แรกสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์

ผู้เขียน: เกริกฤทธิ์ เชื้อมงคล

สำนักพิมพ์: สยามความรู้

หมวดหมู่: หนังสือบทความ สารคดี , ประวัติศาสตร์

0 รีวิว เขียนรีวิว

140.25 บาท

165.00 บาท ประหยัด 24.75 บาท (15.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 5 แต้ม

เล่าเรื่องลำดับความตามพระราชพงศาวดารและบันทึกเพื่อเทิดพระเกียรติบูรพมหากษัตริย์ที่ทรงปกปิดและรักษาแผ่นดินตราบลูกสืบหลาน < แสดงน้อยลง เล่าเรื่องลำดับความตามพระราชพงศาวดารและบันทึกเพื่อเทิดพระเกียรติบูรพมหากษัตริย์ที่ทรงปกปิดและรักษาแผ่นดินตราบลูกสืบหลาน
  • ส่วนลด:
    ลด 15%
  • โปรโมชั่น:Naiin.com Top Up Mid-Month Sale! ลด 15%

140.25 บาท

165.00 บาท
165.00 บาท
ประหยัด 24.75 บาท (15.00 %)

จำนวนคะแนนที่ได้รับ 5 แต้ม

จำนวน :

1

จำนวนหน้า
208 หน้า
ประเภทสินค้า
ขนาด
14.5 x 20.9 x 1.2 CM
น้ำหนัก
0.261 KG
บาร์โค้ด
9786164415300

รายละเอียด : แรกสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์

แรกสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์

กว่าแผ่นดินจะเป็นปึกแผ่นได้จวบถึงทุกวันนี้ ต้องผ่านสิ่งต่างๆ ทั้งการเสียเลือดเสียเนื้อ และเหตุวุ่นวายจากการรบพุ่งบันทึกเหตุการณ์แต่ครั้งเสียเมืองในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา เปลี่ยนผ่านหลังการกอบกู้เอกราชในช่วงกรุงธนบุรี และเมื่อเกิดการจลาจลขึ้นอีกครั้ง “พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช” จึงสถาปนา “กรุงรัตนโกสินทร์” ขึ้น และทำนุบำรุงจนสยามได้เป็นไทยอย่างทุกวันนี้
 


สารบัญ : แรกสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์

    • พระราชประวัติ ปฐมกษัตริย์ ราชวงศ์จักรี
    • พระราชประวัติรัชกาลที่ ๑ ขณะทรงพระเยาว์
    • เมื่อกรุงศรีอยุธยาจวนจะเสียนั้น คุณบุญมาตามหาหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี
    • เชิญคุณนกเอี้ยงพระมารดาของพระยาตาก ร่วมเดินทางไปเมืองจันทบุรี
    • พระยาตากกอบกู้แผ่นดิน
    • พม่ายกทัพตีไทยอีกครั้ง
    • พระยาเจ่งหัวหน้ามอญก่อกบฏ พม่ารวมกำลังโจมตีสู้รบจนยึดเมืองสะโตง หงสาวดี
    • พระยาตากยกทัพปิดล้อมพม่าที่บางแก้ว
    • ถวายพระเพลิงกรมพระเทพามาตุฯ
    • ศึกพม่าที่ด่านเจดีย์สามองค์
    • พม่ายกทัพมาปิดล้อมเมืองพิษณุโลก แม่ทัพพม่าอะแซหวุ่นกี้ขอดูตัวนายทัพไทย
    • เหตุเจ้าเมืองนางรองเอาเมืองไปขึ้นกับจำปาศักดิ์ โปรดให้เจ้าพระยาจักรียกกองกำลังไปปราบ
    • โปรดส่งกองทัพไปช่วยพระวอรบที่เมืองเวียงจันทร์อัญเชิญพระแก้วมรกตและบางมาประดิษฐาน


รีวิวโดยสำนักพิมพ์ : แรกสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์

หลังทำการปราบจลาจลเสร็จสิ้นลง และจัดการบ้านเมืองเป็นที่เรียบร้อย ณ ปีขาล จัตวาศก จุลศักราช ๑๑๔๔ วันเสาร์ เดือน ๕ แรม ๙ ค่ำ (ตรงกับวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕) สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกก็ได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินครองเมืองสยามฯ ทรงพระนามว่า "พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก"

ครั้งนั้นทรงพระราชดำริว่าเมืองธนบุรีนี้ฝั่งฟากตะวันออกเป็นที่ชัยภูมิดีกว่าฟากตะวันตก โดยเป็นที่แหลมมีลำแม่น้ำเป็นขอบเขตอยู่กว่าครึ่ง ถ้าตั้งพระนครข้างฝั่งตะวันออก แม้ข้าศึกยกมาติดถึงชานพระนครก็จะต่อสู้ป้องกันได้ง่ายกว่าอยู่ข้างฝั่งตะวันตก ฝั่งตะวันออกนั้นเสียแต่เป็นที่ลุ่ม เจ้ากรุงธนบุรีจึงได้ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกซึ่งเป็นที่ดอน แต่ก็เป็นที่ท้องคุ้มน้ำเซาะทรุดพังอยู่เสมอไม่ถาวร พระราชนิเวศน์มนเทียรสถานเล่า ก็ตั้งอยู่ในอุปจาร ระหว่างวัดแจ้งและวัดท้ายตลาดขนาบอยู่ทั้ง ๒ ข้าง ควรเป็นที่รังเกียจ ทรงพระราชดำริดังนี้จึงดำรัสสั่งให้พระยาธรรมาธิกรณ์กับพระยาวิจิตรนาวี เป็นแม่กองคุมช่างและไพร่ไปวัดกะที่สร้างพระนครใหม่ข้างฝั่งตะวันออก ได้ตั้งพิธียกเสาหลักเมืองเมื่อ ณ วันอาทิตย์ เดือนหก ขึ้นสิบค่ำ ฤกษ์เวลาย่ำรุ่งแล้ว ๕๔ นาที

และนั่นคือการเริ่มต้นอาณาจักรไทยอีกครั้ง หลังเสียกรุงครั้งที่ ๒ แก่พม่า หลังบ้านเมืองเป็นจลาจลแตกเป็นหมู่เหล่าเกิดสงครามรบรากันอยู่อย่างต่อเนื่องสมัยกรุงธนบุรี กระทั่งสถานการณ์เริ่มที่จะสงบลง วันเวลาแห่งการสร้างชาติ สร้างแผ่นดิน ปราสาทพระราชวัง วัดวาอารามต่างๆ เพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้แก่อาณาประชาราษฎร์ ทั้งเตรียมพร้อมที่จะสู้รบกับข้าศึกศัตรู

นับจากเวลานั้นเป็นระยะเวลาสองร้อยห้าสิบปีกว่า กรุงเทพมหานครผ่านพ้นเหตุการณ์มาสารพัดรูปแบบ จน ณ เวลานี้กลายเป็นเมืองหลวงสำคัญของประเทศ เป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรือง คับคั่งและสวยงามเป็นที่เลื่องลือไปยังต่างประเทศ ประชาชนมีความเป็นอยู่อย่างสงบ ร่มรื่น รุ่งเรือง ร่วมภาคภูมิใจกับวันเวลาเก่าๆ ที่ผ่านมา และก้าวย่างไปสู่วันข้างหน้าอย่างมั่นคงและมีความสุข

เกริกฤทธิ์ เชื้อมงคล

รีวิว


0.0
  • 5
    0%
  • 4
    0%
  • 3
    0%
  • 2
    0%
  • 1
    0%
loading