” นั่นคือสิ่งที่โคชดอร์แรนซ์สร้างขึ้น ผลลัพธ์ของเขาไม่ใช่แค่เพียงแค่ความสำเร็จ แต่ยังคงรักษาไว้อย่างต่อเนื่องนานถึง 30 ปี ตัวอย่างนี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของวัฒนธรรมแห่งชัยชนะภายใต้ผู้นำที่ทรงประสิทธิภาพ แต่สนามกีฬาไม่ใช่เพียงสถานที่แห่งเดียวที่จะนำสิ่งนี้ไปใช้ได้ วัฒนธรรมประเภทเดียวกันนี้สามารถนำไปใช้ได้ทั้งในห้างสรรพสินค้าหรือองค์กรที่คุณเป็นผู้นำ ที่ซึ่งผู้คนจะรู้สึกตื่นเต้นเกี่ยวกับคุณและผลิตภัณฑ์ของคุณได้เช่นกัน คุณอาจนำทีมให้ไต่จากทีมธรรมดา ทีมที่ดี หรือแม้แต่ทีมที่เยี่ยม ไปสู่ทีมชั้นเลิศ โดยการทำให้สมาชิกแต่ละคนรับผิดชอบบทบาทหน้าที่ของตน ลองจินตนาการดูสิว่า การเป็นส่วนหนึ่งของทีมชนะเลิศ ทีมที่ประสบความสำเร็จมากมายนับไม่ถ้วนจะให้ความรู้สึกเช่นไร คุณอาจเคยสัมผัสประสบการณ์เช่นนี้ในสนามกีฬาหรือในศาล หรือในวงดนตรี กับทีมงานวิชาการ หรือแม้แต่กับงานที่ได้รับมอบหมายนึกถึงว่า คุณรู้สึกผูกพันขนาดไหนต่อระดับภาระหน้าที่ของคุณ ต่อวิธีการปฏิบัติกับเพื่อนร่วมทีมของคุณ และต่อผลลัพธ์ที่คุณได้รับ ปีเตอร์ เอ็ม. เซงเก อาจารย์ของมหาวิทยาลัยเอ็มไอที ได้แสดงข้อสังเกตดังต่อไปนี้จากประสบการณ์ในหนังสือชื่อ วินัยประการที่ห้า (The Fifth Discipline)

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
loading